อินเดีย-ตลาดส่งออกไอทีโต ฟันธงอีก3ปีทะลุ6หมื่นล.
สมาคมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และบริการงานไอทีแห่งชาติอินเดีย เชื่อว่ามูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์และบริการไอทีของอินเดียในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.08 ล้านล้านบาท ก่อนจะเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวเป็น 6 หมื่นล้านเหรียญ (ราว 2.1 ล้านล้านบาท) ได้ในปี 2010 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า
สมาคมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และบริการงานไอทีแห่งชาติอินเดียหรือแนสคอม (National Association of Software and Services Companies : Nasscom) ให้ข้อมูลว่าตัวเลข 3.1 หมื่นล้านเหรียญมาจากอัตราการเติบโต 32.6 เปอร์เซ็นต์ที่ทางกลุ่มคาดการณ์ไว้สำหรับช่วงปีการเงิน 2006 ถึง 2007 (สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2007)
"เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมส่งออกบริการและซอฟต์แวร์ไอทีของอินเดียจะไปได้ดี อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 6 หมื่นล้านเหรียญได้ในปี 2010" แนสคอมกล่าวในรายงาน
ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดียนั้นเติบโตอย่างก้าวกระโดด การสำรวจตั้งแต่ปี 1997-98 ระบุว่ามูลค่าตลาดรวมไอทีอยู่ที่ 4.8 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 1.68 แสนล้านบาท) แต่การสำรวจประจำปี 2006-07 พบว่ามีมูลค่าสูงขึ้นเป็น 4.78 หมื่นล้านเหรียญ (ราว 1.67 ล้านล้านบาท) เทียบเท่ากับเติบโตมากขึ้นกว่าเดิมเกือบสิบเท่าตัว
แนสคอมให้ข้อมูลว่า อุตสาหกรรมไอทีนั้นช่วยให้ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพี (gross domestic product) ของอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงปี 1997 นั้นทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นราว 1.2 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปี 2006 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเป็น 5.4 เปอร์เซ็นต์
"ช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา การเติบโตของอุตสาหกรรมไอทีอินเดียนั้นเกิดขึ้นบนระบบเศรษฐกิจโลกและระบบเศรษฐกิจในประเทศอินเดียเอง ขณะนี้ อุตสาหกรรมกำลังให้ความสำคัญกับโอกาสเติบโตใหม่ๆในต่างประเทศ แต่จะไม่ทิ้งการส่งเสริมเทคโนโลยีไอทีในประเทศอย่างแน่นอน" B. Ramalinga Raju ประธานกลุ่มแนสคอมกล่าวให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเอเอฟพี
อินเดียนั้นได้ชื่อเล่นว่าเป็นแบ็คออฟฟิศของโลก หรือเบื้องหลังของอุตสาหกรรมไอทีของหลายประเทศ เนื่องจากบริษัทไอทีหลายประเทศนิยมเลือกจ้างบริษัทสัญชาติอินเดียเป็นผู้จัดตั้งคอลเซ็นเตอร์เพื่อให้บริการลูกค้า ขณะที่บริการรับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ของอินเดียก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากบุคลากรไอทีชาวอินเดียสามารถตอบความต้องการลดต้นทุนของบริษัทไอทีได้พอดี ทั้งความสามารถด้านภาษาอังกฤษ การศึกษาและค่าแรงที่ต่ำกว่า
* * * * * * * * * * * *
Content From : http://www.manager.co.th
วันเสาร์ที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
วันศุกร์ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
อินเดีย-15 : เรียนอังกฤษที่อินเดีย จะติดสำเนียงแบบแขกมาหรือเปล่า
เรียนอังกฤษที่อินเดีย จะติดสำเนียงแบบแขกมาหรือเปล่า
แถว ๆ Kerela จะสำเนียงแปล่ง ๆ ถ้าไปเรียนตั้งแต่เด็กก็มีโอกาสได้ เพราะพูดไทยได้น้อย แต่ถ้าเรียนตอนโต ๆ นี่ล่ะ จะเป็นอังกฤษแบบไทย ๆ จะว่าไปแล้ว ผมก็ไม่เคยเห็นใครที่เรียนจบอินเดียมาแล้วพูดภาษาอังกฤษแบบอินเดียเลย คือ ออกเสียงตัว p เป็น ป.ปลาชัด ๆ หรือตัว t ออกเสียงเป็น ต.เต่า การเรียนอังกฤษที่อินเดียแล้วไปติดสำเนียงของอินเดียมานี่ ผมว่ามันไม่ใช่ง่าย ๆ นะครับ เราเป็นคนไทย พูดภาษาไทยทุกวัน เวลาท่านพูดภาษาอังกฤษ สำเนียงก็จะออกมาในแบบไทย ๆ ถ้าจะให้สำเนียงดี ๆ นี้ก็ต้องฝึกกันครับ
ลักษณะของภาษาในบ้านเขาก็ส่งให้เขาออกเสียงในแบบของเขา การที่เรียนแล้วกลับมาจะออกเสียงผิด ๆ เช่น พูดคำว่า Perfect เป็น เปอ-เฟ็ก โดยเน้น ป.ปลาชัด ๆ หรือพูดว่า stepped เป็น สะเต็บ-เป็ด แบบนี้ มันขึ้นอยู่กับโรงเรียนสอนภาษาที่ท่านไปเรียนและผู้สอนด้วยว่าจะสอนให้ออกเสียงถูกหรือผิด ถ้าผู้สอนไม่เน้นเรื่องของ Pronunciation เวลาท่านไปพูดกับใครก็อาจจะต้องมีการทวนซ้ำหรือเขียนให้ดูกันวุ่นวาย อาจารย์รัซเซลแกสอนว่า ถ้าคุณพูดกับใครแล้วเขาต้องขอให้พูดอีกครั้ง นั้นหมายความว่า ถ้าไม่ใช่ที่เราออกเสียงไม่ชัด เขาก็คงจะหูไม่ดี ดังนั้น ฝึกการออกเสียงให้ชัดเจน ให้มีสูงต่ำด้วย ไม่ใช่พูดแบบโมโนโทนเหมือนหุ่นยนต์
ที่ London School อาจารย์ทุกท่านจะเน้นเรื่องการออกเสียงค่อนข้างมาก นักเรียนที่มาจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน, เยเมน บางคนออกเสียงดีอยู่แล้ว แต่ส่วนมากจะออกเสียงไม่ถูกต้อง บางคนอาจจะมีเสียงของคำสุดท้ายติดมาด้วย เช่น Extra เขาจะพูดเป็น "เอ็ก-เค็ด-สะ-ตร้า" หรือ Channel บางคนจะออกเสียงเป็น "เชน-เนน" หรือ "ชิน-นิ" ไปเลยก็มี คำว่า Work ก็ออกเสียงสั้น ๆ ว่า "ว็อก" อย่าง "I have had a lot of work to do" ก็จะออกเสียงเป็น "ไอ-แฮฟ-แอด-อะ-ล็อท-ออฟ-ว็อก-ทู-ดู" เป็นต้น พอผู้สอนได้ยินการออกเสียงผิด ๆ ก็จะต้องบอกให้พูดใหม่กันจนกว่าจะได้ หรือไม่ก็ให้กลับไปท่องมา หรืออัดเสียงใส่เทปแล้วลองฟังดูก็จะรู้ได้ว่าออกเสียงไม่ถูกต้อง
อย่างนักเรียนที่มาจากเกาหลีใต้ก็มีปัญหาเรื่องการออกเสียงเหมือนกัน อย่าง Ghost ที่แปลว่าผี จะออกเสียงว่า "โคท" ผมได้ยินก็นึกว่าเสื้อโค้ท หรืออย่างคำว่า Thailand บางคนก็อ่านเป็น "ไท-แวน" ก็มี แต่สำหรับนักเรียนไทยแล้ว เท่าที่สังเกตหลาย ๆ คนไม่ค่อยมีปัญหา นักเรียนไทยน่ารัก คิดนานบ้างเป็นบางเวลา บ้างก็ Proprosition ไม่แข็งแรง ถ้าฝึกสนทนาบ่อย ๆ ไม่เอาแต่พูดภาษาไทยกับเพื่อนเพียงอย่างเดียว 2-3 เดือนก็เริ่มคล่องแล้วครับ
อย่างที่ได้ว่าเอาไว้ครับ ถ้ามีโอกาสทั้งทีก็ควรจะมาแล้วเอาให้คุ้ม แต่ละวันที่ผ่านไปควรจะพัฒนาทักษะให้ได้มากขึ้น จะเอาด้านการฟัง, พูด, อ่าน หรือเขียนก็เตรียมตัวให้ดี สำหรับการเลือกโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในอินเดียนั้น ถ้าเลือกหาจากหนังสือพิมพ์ หรือสอบถามจากเพื่อน ๆ ร่วมห้อง ก็จะพบว่าบางที่นั้นถูกมาก ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น เรียน Grammar 400 รูปี (จำกัดชั่วโมง) หรือเรียน Conversation 500 รูปี เป็นต้น แต่อาจจะไม่ได้เน้นที่การออกเสียงให้ถูกต้อง อันนี้ต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจลงเรียนนะครับ ไม่เช่นนั้นอาจจะเสียเวลาเรียนไปเปล่า
อีกนิดสำหรับเรื่องการออกเสียงของคนอินเดีย ใครที่เรียนจบมาและต้องการทำงานดี ๆ ได้เงินเดือนมาก ๆ ก็มักจะมาอัพเกรดด้านการออกเสียงกัน เพื่อที่จะให้ไปทำงานในบริษัทชั้นนำได้ หรือทำงานเป็นพวก Call Center ที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารเป็นหลัก ถ้าเปิดดูหนังสือสมัครงาน ก็จะเห็นได้เกือบทุกตำแหน่งจะต้องมีคุณสมบัติของภาษาอังกฤษมาด้วย "….with fluency in English" โรงเรียนสอนภาษาหลาย ๆ ที่ในอินเดียก็หัวใส มีเปิดคอร์สสอนการออกเสียง โดยโปรยหัวว่า "เพิ่มโอกาสในการมีงานทำ" หรือ "Job-oriented" บ้าง บางที่ก็เรียนกันในห้อง Sound lab โดยจะสอนการออกเสียงในแบบอังกฤษ และแบบอเมริกัน ถ้าเป็นแบบนี้โรงเรียนสอนภาษาเมืองไทยจะเอาบ้างก็ได้นะครับ แต่ต้องบอกว่าที่บริษัท Academia English ที่ผมพูดถึงอยู่นี้เขาเน้นเฉพาะการออกเสียงเพื่อการมีงานทำเพียงอย่างเดียว ไม่มี Grammar เพราะว่าคนอินเดียเขาเป็นภาษากันอยู่แล้ว ถ้าจำนวนความต้องการของคนไทยที่ต้องการออกเสียงภาษาอังกฤษให้ถูกต้องเพื่อที่จะไปทำงานต่างประเทศ หรือความต้องการด้านทักษะการใช้ภาษาของเมืองไทยมีมากแบบที่อินเดียล่ะก็ โรงเรียนสอนภาษาที่เน้นด้านนี้ก็น่าจะมีให้เห็นกัน ก็ไม่รู้จะเป็นไปได้หรือเปล่านะครับงานนี้ ก็ต้องรอดูกันต่อไปในอนาคต
แถว ๆ Kerela จะสำเนียงแปล่ง ๆ ถ้าไปเรียนตั้งแต่เด็กก็มีโอกาสได้ เพราะพูดไทยได้น้อย แต่ถ้าเรียนตอนโต ๆ นี่ล่ะ จะเป็นอังกฤษแบบไทย ๆ จะว่าไปแล้ว ผมก็ไม่เคยเห็นใครที่เรียนจบอินเดียมาแล้วพูดภาษาอังกฤษแบบอินเดียเลย คือ ออกเสียงตัว p เป็น ป.ปลาชัด ๆ หรือตัว t ออกเสียงเป็น ต.เต่า การเรียนอังกฤษที่อินเดียแล้วไปติดสำเนียงของอินเดียมานี่ ผมว่ามันไม่ใช่ง่าย ๆ นะครับ เราเป็นคนไทย พูดภาษาไทยทุกวัน เวลาท่านพูดภาษาอังกฤษ สำเนียงก็จะออกมาในแบบไทย ๆ ถ้าจะให้สำเนียงดี ๆ นี้ก็ต้องฝึกกันครับ
ลักษณะของภาษาในบ้านเขาก็ส่งให้เขาออกเสียงในแบบของเขา การที่เรียนแล้วกลับมาจะออกเสียงผิด ๆ เช่น พูดคำว่า Perfect เป็น เปอ-เฟ็ก โดยเน้น ป.ปลาชัด ๆ หรือพูดว่า stepped เป็น สะเต็บ-เป็ด แบบนี้ มันขึ้นอยู่กับโรงเรียนสอนภาษาที่ท่านไปเรียนและผู้สอนด้วยว่าจะสอนให้ออกเสียงถูกหรือผิด ถ้าผู้สอนไม่เน้นเรื่องของ Pronunciation เวลาท่านไปพูดกับใครก็อาจจะต้องมีการทวนซ้ำหรือเขียนให้ดูกันวุ่นวาย อาจารย์รัซเซลแกสอนว่า ถ้าคุณพูดกับใครแล้วเขาต้องขอให้พูดอีกครั้ง นั้นหมายความว่า ถ้าไม่ใช่ที่เราออกเสียงไม่ชัด เขาก็คงจะหูไม่ดี ดังนั้น ฝึกการออกเสียงให้ชัดเจน ให้มีสูงต่ำด้วย ไม่ใช่พูดแบบโมโนโทนเหมือนหุ่นยนต์
ที่ London School อาจารย์ทุกท่านจะเน้นเรื่องการออกเสียงค่อนข้างมาก นักเรียนที่มาจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน, เยเมน บางคนออกเสียงดีอยู่แล้ว แต่ส่วนมากจะออกเสียงไม่ถูกต้อง บางคนอาจจะมีเสียงของคำสุดท้ายติดมาด้วย เช่น Extra เขาจะพูดเป็น "เอ็ก-เค็ด-สะ-ตร้า" หรือ Channel บางคนจะออกเสียงเป็น "เชน-เนน" หรือ "ชิน-นิ" ไปเลยก็มี คำว่า Work ก็ออกเสียงสั้น ๆ ว่า "ว็อก" อย่าง "I have had a lot of work to do" ก็จะออกเสียงเป็น "ไอ-แฮฟ-แอด-อะ-ล็อท-ออฟ-ว็อก-ทู-ดู" เป็นต้น พอผู้สอนได้ยินการออกเสียงผิด ๆ ก็จะต้องบอกให้พูดใหม่กันจนกว่าจะได้ หรือไม่ก็ให้กลับไปท่องมา หรืออัดเสียงใส่เทปแล้วลองฟังดูก็จะรู้ได้ว่าออกเสียงไม่ถูกต้อง
อย่างนักเรียนที่มาจากเกาหลีใต้ก็มีปัญหาเรื่องการออกเสียงเหมือนกัน อย่าง Ghost ที่แปลว่าผี จะออกเสียงว่า "โคท" ผมได้ยินก็นึกว่าเสื้อโค้ท หรืออย่างคำว่า Thailand บางคนก็อ่านเป็น "ไท-แวน" ก็มี แต่สำหรับนักเรียนไทยแล้ว เท่าที่สังเกตหลาย ๆ คนไม่ค่อยมีปัญหา นักเรียนไทยน่ารัก คิดนานบ้างเป็นบางเวลา บ้างก็ Proprosition ไม่แข็งแรง ถ้าฝึกสนทนาบ่อย ๆ ไม่เอาแต่พูดภาษาไทยกับเพื่อนเพียงอย่างเดียว 2-3 เดือนก็เริ่มคล่องแล้วครับ
อย่างที่ได้ว่าเอาไว้ครับ ถ้ามีโอกาสทั้งทีก็ควรจะมาแล้วเอาให้คุ้ม แต่ละวันที่ผ่านไปควรจะพัฒนาทักษะให้ได้มากขึ้น จะเอาด้านการฟัง, พูด, อ่าน หรือเขียนก็เตรียมตัวให้ดี สำหรับการเลือกโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในอินเดียนั้น ถ้าเลือกหาจากหนังสือพิมพ์ หรือสอบถามจากเพื่อน ๆ ร่วมห้อง ก็จะพบว่าบางที่นั้นถูกมาก ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น เรียน Grammar 400 รูปี (จำกัดชั่วโมง) หรือเรียน Conversation 500 รูปี เป็นต้น แต่อาจจะไม่ได้เน้นที่การออกเสียงให้ถูกต้อง อันนี้ต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจลงเรียนนะครับ ไม่เช่นนั้นอาจจะเสียเวลาเรียนไปเปล่า
อีกนิดสำหรับเรื่องการออกเสียงของคนอินเดีย ใครที่เรียนจบมาและต้องการทำงานดี ๆ ได้เงินเดือนมาก ๆ ก็มักจะมาอัพเกรดด้านการออกเสียงกัน เพื่อที่จะให้ไปทำงานในบริษัทชั้นนำได้ หรือทำงานเป็นพวก Call Center ที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารเป็นหลัก ถ้าเปิดดูหนังสือสมัครงาน ก็จะเห็นได้เกือบทุกตำแหน่งจะต้องมีคุณสมบัติของภาษาอังกฤษมาด้วย "….with fluency in English" โรงเรียนสอนภาษาหลาย ๆ ที่ในอินเดียก็หัวใส มีเปิดคอร์สสอนการออกเสียง โดยโปรยหัวว่า "เพิ่มโอกาสในการมีงานทำ" หรือ "Job-oriented" บ้าง บางที่ก็เรียนกันในห้อง Sound lab โดยจะสอนการออกเสียงในแบบอังกฤษ และแบบอเมริกัน ถ้าเป็นแบบนี้โรงเรียนสอนภาษาเมืองไทยจะเอาบ้างก็ได้นะครับ แต่ต้องบอกว่าที่บริษัท Academia English ที่ผมพูดถึงอยู่นี้เขาเน้นเฉพาะการออกเสียงเพื่อการมีงานทำเพียงอย่างเดียว ไม่มี Grammar เพราะว่าคนอินเดียเขาเป็นภาษากันอยู่แล้ว ถ้าจำนวนความต้องการของคนไทยที่ต้องการออกเสียงภาษาอังกฤษให้ถูกต้องเพื่อที่จะไปทำงานต่างประเทศ หรือความต้องการด้านทักษะการใช้ภาษาของเมืองไทยมีมากแบบที่อินเดียล่ะก็ โรงเรียนสอนภาษาที่เน้นด้านนี้ก็น่าจะมีให้เห็นกัน ก็ไม่รู้จะเป็นไปได้หรือเปล่านะครับงานนี้ ก็ต้องรอดูกันต่อไปในอนาคต
อินเดีย-16 : โรงหนังที่บังกาลอร์
โรงหนังที่บังกาลอร์
ไม่รู้ว่าที่รัฐอื่นเป็นอย่างไร แต่ที่บังกาลอร์นี้ จะว่าไปก็สบายเหมือนบ้านเรา โรงหนังที่นี่ไม่ลาดลงหลาย ๆ องศาเหมือนบ้านเรา จะลาดลงนิด ๆ เหมือนกับโรงละครมากกว่า เข้าไปข้างในจะค่อนข้างกว้าง มีที่นั่งให้เลือกอยู่ 3 ระดับครับ คือ หน้า (Front), หลัง (Back) และชั้นลอยหรือ Balcony ตอนแรกนี่ไม่รู้ว่า Balcony คืออะไร พอเปิดดิกเลยเข้าใจ คราวนี้อยากจะขึ้นชั้นลอยดูบ้าง ราคาจะต่างกันไม่มาก โดยเฉพาะบางโรงและบางเวลาจะถูกไปเลยก็มี เช่น Morning show คือ รอบแรกตอนเช้าประมาณ 10:45 นี่ราคาสำหรับระดับ Balcony จะอยู่ที่ Rs.50 , ถ้าที่นั่งด้านหลังก็จะ Rs.45 และถ้านั่นด้านหน้า ๆ ก็จะ Rs.35 เอง ไม่แพง แต่ถ้ารอบอื่นนี่จะอยู่ที่ 100, 80, 60 ตามลำดับครับ โรงหนังที่บังกาลอร์นี้มีหลายโรง แต่ถ้าแถว ๆ ย่านธุรกิจนี้แล้วล่ะก็ต้อง Symphony กับ REX
ถ้าจะให้แจ๋ว ๆ ก็ต้องไปที่โรงหนัง PVR ซึ่งอยู่ในห้างฟอรั่ม Kolamangala ที่นี่จะเหมือนกับห้างเดอะมอลล์หรือเซ็นทรัลบ้านเรา คนจะแน่นมากในวันเสาร์อาทิยต์ โรงหนังที่ได้บอกไปนี้โดยมากจะฉายหนังฝรั่งและหนังอินเดีย (ภาษาฮินดี) จะมีหนังหลายเรื่องเข้าคิวรอฉายโดยตลอดเลย การดูหนังนี่ก็จะช่วยให้เราฝึกภาษาได้มากนะครับ อันนี้รับรองมาแล้วโดยผู้รู้หลาย ๆ ท่าน รวมทั้งตัวผมด้วย ช่วงเดือนที่ผมไปนี้หนังเรื่อง Million Dollars baby เข้าฉายพอดี แต่เสียดายที่ไม่ได้ดูเพราะเจ้าคิมคนเดียว เจ้าคิมเป็นเพื่อนร่วมห้องครับ มาจากเกาหลีใต้ นัดเจ้าคิมเอาไว้ว่าจะไปดูเรื่องนี้กันวันอาทิตย์ แต่เจ้าคิมลืมเพราะวันอาทิตย์ไปโบสถ์ ผมเลยชวดเลยงวดนั้น แต่ก็ยังอุตส่าแวบไปดูคนเดียวเรื่อง Miss. Congeniality ที่โรงหนัง Symphony คนไม่แน่นมากครับในวันที่ผมไปดู เพราะเป็นรอบบ่ายโมงครึ่ง การขายตั๋วของเขานี้จะแยกกันนะครับ ถ้าจะซื้อที่นั่งด้านหน้า, ด้านหลัง หรือ Balcony ก็เดินเข้าคนละช่อง จ่ายตังค์และเขาก็จะฉีกตั๋วมาให้เหมือนกับฉีกคูปองซื้ออาหารตามศูนย์การค้าน่ะครับ สิ่งที่รู้สึกว่าน่าจะปรับปรุงมาก ๆ ก็คือ เรื่องของเก้าอี้ ไม่รู้ว่าผมนั่งอีท่าไหน หรือเบาะไม่เหมือนกับบ้านเรานี่ล่ะ ทำเอาปวดไปหมดเลย หลัง ๆ ก็ต้องนั่งเอียง ๆ บ้าง คือ นั่งไม่ค่อยเต็มเบาะเท่าไหร่
แต่ช่วงหลังก็ได้ไปดูกับเจ้าคิมเรื่อง Mr and Miss Smith เข้าฉายพร้อม ๆ กับเมืองไทยเลยเรื่องนี้ ได้ขึ้นไปนั่งบนชั้น Balcony ก็สบายขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังรู้สึกแคบ ๆ อยู่ และการฉายหนังที่นี่จะมีการหยุดพักที่เรียกว่า Interval หรือ Intermission ครับ โดยจะพักประมาณ 15 นาที ให้ไปเข้าห้องน้ำหรือไปซื้อขนมเข้ามากินได้ ในชั้นเดียวกันนั้นจะมีวางขายครับ ไม่แพง ราคาเท่ากับข้างนอกเลย ไม่ว่าจะดูหนังต่างประเทศหรือหนังอินเดียนี่ก็จะมีหยุดพักเหมือนกัน ยิ่งหนังอินเดียแล้วควรมีครับ หนังก็ไม่ยาวมากแต่ว่ามีเพลงด้วยยังไงครับ เลยต้องมีการ Intermission และหนังอินเดียนี้การ Intermission นี้ดูเหมือนเขาจะออกแบบให้หนังมีการหยุดพักด้วย เช่น เนื้อเรื่องกำลังเข้มข้นแล้ว พระเอกจะช่วยนางเอกได้มั้ย จู่ ๆ ก็จะหยุดภาพที่หน้าหล่อ ๆ ของพระเอกและก็ขึ้นคำว่า INTERVAL เลย ก็คือ เป็นการหยุดพักครึ่งเรื่องนั่นเอง สำหรับเรื่องมารยาทแล้วควรจะปรับปรุงกันสักหน่อยในเรื่องของความเกรงใจ อย่างบ้านเรานี่เวลาดูหนังเราก็ต้องเกรงใจคนรอบข้างด้วย ที่นี่จะเห็นบ่อยพฤติกรรมแบบนี้ในโรงหนังเช่น รับโทรศัพท์ หรือเปิดหน้าจอโทรศัพท์ทำโน่นทำนี่ แสงไฟก็เข้าตาคนอื่น หรือบางคนก็เดินไปมา สลับที่กันบ้าง บ้างก็เข้าโรงหนังช้า แทนที่จะรีบ ๆ เข้า หนังปาเข้าไป 15 นาทีแล้วก็มี และที่สำคัญที่มันแคบ และบางแถวก็เข้า-ออกได้ทางเดียว ดังนั้นถ้านั่งข้างในก็จะต้องเบียดแทรกเข้าไป บางครั้งมาหยุดยืนคุยกับเพื่อนหน้าเราก็มี แต่ก็ยังดีที่มีความเกรงใจกันบ้างเวลาส่งเสียงดัง เช่น ถ้าใครหัวเราะไม่หยุด หรือมาพากย์ในโรงหนังเสียงดัง คนรอบ ๆ ข้างก็จะช่วยกันส่งเสียง "ชู่ว" กันระงมเลย อันนี้ถ้ามีโอกาสก็มาสัมผัสกับโรงหนังที่อินเดียได้
ไม่รู้ว่าที่รัฐอื่นเป็นอย่างไร แต่ที่บังกาลอร์นี้ จะว่าไปก็สบายเหมือนบ้านเรา โรงหนังที่นี่ไม่ลาดลงหลาย ๆ องศาเหมือนบ้านเรา จะลาดลงนิด ๆ เหมือนกับโรงละครมากกว่า เข้าไปข้างในจะค่อนข้างกว้าง มีที่นั่งให้เลือกอยู่ 3 ระดับครับ คือ หน้า (Front), หลัง (Back) และชั้นลอยหรือ Balcony ตอนแรกนี่ไม่รู้ว่า Balcony คืออะไร พอเปิดดิกเลยเข้าใจ คราวนี้อยากจะขึ้นชั้นลอยดูบ้าง ราคาจะต่างกันไม่มาก โดยเฉพาะบางโรงและบางเวลาจะถูกไปเลยก็มี เช่น Morning show คือ รอบแรกตอนเช้าประมาณ 10:45 นี่ราคาสำหรับระดับ Balcony จะอยู่ที่ Rs.50 , ถ้าที่นั่งด้านหลังก็จะ Rs.45 และถ้านั่นด้านหน้า ๆ ก็จะ Rs.35 เอง ไม่แพง แต่ถ้ารอบอื่นนี่จะอยู่ที่ 100, 80, 60 ตามลำดับครับ โรงหนังที่บังกาลอร์นี้มีหลายโรง แต่ถ้าแถว ๆ ย่านธุรกิจนี้แล้วล่ะก็ต้อง Symphony กับ REX
ถ้าจะให้แจ๋ว ๆ ก็ต้องไปที่โรงหนัง PVR ซึ่งอยู่ในห้างฟอรั่ม Kolamangala ที่นี่จะเหมือนกับห้างเดอะมอลล์หรือเซ็นทรัลบ้านเรา คนจะแน่นมากในวันเสาร์อาทิยต์ โรงหนังที่ได้บอกไปนี้โดยมากจะฉายหนังฝรั่งและหนังอินเดีย (ภาษาฮินดี) จะมีหนังหลายเรื่องเข้าคิวรอฉายโดยตลอดเลย การดูหนังนี่ก็จะช่วยให้เราฝึกภาษาได้มากนะครับ อันนี้รับรองมาแล้วโดยผู้รู้หลาย ๆ ท่าน รวมทั้งตัวผมด้วย ช่วงเดือนที่ผมไปนี้หนังเรื่อง Million Dollars baby เข้าฉายพอดี แต่เสียดายที่ไม่ได้ดูเพราะเจ้าคิมคนเดียว เจ้าคิมเป็นเพื่อนร่วมห้องครับ มาจากเกาหลีใต้ นัดเจ้าคิมเอาไว้ว่าจะไปดูเรื่องนี้กันวันอาทิตย์ แต่เจ้าคิมลืมเพราะวันอาทิตย์ไปโบสถ์ ผมเลยชวดเลยงวดนั้น แต่ก็ยังอุตส่าแวบไปดูคนเดียวเรื่อง Miss. Congeniality ที่โรงหนัง Symphony คนไม่แน่นมากครับในวันที่ผมไปดู เพราะเป็นรอบบ่ายโมงครึ่ง การขายตั๋วของเขานี้จะแยกกันนะครับ ถ้าจะซื้อที่นั่งด้านหน้า, ด้านหลัง หรือ Balcony ก็เดินเข้าคนละช่อง จ่ายตังค์และเขาก็จะฉีกตั๋วมาให้เหมือนกับฉีกคูปองซื้ออาหารตามศูนย์การค้าน่ะครับ สิ่งที่รู้สึกว่าน่าจะปรับปรุงมาก ๆ ก็คือ เรื่องของเก้าอี้ ไม่รู้ว่าผมนั่งอีท่าไหน หรือเบาะไม่เหมือนกับบ้านเรานี่ล่ะ ทำเอาปวดไปหมดเลย หลัง ๆ ก็ต้องนั่งเอียง ๆ บ้าง คือ นั่งไม่ค่อยเต็มเบาะเท่าไหร่
แต่ช่วงหลังก็ได้ไปดูกับเจ้าคิมเรื่อง Mr and Miss Smith เข้าฉายพร้อม ๆ กับเมืองไทยเลยเรื่องนี้ ได้ขึ้นไปนั่งบนชั้น Balcony ก็สบายขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังรู้สึกแคบ ๆ อยู่ และการฉายหนังที่นี่จะมีการหยุดพักที่เรียกว่า Interval หรือ Intermission ครับ โดยจะพักประมาณ 15 นาที ให้ไปเข้าห้องน้ำหรือไปซื้อขนมเข้ามากินได้ ในชั้นเดียวกันนั้นจะมีวางขายครับ ไม่แพง ราคาเท่ากับข้างนอกเลย ไม่ว่าจะดูหนังต่างประเทศหรือหนังอินเดียนี่ก็จะมีหยุดพักเหมือนกัน ยิ่งหนังอินเดียแล้วควรมีครับ หนังก็ไม่ยาวมากแต่ว่ามีเพลงด้วยยังไงครับ เลยต้องมีการ Intermission และหนังอินเดียนี้การ Intermission นี้ดูเหมือนเขาจะออกแบบให้หนังมีการหยุดพักด้วย เช่น เนื้อเรื่องกำลังเข้มข้นแล้ว พระเอกจะช่วยนางเอกได้มั้ย จู่ ๆ ก็จะหยุดภาพที่หน้าหล่อ ๆ ของพระเอกและก็ขึ้นคำว่า INTERVAL เลย ก็คือ เป็นการหยุดพักครึ่งเรื่องนั่นเอง สำหรับเรื่องมารยาทแล้วควรจะปรับปรุงกันสักหน่อยในเรื่องของความเกรงใจ อย่างบ้านเรานี่เวลาดูหนังเราก็ต้องเกรงใจคนรอบข้างด้วย ที่นี่จะเห็นบ่อยพฤติกรรมแบบนี้ในโรงหนังเช่น รับโทรศัพท์ หรือเปิดหน้าจอโทรศัพท์ทำโน่นทำนี่ แสงไฟก็เข้าตาคนอื่น หรือบางคนก็เดินไปมา สลับที่กันบ้าง บ้างก็เข้าโรงหนังช้า แทนที่จะรีบ ๆ เข้า หนังปาเข้าไป 15 นาทีแล้วก็มี และที่สำคัญที่มันแคบ และบางแถวก็เข้า-ออกได้ทางเดียว ดังนั้นถ้านั่งข้างในก็จะต้องเบียดแทรกเข้าไป บางครั้งมาหยุดยืนคุยกับเพื่อนหน้าเราก็มี แต่ก็ยังดีที่มีความเกรงใจกันบ้างเวลาส่งเสียงดัง เช่น ถ้าใครหัวเราะไม่หยุด หรือมาพากย์ในโรงหนังเสียงดัง คนรอบ ๆ ข้างก็จะช่วยกันส่งเสียง "ชู่ว" กันระงมเลย อันนี้ถ้ามีโอกาสก็มาสัมผัสกับโรงหนังที่อินเดียได้
อินเดีย-17 : เรียนอังกฤษจากอินเดีย ได้ผลหรือไม่
เรียนอังกฤษจากอินเดีย ได้ผลหรือไม่
อันนี้ต้องถามว่าท่านคาดหวังอะไรจากการมาเรียนที่อินเดีย ถ้ามีเวลาน้อยแต่อยากได้เนื้อหามาก ๆ คุณภาพคับแก้ว เราก็ต้องขยันให้มากกว่าเดิม ไม่ว่าจะมาเรียนอะไรก็ตาม เรียนเอาปริญญา หรือเรียนในคอร์สระยะสั้น ถ้าถามว่าเรียนภาษาที่อินเดียแล้วได้ผลมั้ย ก็ต้องขอบอกว่า 50% อยู่ที่โรงเรียน และที่เหลืออยู่ที่ตัวผู้เรียนเอง อาจารย์จะเป็นผู้แนะนำสิ่งที่ถูกให้ ถ้าผู้เรียนทำการบ้านทุกวัน ฝึกอ่าน ฝึกพูด ฝึกการฟัง หาโอกาสให้กับตัวเองทุกวัน ก็จะเริ่มคล่องได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ อย่าลืมนะครับว่าเรามาเรียนในคลาสก็แค่ 1-2 ชม. เป็นอย่างมาก เวลาที่เหลืออีก 22 ชม. เราอยู่กับใคร ถ้าเราอยู่กับเพื่อนคนไทยด้วยกัน เราก็เอาแต่พูดภาษาไทย มันจะไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้นเลย สังเกตดูได้ บางคนมาจากอิหร่าน เรียนภาษาที่นี่ 6 เดือนพูดได้คล่องเลย แต่พอกลับไปประเทศ 3 เดือนกลับมาเรียนต่อคราวนี้พูดได้ไม่คล่องแล้ว เพราะอยู่ที่ประเทศเขาก็พูดแต่อารบิก ไม่ได้พูดอังกฤษเลย ดังนั้น หลังจากเรียนในคลาสแล้ว เวลาที่เหลือในวันหนึ่ง ๆ ควรจะฝึกการพูด การฟัง ฝึกการอ่านออกเสียง บางคนบอกว่าไม่รู้จะพูดกับใคร อันนี้ไม่เป็นไร วิธีการง่าย ๆ เวลาไม่มีใครพูดด้วยก็นั่งอ่านบทสนทนาไปเรื่อย ๆ หรือไม่ก็หัดเขียน มันจะช่วยให้เราชินกับภาษามากขึ้นทุกวัน ๆ เหมือนกับหัดพิมพ์ดีดน่ะครับ ถ้าไม่เริ่มหัดจิ้มทีละตัวมันจะคล่องได้อย่างไร พอพิมพ์บ่อย ๆ มันก็ไม่คล่อง ลองฝึกพิมพ์ดีดทุก ๆ ชั่วโมงสิครับ ไม่ถึงสัปดาห์ก็หยิบใช้ได้คล่องแล้ว บางคลาสใน London School นี้จะมีคนไทยอย่างมากก็ 7 คน อีกครึ่งหนึ่งก็จะเป็นคนต่างชาติ อินเดียบ้าง เกาหลีบ้าง และเมื่อใดที่นักเรียนไทยรวมตัวกันเมื่อไหร่จะครื้นเครงเป็นพิเศษ บางครั้งเลิกเรียนแล้วก็จับกลุ่มคุยกันหน้าระเบียงเสียงดัง อาจารย์รัซเซลต้องเดินออกมาไล่ถึงจะไปกันได้ อันนี้ก็เป็นบรรยากาศที่พบได้บ่อย ๆ ที่นี่ แต่เวลาอยู่ในห้องเรียนแล้วดูเหมือนจะรู้ตัวกันครับ นักเรียนไทยจะพูดแต่ภาษาอังกฤษใส่กัน เพราะเรามาเรียนที่นี่ก็เพื่อที่จะปรับปรุงเรื่องภาษาอังกฤษกันทุกคน และถ้าอาจารย์รัซเซลแกได้ยินใครพูดภาษาตัวเองก็จะห้ามทันที แกจะบอกให้ใช้อังกฤษอย่างเดียว แต่นักเรียนไทยเราก็ยังไม่วายที่จะแซวกันตลอดคลาส ถ้ามีช่องว่างเมื่อไหร่จะต้องโดนพวกเราแซว เรียกเสียงฮากันได้ทุกครั้งไป เพื่อนอินเดียที่เรียนด้วยกันยังเข้ามาถามเลยว่าทำไมคนไทยถึงอารมณ์ดีกันจัง ก็ต้องบอกไปว่าการยิ้มแย้มแจ่มใส่นี่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ถ้าไปเที่ยวเมืองไทยแล้วจะพบได้ทุกที่แน่นอน อันนี้ก็เป็นบรรยากาศที่พบได้ครับเมื่อมาเรียนภาษาที่นี่
อันนี้ต้องถามว่าท่านคาดหวังอะไรจากการมาเรียนที่อินเดีย ถ้ามีเวลาน้อยแต่อยากได้เนื้อหามาก ๆ คุณภาพคับแก้ว เราก็ต้องขยันให้มากกว่าเดิม ไม่ว่าจะมาเรียนอะไรก็ตาม เรียนเอาปริญญา หรือเรียนในคอร์สระยะสั้น ถ้าถามว่าเรียนภาษาที่อินเดียแล้วได้ผลมั้ย ก็ต้องขอบอกว่า 50% อยู่ที่โรงเรียน และที่เหลืออยู่ที่ตัวผู้เรียนเอง อาจารย์จะเป็นผู้แนะนำสิ่งที่ถูกให้ ถ้าผู้เรียนทำการบ้านทุกวัน ฝึกอ่าน ฝึกพูด ฝึกการฟัง หาโอกาสให้กับตัวเองทุกวัน ก็จะเริ่มคล่องได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ อย่าลืมนะครับว่าเรามาเรียนในคลาสก็แค่ 1-2 ชม. เป็นอย่างมาก เวลาที่เหลืออีก 22 ชม. เราอยู่กับใคร ถ้าเราอยู่กับเพื่อนคนไทยด้วยกัน เราก็เอาแต่พูดภาษาไทย มันจะไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้นเลย สังเกตดูได้ บางคนมาจากอิหร่าน เรียนภาษาที่นี่ 6 เดือนพูดได้คล่องเลย แต่พอกลับไปประเทศ 3 เดือนกลับมาเรียนต่อคราวนี้พูดได้ไม่คล่องแล้ว เพราะอยู่ที่ประเทศเขาก็พูดแต่อารบิก ไม่ได้พูดอังกฤษเลย ดังนั้น หลังจากเรียนในคลาสแล้ว เวลาที่เหลือในวันหนึ่ง ๆ ควรจะฝึกการพูด การฟัง ฝึกการอ่านออกเสียง บางคนบอกว่าไม่รู้จะพูดกับใคร อันนี้ไม่เป็นไร วิธีการง่าย ๆ เวลาไม่มีใครพูดด้วยก็นั่งอ่านบทสนทนาไปเรื่อย ๆ หรือไม่ก็หัดเขียน มันจะช่วยให้เราชินกับภาษามากขึ้นทุกวัน ๆ เหมือนกับหัดพิมพ์ดีดน่ะครับ ถ้าไม่เริ่มหัดจิ้มทีละตัวมันจะคล่องได้อย่างไร พอพิมพ์บ่อย ๆ มันก็ไม่คล่อง ลองฝึกพิมพ์ดีดทุก ๆ ชั่วโมงสิครับ ไม่ถึงสัปดาห์ก็หยิบใช้ได้คล่องแล้ว บางคลาสใน London School นี้จะมีคนไทยอย่างมากก็ 7 คน อีกครึ่งหนึ่งก็จะเป็นคนต่างชาติ อินเดียบ้าง เกาหลีบ้าง และเมื่อใดที่นักเรียนไทยรวมตัวกันเมื่อไหร่จะครื้นเครงเป็นพิเศษ บางครั้งเลิกเรียนแล้วก็จับกลุ่มคุยกันหน้าระเบียงเสียงดัง อาจารย์รัซเซลต้องเดินออกมาไล่ถึงจะไปกันได้ อันนี้ก็เป็นบรรยากาศที่พบได้บ่อย ๆ ที่นี่ แต่เวลาอยู่ในห้องเรียนแล้วดูเหมือนจะรู้ตัวกันครับ นักเรียนไทยจะพูดแต่ภาษาอังกฤษใส่กัน เพราะเรามาเรียนที่นี่ก็เพื่อที่จะปรับปรุงเรื่องภาษาอังกฤษกันทุกคน และถ้าอาจารย์รัซเซลแกได้ยินใครพูดภาษาตัวเองก็จะห้ามทันที แกจะบอกให้ใช้อังกฤษอย่างเดียว แต่นักเรียนไทยเราก็ยังไม่วายที่จะแซวกันตลอดคลาส ถ้ามีช่องว่างเมื่อไหร่จะต้องโดนพวกเราแซว เรียกเสียงฮากันได้ทุกครั้งไป เพื่อนอินเดียที่เรียนด้วยกันยังเข้ามาถามเลยว่าทำไมคนไทยถึงอารมณ์ดีกันจัง ก็ต้องบอกไปว่าการยิ้มแย้มแจ่มใส่นี่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ถ้าไปเที่ยวเมืองไทยแล้วจะพบได้ทุกที่แน่นอน อันนี้ก็เป็นบรรยากาศที่พบได้ครับเมื่อมาเรียนภาษาที่นี่
อินเดีย-18 : เรียนชงชาแบบอินเดีย
เรียนชงชาแบบอินเดีย
เวลาเดินไปไหนมาไหนในอินเดีย ท่านจะเห็นร้านขายชาได้ทั่ว ๆ ไปตามข้างถนน หรือตามตลาด หรือตอนเช้าก็จะเห็นแขกออกมานั่งจิบชา อ่านหนังสือพิมพ์ข้าง ๆ ถนน บ้างก็ยืนจิบชาพร้อมกับบิสกิต, ขนมชิ้นละ 1 รูปี พอบ่าย ๆ ก็จะมีอีกช่วงหนึ่งที่เขาจะต้องจิบชากัน ประมาณบ่ายโมงหรือบ่ายสองนี่ล่ะ จะมีคนเดินถือกาน้ำร้อน (เป็นกาแบบเสียบปลั๊กนะครับ ไม่ใช่แบบตั้งเตา) พร้อมกับถ้วยพลาสติก เดินไปตามร้านค้าร้านขายและก็รินชาให้ ถ้าถ้วยละ 2 รูปีก็เล็กหน่อย ถ้าใหญ่หน่อยก็ 4-6 รูปี อย่างเวลาผมไปเดินช็อปแถว ๆ Ghandhi Nagar นี่ ผมจะมีร้านประจำเวลามาซื้อหนัง DVD พอสักบ่าย ๆ หน่อยก็จะชามาส่ง เจ้าของร้านก็จะรินให้ผมด้วย เพราะเห็นว่าผมมาซื้อบ่อยและก็ซื้อที่ 2-3 แผ่น อันนี้ก็เป็นน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ครับ ชาที่นี่มีทั้งแบบธรรมดา คือ ชานม และก็ชาแบบที่ใส่เครื่องเทศพวกขิง และก็ใส่ผลอะไรสักอย่างผมจำชื่อไม่ได้แล้ว พวกนักร้องเขาจะอมไว้ในปากเพื่อให้ชุ่มคอกัน รสชาติของชาก็จะอร่อยไปอีกแบบ การชงชาแบบอินเดียนี้ไม่ยากครับ ท่านสามารถชงดื่มได้ที่บ้านโดยไม่ต้องออกไปหาซื้อ เพียงแค่มีกาน้ำร้อนหรือหม้อต้มน้ำ จากนั้นก็ไปซื้อชากับที่กรองชา การหาซื้อชานั้นไม่ยากครับ ไปหาตามซุปเปอร์มาเก็ตก็ได้ มีหลายยี่ห้อ ตั้งแต่ยี่ห้อ TATA ที่เป็นเจ้าของธุรกิจรถ บริษัทนี้ทำทุกอย่างจริง ๆ ครับตั้งแต่เกลือไปจนถึงรถยนต์ หรือยี่ห้ออื่น ๆ ก็เช่น BRU, Taj Mahal ฯลฯ พอได้ชามาแล้วก็ไปหาที่กรองชา มันจะเป็นเหมือนกับที่ตักไอติมแต่จะเป็นตะแกรงถี่ ๆ เอาไว้กรองชา ถ้าไปซื้อตามซุปเปอร์มาเก็ตจะราคาแพง ต้องบอกว่าไม่รู้แพงอะไร อันละ 18-19 รูปี แต่ถ้าไปหาซื้อตามตลาดเช่น Ulsoor Market แบบนี้ ไปเลือกหาเอาเลยครับ อันใหญ่กว่าในซุปเปอร์อีก แค่ 5 รูปีเอง พอได้อุปกรณ์ครบแล้วก็ไปหาซื้อนม ซึ่งหาได้ตามร้านทั่ว ๆ ไปครับ เขาจะขายเป็นถุง ถุงละครึ่งลิตร 7-8 รูปี เอามาต้มและก็ใส่น้ำเปล่าไปสักหน่อย จากนั้นก็ใส่ชาลงไปสักช้อนหรือสองช้อนแล้วแต่ ถ้าจะเอาแบบเข้ม ๆ ก็ใส่สัก 2 ช้อน เติมน้ำตาลไปหน่อย พอเดือดแล้วก็เทผ่านตะแกรงและก็ดื่มได้เลย ถ้ามีโอกาสก็ลองหาพวกขิงมาซอยใส่ก็ได้ครับ ท่านจะได้ชารสชาติอร่อยไปอีกแบบ ที่ไปรู้วิธีการชงชามานี่ไม่ใช่ว่าไปนั่งดูเขาหรอกนะครับ แต่ไปถามอาจารย์ Sushila อย่างว่าครับ การเรียนแบบตัวต่อตัวนี้ก็มีข้อดีเยอะ และโชคดีที่ปีนี้ผมต้องไปเรียนที่บ้านของแก พอผมถามหาวิธีการชงชาแบบอินเดีย แกก็บอกว่าจะสาธิตให้ดู นั่นล่ะครับถึงได้รู้กัน ถ้าเราชงเอง ชาจะเข้มข้นมากกว่าซื้อข้างนอก และเราก็มั่นใจในความสะอาดได้มากกว่าด้วย
เวลาเดินไปไหนมาไหนในอินเดีย ท่านจะเห็นร้านขายชาได้ทั่ว ๆ ไปตามข้างถนน หรือตามตลาด หรือตอนเช้าก็จะเห็นแขกออกมานั่งจิบชา อ่านหนังสือพิมพ์ข้าง ๆ ถนน บ้างก็ยืนจิบชาพร้อมกับบิสกิต, ขนมชิ้นละ 1 รูปี พอบ่าย ๆ ก็จะมีอีกช่วงหนึ่งที่เขาจะต้องจิบชากัน ประมาณบ่ายโมงหรือบ่ายสองนี่ล่ะ จะมีคนเดินถือกาน้ำร้อน (เป็นกาแบบเสียบปลั๊กนะครับ ไม่ใช่แบบตั้งเตา) พร้อมกับถ้วยพลาสติก เดินไปตามร้านค้าร้านขายและก็รินชาให้ ถ้าถ้วยละ 2 รูปีก็เล็กหน่อย ถ้าใหญ่หน่อยก็ 4-6 รูปี อย่างเวลาผมไปเดินช็อปแถว ๆ Ghandhi Nagar นี่ ผมจะมีร้านประจำเวลามาซื้อหนัง DVD พอสักบ่าย ๆ หน่อยก็จะชามาส่ง เจ้าของร้านก็จะรินให้ผมด้วย เพราะเห็นว่าผมมาซื้อบ่อยและก็ซื้อที่ 2-3 แผ่น อันนี้ก็เป็นน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ครับ ชาที่นี่มีทั้งแบบธรรมดา คือ ชานม และก็ชาแบบที่ใส่เครื่องเทศพวกขิง และก็ใส่ผลอะไรสักอย่างผมจำชื่อไม่ได้แล้ว พวกนักร้องเขาจะอมไว้ในปากเพื่อให้ชุ่มคอกัน รสชาติของชาก็จะอร่อยไปอีกแบบ การชงชาแบบอินเดียนี้ไม่ยากครับ ท่านสามารถชงดื่มได้ที่บ้านโดยไม่ต้องออกไปหาซื้อ เพียงแค่มีกาน้ำร้อนหรือหม้อต้มน้ำ จากนั้นก็ไปซื้อชากับที่กรองชา การหาซื้อชานั้นไม่ยากครับ ไปหาตามซุปเปอร์มาเก็ตก็ได้ มีหลายยี่ห้อ ตั้งแต่ยี่ห้อ TATA ที่เป็นเจ้าของธุรกิจรถ บริษัทนี้ทำทุกอย่างจริง ๆ ครับตั้งแต่เกลือไปจนถึงรถยนต์ หรือยี่ห้ออื่น ๆ ก็เช่น BRU, Taj Mahal ฯลฯ พอได้ชามาแล้วก็ไปหาที่กรองชา มันจะเป็นเหมือนกับที่ตักไอติมแต่จะเป็นตะแกรงถี่ ๆ เอาไว้กรองชา ถ้าไปซื้อตามซุปเปอร์มาเก็ตจะราคาแพง ต้องบอกว่าไม่รู้แพงอะไร อันละ 18-19 รูปี แต่ถ้าไปหาซื้อตามตลาดเช่น Ulsoor Market แบบนี้ ไปเลือกหาเอาเลยครับ อันใหญ่กว่าในซุปเปอร์อีก แค่ 5 รูปีเอง พอได้อุปกรณ์ครบแล้วก็ไปหาซื้อนม ซึ่งหาได้ตามร้านทั่ว ๆ ไปครับ เขาจะขายเป็นถุง ถุงละครึ่งลิตร 7-8 รูปี เอามาต้มและก็ใส่น้ำเปล่าไปสักหน่อย จากนั้นก็ใส่ชาลงไปสักช้อนหรือสองช้อนแล้วแต่ ถ้าจะเอาแบบเข้ม ๆ ก็ใส่สัก 2 ช้อน เติมน้ำตาลไปหน่อย พอเดือดแล้วก็เทผ่านตะแกรงและก็ดื่มได้เลย ถ้ามีโอกาสก็ลองหาพวกขิงมาซอยใส่ก็ได้ครับ ท่านจะได้ชารสชาติอร่อยไปอีกแบบ ที่ไปรู้วิธีการชงชามานี่ไม่ใช่ว่าไปนั่งดูเขาหรอกนะครับ แต่ไปถามอาจารย์ Sushila อย่างว่าครับ การเรียนแบบตัวต่อตัวนี้ก็มีข้อดีเยอะ และโชคดีที่ปีนี้ผมต้องไปเรียนที่บ้านของแก พอผมถามหาวิธีการชงชาแบบอินเดีย แกก็บอกว่าจะสาธิตให้ดู นั่นล่ะครับถึงได้รู้กัน ถ้าเราชงเอง ชาจะเข้มข้นมากกว่าซื้อข้างนอก และเราก็มั่นใจในความสะอาดได้มากกว่าด้วย
อินเดีย-19 : มาถึงอินเดียไม่พูดเรื่องหนังอินเดียคงไม่ได้
มาถึงอินเดียไม่พูดเรื่องหนังอินเดียคงไม่ได้
มาถึงอินเดีย แล้วไม่พูดถึงเรื่องหนังอินเดียก็กะไรอยู่นะครับ ถ้าตอนนี้ใคร ๆ ยังบอกว่าหนังอินเดียมีแต่วิ่งจีบกันรอบเขาหรือมีแต่แบบแต่งองค์ทรงเครื่องจักรๆ วงศ์ ๆ ทั้งเรื่อง ต้องขอซื้อเลยครับ นั่นคือหนังอินเดียที่เข้าไปฉายในเมืองไทยและคนไทยก็ชอบดูกันด้วยนะครับ แต่หนังอินเดียยุคใหม่นี่ต้องบอกเลยว่าเปลี่ยนไปเยอะ มีการผสมผสานความทันสมัยกับวัฒนธรรมเขาได้เป็นอย่างดี หนังอินเดียหลายเรื่องได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar มาแล้ว ดังนั้น อย่าคิดว่าหนังเขาไม่มีคุณภาพนะครับบางเรื่องถ่ายทำในอเมริกาทั้งเรื่องก็มี อย่างเช่น Kante ที่มีดารานำอย่างอมิตาปบาจัน (Amitabh Bachan), ชันเย ดัตช์ (Sanjay Dutt) ที่นำเข้ามาฉายในเมืองไทยโดยใช้ชื่อไทยว่า "6 เดือด" ไงครับ หนังเรื่องนี้พูดภาษาอังกฤษกันทั้งเรื่อง จึงทำให้มีความเป็นสากลและได้รับการยอมรับอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งถ้าพูดถึงรายได้แล้วก็คงจะมหาศาลน่าดู เพราะตั้งแต่ก่อนปี 2000 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมภาพยนตร์อินเดีย หรือที่เรียกกันว่า Bollywood เติบโตอย่างมากในตลาดโลก ภาพยนตร์เป็นพัน ๆ เรื่องถูกนำออกฉายในต่างประเทศ และยังจำหน่ายในรูปแบบ VCD, DVD อีกด้วย ภาพยนต์เรื่องหนึ่ง ๆ ของเขาจะใช้งบประมาณในการถ่ายทำประมาณ 1-3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และศูนย์กลางของการถ่ายทำภาพยนต์นั้นก็คือเมืองบอมเบย์ (Bombay) หรือที่เปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ว่า "มุมไบ" (Mumbai) นั่นเอง ซึ่งคำว่าบอลลี่วู้ด (Bollywood) นั้นก็คงมาจากการใช้ตัว B ของชื่อเมืองมาเลียนแบบคำว่า Hollywood ผมคิดว่าเป็นอย่างนั้น
อาจารย์ที่ผมได้คุยเรื่องภาษาอังกฤษท่านก็มาจากมุมไบ ผมถามแกว่าทำไมไม่กลับไปอยู่มุมไบ แกบอกว่าเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งที่สองก็คือบังกาลอร์นี่เอง ผมบอกว่าอยากไปเที่ยวมุมไบบ้าง แกก็ว่าถ้าจะไป making business ให้ไปมุมไบ แต่ถ้าอยากไปเที่ยว แกก็แนะนำให้ไป Goa ดีกว่าเพราะเป็นทะเล สวยมาก แกไปมาและก็เอารูปมาให้ดู สะอาดน่าไปเที่ยวมากเลย แต่ผมก็ไม่วายบอกแกไปว่าถ้าอยากเห็นทะเลสวย ๆ แบบนี้ต้องไปเที่ยวเมืองไทย เพราะเมืองไทยนี่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยว ผมสัญญากับแกไว้ว่าพอกลับมาเมืองไทยแล้วจะส่งรูปทะเลของกระบี่ไปให้แกทาง Email เผื่อแกจะอยากมาเที่ยวบ้าง
มาถึงภาพยนตร์กันต่อดีกว่า ภาพยนต์อินเดียที่ถ่ายทำกันนั้นมีแบ่งออกเป็นหลายภาษา เพราะแต่ละภาษาก็มีภาษาท้องถิ่นของตัวเองเข้าไปอีก เช่น Kanada, Bangla, Telagu, Tamil, Hindi หรือ Marathi ซึ่งเรื่องของการดูภาพยนตร์ในโรงหนังแขกนี้จะมาเล่าให้ฟังในช่วงหลังอีก ฟังมาแค่นี่แล้วก็คงจะเห็นถึงความอลังการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เขาแล้วนะครับ คนอินเดียเขาสนับสนุนภาพยนตร์ของเขาเอง เพราะเอกลักษณ์ของภาพยนตร์อินเดียอย่างหนึ่งก็คือการร้องเพลง และนั่นคือสิ่งที่ผมสงสัยมาตลอด เคยถามเจ้าของร้านหนังแขกที่พาหุรัดว่าทำไมหนังอินเดียจะต้องมีเพลงสลับกันไปตลอดเรื่อง แกก็บอกว่าถ้าไม่มีเพลงหนังก็จะขายไม่ออกสิ... ผมก็พกเอาคำถามนี้มาถามคนอินเดียที่นี่จริง ๆ เลย คนนั้นไม่ใช่ใครที่ไหนครับอาจารย์ของผมเอง แกบอกว่าคนอินเดียเวลาดูหนังก็อยากสนุกสนาน อยากดูอะไรที่เป็น Entertainment ใครจะเข้าไปแล้วออกมาเครียด ๆ ล่ะ.. เอ้อ... ผมก็ว่าจริง อันนี้จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่จะต้องมีเพลงซึ่งทำให้หนังขายได้ แกบอกว่านาน ๆ จะมีหนังอินเดียที่ไม่มีเพลง อย่างเช่นเรื่อง Black นำแสดงโดยราณี มุคเฮอจีกับอมิตาป เรื่องนี้ไม่มีเพลง แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก และถึงแม้ว่าจะเป็นหนังแอคชั่นตามล่าบู๊ล้างผลาญกันทั้งเรื่อง แต่ก็ยังอุตส่าห์มีเพลงโผล่ออกมาอีกจนได้
ผมเคยดูอยู่เรื่องหนึ่งนั่งดูจนจบ CD แผ่นแรกแล้วยังไม่มีแววว่าจะมีเพลงเลยเพราะไม่มีบทจีบ กันกะว่านี่คงเป็นหนังอินเดียเรื่องแรกที่ไม่มีเพลง ที่ไหนได้พอขึ้นแผ่นสองเท่านั้นล่ะ พระเอกฝันว่าได้เต้นรำกับสาวสวยนั่นล่ะครับ 1 เพลงของหนังเรื่องนั้น เมื่อพูดถึงหนังแอ็คชั่นแล้วก็ขอเล่าต่ออีกสักหน่อย หนังแอ็คชั่นของอินเดียนี้พระเอกจะเก่งกว่าปกติ เพราะความเป็นจริงทำไม่ได้ถึงขนาดนั้น แต่ในหนังทำได้ ถ้าใครได้ดูอาจจะบอกว่าโอเว่อร์ แต่ก็สนุกไปอีกแบบ เช่น ถีบทีเดียวกระเด็นไปชนกระจกรถแตกกระจายก็มี หรือ ตัวร้ายยิงมาหลายนัด ไม่โดนพระเอกสักนัดเลย แต่พอพระเอกยิงโป้งเดียวจอดเลยก็มีให้เห็นบ่อย ถ้าจะลองหามาดูมันส์ ๆ ก็น่าสนใจนะครับ อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพูดก็คือเรื่องของดาราอินเดีย ถ้าเป็นดาราชายจะใช้คำว่าหล่อก็คงจะไม่พอ ขนาดผู้ชายด้วยกันอย่างผมก็ยังคิดเลยครับว่าเขาเกิดมาเพื่อเป็นดาราโดยเฉพาะ ดาราอินเดียบางคนขึ้นทำเนียบผู้ชายที่หล่อที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ก็มี (อันดับ 7 ของโลก Salman Khan) ที่นี่เขาเรียกว่าเป็น Well-dressed Man คือ ผู้ชายที่แต่งตัวยังไงก็ดูดี
ยิ่งถ้าเป็นดาราผู้หญิงด้วยแล้วจะว่าสวยก็คงไม่พอ เพราะขนาดคว้ารางวัลนางงามมาหลายเวทีแล้วก็มีให้ได้ยินบ่อยไป เช่น Ashawarya Rai หรือ Samenta Sen นอกจากนี้ยังมีดาราอีกหลาย ๆ คนที่ขนาดคนไทยบางคนยังพูดเลยว่า "สวยถึงขนาดถ้ามองมาทางเขาก็แทบจะตกเก้าอี้กันเลย" ก็มี แต่ถ้าเรามาเดินตามถนนอาจจะไม่เห็นสาวอินเดียที่สวยระดับดาราบ่อยนัก
อยู่บังกาลอร์นี่ผมเดินถนน M.G. กับ Brigade อยู่ทุกวัน เจอสาวแขกที่สวย ๆ ตามคม ๆ จมูกโด่งแบบระดับดาราก็นับครั้งได้ แต่ถ้าท่านอยากรู้ว่าสวยแค่ไหน ลองหาหนังอินเดียมาดูสักเรื่องสิครับ นอกจากนี้ มนต์เสน่ห์ของหนังอินเดียไม่ได้อยู่ที่ดาราอย่างเดียวครับ ประเพณีและวัฒนธรรมของเขาก็ไม่ต่างไปจากเรา และบอกได้ว่าเขาให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวมาก และก็ไม่ค่อยมีหนังอินเดียที่ทำออกมาในแนวเซ็กซ์โจ่งครึมหรือเชิงยั่วเย้าอารมณ์ออกมาให้เห็น จะมีก็แต่การเต้นที่จะแต่งตัวกันอร้าอร่ามและแดนซ์กันอย่างสุดเหวี่ยงตามจังหวะเพลง ก็อาจเป็นไปได้ว่าสังคมของเขาไม่ยอมรับในเรื่องนี้ ซึ่งก็แปลกนะครับที่สังคมไทยกลับรับเรื่องนี้กันได้ หนังที่เกี่ยวกับเซ็กต์ที่ผลิตโดยคนไทยหรือนำเข้าจากต่างประเทศที่พูดถึงแต่เรื่องบนเตียงทั้งเรื่องก็มีมาให้เห็นกันบ่อย และเด็ก ๆ ที่เป็นเยาวชนก็ยังสามารถตีตั๋วเข้าไปดูหรือหาซื้อ CD มาดูได้อีก เราก็ไม่รู้นะครับว่าอนาคตของเยาวชนจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าคนไทยจะยอมรับกันได้หรือทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับเรื่องพวกนี้ได้แล้วจะไปแก้ไขเอาดาบหน้ากันก็ตามใจ
มาฟังเรื่องหนังอินเดียกันต่อดีกว่า ผมจะเล่าให้ฟังถึงเนื้อเรื่องของหนังอินเดียบางเรื่องที่สอนให้รู้จักรักครอบครัว รู้ผิดชอบชั่วดี และสอนให้รู้ถึงหัวอกพ่อแม่ อย่างเรื่อง Saathiya ก็เป็นเรื่องของหนุ่มสาวที่แอบหนีไปแต่งงานกันอยู่กินกัน โดยที่พ่อแม่ไม่ยอมรับ ทัดทานก็แล้วแต่ไม่ฟัง นำแสดงโดยราณี มุกเฮอจีกับวิเวก โอเบอรอย เรื่องนี้สอนได้ดีเลยครับ เพราะฝ่ายหญิงตัดสินใจไปอยู่กับผู้ชายโดยออกจากบ้านไปทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าเราเข้ากันไม่ได้ ผู้ชายกลายเป็นคนอารมณ์ร้อนและไม่รู้จักทนุถนอมความรักจนกระทั่งเกือบจะสูญเสียคนรักไป หนังเรื่องนี้ถ้าจำไม่ผิดมีบริษัทของคนไทยเอามาพากย์ไทยจำหน่ายแล้วครับ ลองหาดูตามร้านขาย CD หนังอินเดียได้ ตอนจบก็ Happy Ending ครับ
สำหรับอีกเรื่องหนึ่งที่ฮือฮาในวงการหนังแขกของไทยนำแสดงโดยดาราเจ้าบทบาทอย่างคาโจล, อมิตาบ, ชารุข่าน, การีน่า และหรีติกก็คือ "Khabi Khushi Khabi Gham" ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องความรักของพ่อและแม่ คนไทยหลาย ๆ คนที่เคยดูจะต้องบอกต่อกันว่า ถ้าใครที่ดูหนังเรื่องนี้แล้วไม่ร้องไห้นะ ให้มาว่ากันได้เลย เนื่องเรื่องจะเกี่ยวกับความรักและความผูกพันของครอบครัว ซึ่งได้แยกแตกกัน แต่ความสัมพันธ์ของแม่ลูกนั้นยังตามติดถึงกันอยู่เสมอ เพราะฝีมือการแสดงของดาราทุกคนนั้นเข้าถึงอารมณ์ของคนดูจนแทบจะคล้อยตามไปได้เลย สุดท้ายหนังก็จบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง
สำหรับหนังที่ให้คติสอนใจก็มีหลายเรื่อง เช่น Munna Bhai นำแสดงโดยซันเจ ดัต (Sanjay Dutt) เป็นเรื่องของคน ๆ หนึ่งที่บอกพ่อแม่ว่าจะเข้ามาเรียนหมอ แต่กลับมาเป็นมาเฟีย จับคนมาเรียกค่าไถ่ พอพ่อแม่รู้เข้าก็เสียใจ ทำให้เขาต้องหาทางไปเรียนและจบมาเป็นหมอให้ได้โดยการโกงข้อสอบเข้าไป แต่สุดท้ายเมื่อเพื่อนตัวเองที่เป็นคนไข้กำลังจะตายและต้องการให้เขาช่วย เขากลับทำอะไรไม่ได้เลย เพราะไม่มีความรู้ด้านการแพทย์ จึงมองดูเพื่อนตัวเองตายไปต่อหน้าต่อตา ด้วยความเสียใจ เขาเลยรับสารภาพและบอกความจริงกับทุก ๆ คนในโรงพยาบาล และสุดท้ายหนังเรื่องนี้จบลงอย่างมีความสุขกันพร้อมหน้าทุกคน
สำหรับดาราที่คนไทยชอบกันมากก็เห็นจะเป็นชารุข่าน (พระเอกอโศกมหาราช) ที่อินเดียนี่ก็ถือว่าเป็นระดับซุปเปอร์สตาร์คนหนึ่งเลยทีเดียว ตอนที่ผมอยู่นี้ก็มีหนังชารุข่านออกมาหลายเรื่อง และก็มีช่วงหนึ่งที่ชารุข่านมาบังกาลอร์ มาเปิดการแสดงและก็มีดาราหลาย ๆ คนมาร่วมจอย อย่างเช่น Zayed Khan หรือ Lara Dutta ก็มาด้วย ได้ข่าวถึงขนาดที่ Chinanaswamy Stadium ไม่มีที่นั่งและที่ยืนกันเลย บางคนซื้อตั๋วมาแล้วแต่ก็ไม่ได้เข้า และราคาตั๋วนี่ก็แพงมากจนเหลือเชื่อ นอกจากนี้ ชารุข่านก็มาเป็นผู้กำกับหนังเรื่อง KAAL กับการันโจฮา ซึ่งเกี่ยวกับการผจญภัยในป่าก็ออกมาในช่วงนี้ด้วย ถ้าสนใจก็ลองหาซื้อมาชมได้
การหาซื้อหนังอินเดียในบังกาลอร์นี้ไม่ยากครับ เพราะข้าง ๆ ทางหรือในห้างก็จะมีร้านขายกันเยอะ เช่นร้าน Music World เป็นต้น แต่เราคงฟังภาษาฮินดีไม่ออกแน่นอน เลยต้องหา DVD ที่มี Subtitle เป็นภาษาอังกฤษมาแทน เปิดดูกับคอมพิวเตอร์ก็ได้ ถ้าหนังใหม่ ๆ ก็จะอยู่ที่ Rs.499 ถ้าหนังหลายปีมาแล้วก็ราคา Rs.299 หรือ Rs.199 ก็มี เป็นมาสเตอร์แท้ ๆ ไม่มีแผ่นปลอมมาวางขายกัน และพอหนังออกมาเป็น VCD/DVD ก็จะมี CD และเทปเพลงออกมาด้วย ใจหนึ่งผมก็อยากซื้อหนังมาดู เพราะอย่างน้อยดูได้หลายครั้ง แต่คิดไปคิดมา DVD มันแพงจังเลย อยากไปแบบว่า Copy น่ะ...มีมั้ย... ไม่กล้าไปถามใคร เราก็ไม่คิดว่าที่อินเดียจะมีพวก Copy กันหรอก จนกระทั่งไปเดินเที่ยวที่ Ghandi Nagar แค่นั้นล่ะจึงได้รู้ว่าที่นี่ก็มีแหล่ง CD/DVD เถื่อนเหมือนกัน ไม่อยากพูดมาก เดี๋ยวจะหาว่าแนะนำ แต่ก็ขอสักหน่อยแล้วกัน ถ้าไปเดินเที่ยวที่ Ghandi Nagar แถบ ๆ Sapna Book house (บอกให้ออโต้พาไปก็ได้) แถว ๆ นั้นจะมีหลายตรอก มีร้านขายเครื่องเล่น CD/DVD ราคาถูก แต่ไม่แน่ใจคุณภาพนะคับ ผมเคยไปดูที่บ้านเพื่อน ยี่ห้อแปลก ๆ ดู ๆ ไปติดขัดตลอดเรื่องก็มี หัวอ่านที่เขาใช้อาจจะไม่ได้มาตรฐานเหมือนบ้านเรา แต่บางร้านก็เป็นสินค้านำเข้าครับ ลองทายสิครับว่านำเข้าจากประเทศไหน? ….. คำตอบก็คือ Bangkok ครับ นำเข้าจากบ้านเรานี่เอง และแถว ๆ นี้ก็จะมีหลาย ๆ ร้านขายเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ และก็ร้านขาย VCD/DVD หนังให้เลือกเยอะมาก มีทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นหนัง DVD อินเดีย, หรือหนัง Hollywood แบบว่ารวมทุกเวอร์ชั่น เช่น หนังของจิมแครี่ 3 เรื่องใน 1 แผ่น, Harry Potter 3 in 1 หรือบางแผ่นเป็นแผ่นรวมหนังบู๊ทั้งแผ่น ผมยังเห็นเรื่ององค์บากของไทยเลย เอามาขายที่นี่ด้วย ต้องบอกว่าหนังไทยเรื่องนี้สุดยอดและโดดเด่นมากครับ การไปเลือกซื้อแผ่น DVD แบบนี้ก็ตัวใครตัวมันนะครับ เลือกกันเอาตามใจชอบ (อย่าบอกว่า "ผมบอก" นะครับ) ถ้าบอกราคาต่อแผ่นไปก็คงจะตกใจ แผ่นละไม่เกิน Rs. 150 ครับ....
การดูหนัง DVD อินเดียหรือหนังฝรั่งเพื่อฝึกการอ่าน Subtitle จากหนังแขก หรือจะฝึกฟังสนทนาจากหนังฝรั่งก็ช่วยพัฒนาภาษาของท่านได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยความที่อยากรู้ว่าเขาพูดว่าอะไร เรื่องมันจะเป็นยังไงต่อ พระเอกจะบอกความจริงกับนางเอกหรือเปล่าเขาจะได้เลิกเข้าใจผิดซะที แบบนี้ถ้าฝึกบ่อย ๆ จะช่วยให้เราอ่านจับใจความได้เร็วขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้าอยู่เมืองไทยจะลองไปหาซื้อหนังอินเดียแบบ English Subtitle จากพาหุรัดก็ได้ครับ มีให้เลือกหลายเรื่อง แต่ถ้าดูแล้วติดใจเลิกดูหนังฝรั่งไปเลยก็อย่ามาว่ากันนะ
มาถึงอินเดีย แล้วไม่พูดถึงเรื่องหนังอินเดียก็กะไรอยู่นะครับ ถ้าตอนนี้ใคร ๆ ยังบอกว่าหนังอินเดียมีแต่วิ่งจีบกันรอบเขาหรือมีแต่แบบแต่งองค์ทรงเครื่องจักรๆ วงศ์ ๆ ทั้งเรื่อง ต้องขอซื้อเลยครับ นั่นคือหนังอินเดียที่เข้าไปฉายในเมืองไทยและคนไทยก็ชอบดูกันด้วยนะครับ แต่หนังอินเดียยุคใหม่นี่ต้องบอกเลยว่าเปลี่ยนไปเยอะ มีการผสมผสานความทันสมัยกับวัฒนธรรมเขาได้เป็นอย่างดี หนังอินเดียหลายเรื่องได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar มาแล้ว ดังนั้น อย่าคิดว่าหนังเขาไม่มีคุณภาพนะครับบางเรื่องถ่ายทำในอเมริกาทั้งเรื่องก็มี อย่างเช่น Kante ที่มีดารานำอย่างอมิตาปบาจัน (Amitabh Bachan), ชันเย ดัตช์ (Sanjay Dutt) ที่นำเข้ามาฉายในเมืองไทยโดยใช้ชื่อไทยว่า "6 เดือด" ไงครับ หนังเรื่องนี้พูดภาษาอังกฤษกันทั้งเรื่อง จึงทำให้มีความเป็นสากลและได้รับการยอมรับอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งถ้าพูดถึงรายได้แล้วก็คงจะมหาศาลน่าดู เพราะตั้งแต่ก่อนปี 2000 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมภาพยนตร์อินเดีย หรือที่เรียกกันว่า Bollywood เติบโตอย่างมากในตลาดโลก ภาพยนตร์เป็นพัน ๆ เรื่องถูกนำออกฉายในต่างประเทศ และยังจำหน่ายในรูปแบบ VCD, DVD อีกด้วย ภาพยนต์เรื่องหนึ่ง ๆ ของเขาจะใช้งบประมาณในการถ่ายทำประมาณ 1-3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และศูนย์กลางของการถ่ายทำภาพยนต์นั้นก็คือเมืองบอมเบย์ (Bombay) หรือที่เปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ว่า "มุมไบ" (Mumbai) นั่นเอง ซึ่งคำว่าบอลลี่วู้ด (Bollywood) นั้นก็คงมาจากการใช้ตัว B ของชื่อเมืองมาเลียนแบบคำว่า Hollywood ผมคิดว่าเป็นอย่างนั้น
อาจารย์ที่ผมได้คุยเรื่องภาษาอังกฤษท่านก็มาจากมุมไบ ผมถามแกว่าทำไมไม่กลับไปอยู่มุมไบ แกบอกว่าเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งที่สองก็คือบังกาลอร์นี่เอง ผมบอกว่าอยากไปเที่ยวมุมไบบ้าง แกก็ว่าถ้าจะไป making business ให้ไปมุมไบ แต่ถ้าอยากไปเที่ยว แกก็แนะนำให้ไป Goa ดีกว่าเพราะเป็นทะเล สวยมาก แกไปมาและก็เอารูปมาให้ดู สะอาดน่าไปเที่ยวมากเลย แต่ผมก็ไม่วายบอกแกไปว่าถ้าอยากเห็นทะเลสวย ๆ แบบนี้ต้องไปเที่ยวเมืองไทย เพราะเมืองไทยนี่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยว ผมสัญญากับแกไว้ว่าพอกลับมาเมืองไทยแล้วจะส่งรูปทะเลของกระบี่ไปให้แกทาง Email เผื่อแกจะอยากมาเที่ยวบ้าง
มาถึงภาพยนตร์กันต่อดีกว่า ภาพยนต์อินเดียที่ถ่ายทำกันนั้นมีแบ่งออกเป็นหลายภาษา เพราะแต่ละภาษาก็มีภาษาท้องถิ่นของตัวเองเข้าไปอีก เช่น Kanada, Bangla, Telagu, Tamil, Hindi หรือ Marathi ซึ่งเรื่องของการดูภาพยนตร์ในโรงหนังแขกนี้จะมาเล่าให้ฟังในช่วงหลังอีก ฟังมาแค่นี่แล้วก็คงจะเห็นถึงความอลังการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เขาแล้วนะครับ คนอินเดียเขาสนับสนุนภาพยนตร์ของเขาเอง เพราะเอกลักษณ์ของภาพยนตร์อินเดียอย่างหนึ่งก็คือการร้องเพลง และนั่นคือสิ่งที่ผมสงสัยมาตลอด เคยถามเจ้าของร้านหนังแขกที่พาหุรัดว่าทำไมหนังอินเดียจะต้องมีเพลงสลับกันไปตลอดเรื่อง แกก็บอกว่าถ้าไม่มีเพลงหนังก็จะขายไม่ออกสิ... ผมก็พกเอาคำถามนี้มาถามคนอินเดียที่นี่จริง ๆ เลย คนนั้นไม่ใช่ใครที่ไหนครับอาจารย์ของผมเอง แกบอกว่าคนอินเดียเวลาดูหนังก็อยากสนุกสนาน อยากดูอะไรที่เป็น Entertainment ใครจะเข้าไปแล้วออกมาเครียด ๆ ล่ะ.. เอ้อ... ผมก็ว่าจริง อันนี้จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่จะต้องมีเพลงซึ่งทำให้หนังขายได้ แกบอกว่านาน ๆ จะมีหนังอินเดียที่ไม่มีเพลง อย่างเช่นเรื่อง Black นำแสดงโดยราณี มุคเฮอจีกับอมิตาป เรื่องนี้ไม่มีเพลง แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก และถึงแม้ว่าจะเป็นหนังแอคชั่นตามล่าบู๊ล้างผลาญกันทั้งเรื่อง แต่ก็ยังอุตส่าห์มีเพลงโผล่ออกมาอีกจนได้
ผมเคยดูอยู่เรื่องหนึ่งนั่งดูจนจบ CD แผ่นแรกแล้วยังไม่มีแววว่าจะมีเพลงเลยเพราะไม่มีบทจีบ กันกะว่านี่คงเป็นหนังอินเดียเรื่องแรกที่ไม่มีเพลง ที่ไหนได้พอขึ้นแผ่นสองเท่านั้นล่ะ พระเอกฝันว่าได้เต้นรำกับสาวสวยนั่นล่ะครับ 1 เพลงของหนังเรื่องนั้น เมื่อพูดถึงหนังแอ็คชั่นแล้วก็ขอเล่าต่ออีกสักหน่อย หนังแอ็คชั่นของอินเดียนี้พระเอกจะเก่งกว่าปกติ เพราะความเป็นจริงทำไม่ได้ถึงขนาดนั้น แต่ในหนังทำได้ ถ้าใครได้ดูอาจจะบอกว่าโอเว่อร์ แต่ก็สนุกไปอีกแบบ เช่น ถีบทีเดียวกระเด็นไปชนกระจกรถแตกกระจายก็มี หรือ ตัวร้ายยิงมาหลายนัด ไม่โดนพระเอกสักนัดเลย แต่พอพระเอกยิงโป้งเดียวจอดเลยก็มีให้เห็นบ่อย ถ้าจะลองหามาดูมันส์ ๆ ก็น่าสนใจนะครับ อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพูดก็คือเรื่องของดาราอินเดีย ถ้าเป็นดาราชายจะใช้คำว่าหล่อก็คงจะไม่พอ ขนาดผู้ชายด้วยกันอย่างผมก็ยังคิดเลยครับว่าเขาเกิดมาเพื่อเป็นดาราโดยเฉพาะ ดาราอินเดียบางคนขึ้นทำเนียบผู้ชายที่หล่อที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ก็มี (อันดับ 7 ของโลก Salman Khan) ที่นี่เขาเรียกว่าเป็น Well-dressed Man คือ ผู้ชายที่แต่งตัวยังไงก็ดูดี
ยิ่งถ้าเป็นดาราผู้หญิงด้วยแล้วจะว่าสวยก็คงไม่พอ เพราะขนาดคว้ารางวัลนางงามมาหลายเวทีแล้วก็มีให้ได้ยินบ่อยไป เช่น Ashawarya Rai หรือ Samenta Sen นอกจากนี้ยังมีดาราอีกหลาย ๆ คนที่ขนาดคนไทยบางคนยังพูดเลยว่า "สวยถึงขนาดถ้ามองมาทางเขาก็แทบจะตกเก้าอี้กันเลย" ก็มี แต่ถ้าเรามาเดินตามถนนอาจจะไม่เห็นสาวอินเดียที่สวยระดับดาราบ่อยนัก
อยู่บังกาลอร์นี่ผมเดินถนน M.G. กับ Brigade อยู่ทุกวัน เจอสาวแขกที่สวย ๆ ตามคม ๆ จมูกโด่งแบบระดับดาราก็นับครั้งได้ แต่ถ้าท่านอยากรู้ว่าสวยแค่ไหน ลองหาหนังอินเดียมาดูสักเรื่องสิครับ นอกจากนี้ มนต์เสน่ห์ของหนังอินเดียไม่ได้อยู่ที่ดาราอย่างเดียวครับ ประเพณีและวัฒนธรรมของเขาก็ไม่ต่างไปจากเรา และบอกได้ว่าเขาให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวมาก และก็ไม่ค่อยมีหนังอินเดียที่ทำออกมาในแนวเซ็กซ์โจ่งครึมหรือเชิงยั่วเย้าอารมณ์ออกมาให้เห็น จะมีก็แต่การเต้นที่จะแต่งตัวกันอร้าอร่ามและแดนซ์กันอย่างสุดเหวี่ยงตามจังหวะเพลง ก็อาจเป็นไปได้ว่าสังคมของเขาไม่ยอมรับในเรื่องนี้ ซึ่งก็แปลกนะครับที่สังคมไทยกลับรับเรื่องนี้กันได้ หนังที่เกี่ยวกับเซ็กต์ที่ผลิตโดยคนไทยหรือนำเข้าจากต่างประเทศที่พูดถึงแต่เรื่องบนเตียงทั้งเรื่องก็มีมาให้เห็นกันบ่อย และเด็ก ๆ ที่เป็นเยาวชนก็ยังสามารถตีตั๋วเข้าไปดูหรือหาซื้อ CD มาดูได้อีก เราก็ไม่รู้นะครับว่าอนาคตของเยาวชนจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าคนไทยจะยอมรับกันได้หรือทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับเรื่องพวกนี้ได้แล้วจะไปแก้ไขเอาดาบหน้ากันก็ตามใจ
มาฟังเรื่องหนังอินเดียกันต่อดีกว่า ผมจะเล่าให้ฟังถึงเนื้อเรื่องของหนังอินเดียบางเรื่องที่สอนให้รู้จักรักครอบครัว รู้ผิดชอบชั่วดี และสอนให้รู้ถึงหัวอกพ่อแม่ อย่างเรื่อง Saathiya ก็เป็นเรื่องของหนุ่มสาวที่แอบหนีไปแต่งงานกันอยู่กินกัน โดยที่พ่อแม่ไม่ยอมรับ ทัดทานก็แล้วแต่ไม่ฟัง นำแสดงโดยราณี มุกเฮอจีกับวิเวก โอเบอรอย เรื่องนี้สอนได้ดีเลยครับ เพราะฝ่ายหญิงตัดสินใจไปอยู่กับผู้ชายโดยออกจากบ้านไปทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าเราเข้ากันไม่ได้ ผู้ชายกลายเป็นคนอารมณ์ร้อนและไม่รู้จักทนุถนอมความรักจนกระทั่งเกือบจะสูญเสียคนรักไป หนังเรื่องนี้ถ้าจำไม่ผิดมีบริษัทของคนไทยเอามาพากย์ไทยจำหน่ายแล้วครับ ลองหาดูตามร้านขาย CD หนังอินเดียได้ ตอนจบก็ Happy Ending ครับ
สำหรับอีกเรื่องหนึ่งที่ฮือฮาในวงการหนังแขกของไทยนำแสดงโดยดาราเจ้าบทบาทอย่างคาโจล, อมิตาบ, ชารุข่าน, การีน่า และหรีติกก็คือ "Khabi Khushi Khabi Gham" ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องความรักของพ่อและแม่ คนไทยหลาย ๆ คนที่เคยดูจะต้องบอกต่อกันว่า ถ้าใครที่ดูหนังเรื่องนี้แล้วไม่ร้องไห้นะ ให้มาว่ากันได้เลย เนื่องเรื่องจะเกี่ยวกับความรักและความผูกพันของครอบครัว ซึ่งได้แยกแตกกัน แต่ความสัมพันธ์ของแม่ลูกนั้นยังตามติดถึงกันอยู่เสมอ เพราะฝีมือการแสดงของดาราทุกคนนั้นเข้าถึงอารมณ์ของคนดูจนแทบจะคล้อยตามไปได้เลย สุดท้ายหนังก็จบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง
สำหรับหนังที่ให้คติสอนใจก็มีหลายเรื่อง เช่น Munna Bhai นำแสดงโดยซันเจ ดัต (Sanjay Dutt) เป็นเรื่องของคน ๆ หนึ่งที่บอกพ่อแม่ว่าจะเข้ามาเรียนหมอ แต่กลับมาเป็นมาเฟีย จับคนมาเรียกค่าไถ่ พอพ่อแม่รู้เข้าก็เสียใจ ทำให้เขาต้องหาทางไปเรียนและจบมาเป็นหมอให้ได้โดยการโกงข้อสอบเข้าไป แต่สุดท้ายเมื่อเพื่อนตัวเองที่เป็นคนไข้กำลังจะตายและต้องการให้เขาช่วย เขากลับทำอะไรไม่ได้เลย เพราะไม่มีความรู้ด้านการแพทย์ จึงมองดูเพื่อนตัวเองตายไปต่อหน้าต่อตา ด้วยความเสียใจ เขาเลยรับสารภาพและบอกความจริงกับทุก ๆ คนในโรงพยาบาล และสุดท้ายหนังเรื่องนี้จบลงอย่างมีความสุขกันพร้อมหน้าทุกคน
สำหรับดาราที่คนไทยชอบกันมากก็เห็นจะเป็นชารุข่าน (พระเอกอโศกมหาราช) ที่อินเดียนี่ก็ถือว่าเป็นระดับซุปเปอร์สตาร์คนหนึ่งเลยทีเดียว ตอนที่ผมอยู่นี้ก็มีหนังชารุข่านออกมาหลายเรื่อง และก็มีช่วงหนึ่งที่ชารุข่านมาบังกาลอร์ มาเปิดการแสดงและก็มีดาราหลาย ๆ คนมาร่วมจอย อย่างเช่น Zayed Khan หรือ Lara Dutta ก็มาด้วย ได้ข่าวถึงขนาดที่ Chinanaswamy Stadium ไม่มีที่นั่งและที่ยืนกันเลย บางคนซื้อตั๋วมาแล้วแต่ก็ไม่ได้เข้า และราคาตั๋วนี่ก็แพงมากจนเหลือเชื่อ นอกจากนี้ ชารุข่านก็มาเป็นผู้กำกับหนังเรื่อง KAAL กับการันโจฮา ซึ่งเกี่ยวกับการผจญภัยในป่าก็ออกมาในช่วงนี้ด้วย ถ้าสนใจก็ลองหาซื้อมาชมได้
การหาซื้อหนังอินเดียในบังกาลอร์นี้ไม่ยากครับ เพราะข้าง ๆ ทางหรือในห้างก็จะมีร้านขายกันเยอะ เช่นร้าน Music World เป็นต้น แต่เราคงฟังภาษาฮินดีไม่ออกแน่นอน เลยต้องหา DVD ที่มี Subtitle เป็นภาษาอังกฤษมาแทน เปิดดูกับคอมพิวเตอร์ก็ได้ ถ้าหนังใหม่ ๆ ก็จะอยู่ที่ Rs.499 ถ้าหนังหลายปีมาแล้วก็ราคา Rs.299 หรือ Rs.199 ก็มี เป็นมาสเตอร์แท้ ๆ ไม่มีแผ่นปลอมมาวางขายกัน และพอหนังออกมาเป็น VCD/DVD ก็จะมี CD และเทปเพลงออกมาด้วย ใจหนึ่งผมก็อยากซื้อหนังมาดู เพราะอย่างน้อยดูได้หลายครั้ง แต่คิดไปคิดมา DVD มันแพงจังเลย อยากไปแบบว่า Copy น่ะ...มีมั้ย... ไม่กล้าไปถามใคร เราก็ไม่คิดว่าที่อินเดียจะมีพวก Copy กันหรอก จนกระทั่งไปเดินเที่ยวที่ Ghandi Nagar แค่นั้นล่ะจึงได้รู้ว่าที่นี่ก็มีแหล่ง CD/DVD เถื่อนเหมือนกัน ไม่อยากพูดมาก เดี๋ยวจะหาว่าแนะนำ แต่ก็ขอสักหน่อยแล้วกัน ถ้าไปเดินเที่ยวที่ Ghandi Nagar แถบ ๆ Sapna Book house (บอกให้ออโต้พาไปก็ได้) แถว ๆ นั้นจะมีหลายตรอก มีร้านขายเครื่องเล่น CD/DVD ราคาถูก แต่ไม่แน่ใจคุณภาพนะคับ ผมเคยไปดูที่บ้านเพื่อน ยี่ห้อแปลก ๆ ดู ๆ ไปติดขัดตลอดเรื่องก็มี หัวอ่านที่เขาใช้อาจจะไม่ได้มาตรฐานเหมือนบ้านเรา แต่บางร้านก็เป็นสินค้านำเข้าครับ ลองทายสิครับว่านำเข้าจากประเทศไหน? ….. คำตอบก็คือ Bangkok ครับ นำเข้าจากบ้านเรานี่เอง และแถว ๆ นี้ก็จะมีหลาย ๆ ร้านขายเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ และก็ร้านขาย VCD/DVD หนังให้เลือกเยอะมาก มีทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นหนัง DVD อินเดีย, หรือหนัง Hollywood แบบว่ารวมทุกเวอร์ชั่น เช่น หนังของจิมแครี่ 3 เรื่องใน 1 แผ่น, Harry Potter 3 in 1 หรือบางแผ่นเป็นแผ่นรวมหนังบู๊ทั้งแผ่น ผมยังเห็นเรื่ององค์บากของไทยเลย เอามาขายที่นี่ด้วย ต้องบอกว่าหนังไทยเรื่องนี้สุดยอดและโดดเด่นมากครับ การไปเลือกซื้อแผ่น DVD แบบนี้ก็ตัวใครตัวมันนะครับ เลือกกันเอาตามใจชอบ (อย่าบอกว่า "ผมบอก" นะครับ) ถ้าบอกราคาต่อแผ่นไปก็คงจะตกใจ แผ่นละไม่เกิน Rs. 150 ครับ....
การดูหนัง DVD อินเดียหรือหนังฝรั่งเพื่อฝึกการอ่าน Subtitle จากหนังแขก หรือจะฝึกฟังสนทนาจากหนังฝรั่งก็ช่วยพัฒนาภาษาของท่านได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยความที่อยากรู้ว่าเขาพูดว่าอะไร เรื่องมันจะเป็นยังไงต่อ พระเอกจะบอกความจริงกับนางเอกหรือเปล่าเขาจะได้เลิกเข้าใจผิดซะที แบบนี้ถ้าฝึกบ่อย ๆ จะช่วยให้เราอ่านจับใจความได้เร็วขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้าอยู่เมืองไทยจะลองไปหาซื้อหนังอินเดียแบบ English Subtitle จากพาหุรัดก็ได้ครับ มีให้เลือกหลายเรื่อง แต่ถ้าดูแล้วติดใจเลิกดูหนังฝรั่งไปเลยก็อย่ามาว่ากันนะ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
อินเดีย-20 : พอสะกดผิดแล้วตลกไปเลย
พอสะกดผิดแล้วตลกไปเลย
อันนี้เป็นเรื่องของการสะกดคำภาษาอังกฤษครับ มาตรฐานด้านภาษาอังกฤษของอินเดียนี่เทียบเท่ากับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษหลาย ๆ ที่เลย นาน ๆ อาจจะเจอบ้างเลยหยิบมาเล่าสู่กันฟังสนุก ๆ อย่างมีอยู่ร้านหนึ่งเป็นร้านขายอาหาร เขียนป้ายหน้าร้านว่า Chicken Boiler คือ ดูแล้วก็พอรู้ได้นะครับว่าต้องเกี่ยวกับ Chicken แต่ก็ไม่รู้ว่าเขาคนขายต้องการจะสื่อให้เป็น Boiler หรือควรจะเป็น Broiler ซึ่งคำที่สองนั้นน่าจะเหมาะมากกว่า บางร้านก็เขียนสลับกัน เช่น ร้านตัดผม Hair Saloon เขียนเป็น "Hari Cutting Saloon" หรืออย่างร้านซ่อมโซฟาเขียนข้าง ๆ ผนังด้านนอกร้านว่า "Sofa repares done here" เวลาเดินทางไปไหนในอินเดียการดูป้ายพวกนี้ก็เพลินดีครับ ท่านจะได้คำศัพท์ใหม่ ๆ เยอะ เช่น ด้านหน้ารถบรรทุกคันใหญ่ ๆ บางคันเขียนว่า "Goods Career" ติดใจอีตรงคำว่า Goods ที่แปลว่าของซื้อของขาย มันมาอยู่กับคำว่า Career ได้อย่างไร พอไปเจอคันอื่น ๆ เขียนว่า "Goods Carrier" ก็เลยถึงบางอ้อว่า มันควรจะใช้ Carrier ที่แปลว่าเคลื่อนย้ายมากกว่า ถ้าในเมืองใหญ่ ๆ อย่างบังกาลอร์นี่คงจะพบได้ไม่บ่อยนัก ในเรื่องของการสะกดคำ แต่ถ้าไปไกล ๆ หน่อย แถบ ๆ ชานเมืองมาก ๆ อย่างตอนที่ไปนมัสการสังเวชนียสถานเมื่อหลายปีก่อนก็ขอหยิบมาเพิ่มเติมหน่อยแล้วกัน คำที่ว่านี้ก็พอที่สถานีรถไฟแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ ร้านขาย "Kold drinks" ที่นี่มี "Juses" ขายหลายอย่างครับ ไม่ว่าจะเป็น "Painapple", "Vatamelon", "oranj" หรืออย่าง "Frut slad" ก็มี ดู ๆ ไปเหมือนกับเขาเอาภาษาของเขามาปนกับอังกฤษอย่าง oranj นี่แทนที่จะเป็น ge ก็เป็น j ไปเสียนี่ แต่จะว่าไปนี่เป็นส่วนน้อยครับเมื่อเทียบกับมาตรฐานการศึกษา พบเห็นได้ไม่บ่อยหรอกครับ ที่สำคัญผมดันไปเห็นก็แค่นั้นเองเลยนำมาเล่าให้ฟังสนุก ๆ ยิ่งในหนังสือพิมพ์หรือวารสารด้วยแล้ว ยากที่จะพบการสะกดคำแบบไม่ถูกต้อง แต่ก็ยังอุตส่าห์ไปเจออยู่เล่มหนึ่งก็คือหนังสือพิมพ์ DECCAN HERALD ถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์ของเมืองบังกาลอร์ที่ได้รับความนิยมมาก สไตล์ของภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นมาตรฐานเลยทีเดียว ที่ว่านี้เป็นหนังสือพิมพ์ของวันที่ 23 มีนาคม 2005 วรรคหนึ่งเขียนว่า "The state government was fully committed to honour all the suggestions of committee……" ผมหยิบประโยคนี้มาถามอาจารย์ว่าควรจะเป็น committed to honouring หรือไม่ เพราะตามหลัง committed นั้นเป็น preposition (to) ตามหลัง to ในกรณีนี้ควรจะเป็น Gerund มากกว่า อย่างเช่นประโยคว่า Will you commit yourself to finishing on time? อันนี้คิดว่าคงจะหลุดรอดสายตาบรรณาธิการมา แต่ประโยคอื่น ๆ ก็โอเคครับ เช่น ที่ถูกน่าจะเป็นอย่างนี้ครับ "Chinese commitment to removing poverty and its people oriented policies…." เล่าสู่กันฟังครับ จากความที่เป็นคนชอบมองป้าย เลยเจอพวกนี้บ่อย
อันนี้เป็นเรื่องของการสะกดคำภาษาอังกฤษครับ มาตรฐานด้านภาษาอังกฤษของอินเดียนี่เทียบเท่ากับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษหลาย ๆ ที่เลย นาน ๆ อาจจะเจอบ้างเลยหยิบมาเล่าสู่กันฟังสนุก ๆ อย่างมีอยู่ร้านหนึ่งเป็นร้านขายอาหาร เขียนป้ายหน้าร้านว่า Chicken Boiler คือ ดูแล้วก็พอรู้ได้นะครับว่าต้องเกี่ยวกับ Chicken แต่ก็ไม่รู้ว่าเขาคนขายต้องการจะสื่อให้เป็น Boiler หรือควรจะเป็น Broiler ซึ่งคำที่สองนั้นน่าจะเหมาะมากกว่า บางร้านก็เขียนสลับกัน เช่น ร้านตัดผม Hair Saloon เขียนเป็น "Hari Cutting Saloon" หรืออย่างร้านซ่อมโซฟาเขียนข้าง ๆ ผนังด้านนอกร้านว่า "Sofa repares done here" เวลาเดินทางไปไหนในอินเดียการดูป้ายพวกนี้ก็เพลินดีครับ ท่านจะได้คำศัพท์ใหม่ ๆ เยอะ เช่น ด้านหน้ารถบรรทุกคันใหญ่ ๆ บางคันเขียนว่า "Goods Career" ติดใจอีตรงคำว่า Goods ที่แปลว่าของซื้อของขาย มันมาอยู่กับคำว่า Career ได้อย่างไร พอไปเจอคันอื่น ๆ เขียนว่า "Goods Carrier" ก็เลยถึงบางอ้อว่า มันควรจะใช้ Carrier ที่แปลว่าเคลื่อนย้ายมากกว่า ถ้าในเมืองใหญ่ ๆ อย่างบังกาลอร์นี่คงจะพบได้ไม่บ่อยนัก ในเรื่องของการสะกดคำ แต่ถ้าไปไกล ๆ หน่อย แถบ ๆ ชานเมืองมาก ๆ อย่างตอนที่ไปนมัสการสังเวชนียสถานเมื่อหลายปีก่อนก็ขอหยิบมาเพิ่มเติมหน่อยแล้วกัน คำที่ว่านี้ก็พอที่สถานีรถไฟแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ ร้านขาย "Kold drinks" ที่นี่มี "Juses" ขายหลายอย่างครับ ไม่ว่าจะเป็น "Painapple", "Vatamelon", "oranj" หรืออย่าง "Frut slad" ก็มี ดู ๆ ไปเหมือนกับเขาเอาภาษาของเขามาปนกับอังกฤษอย่าง oranj นี่แทนที่จะเป็น ge ก็เป็น j ไปเสียนี่ แต่จะว่าไปนี่เป็นส่วนน้อยครับเมื่อเทียบกับมาตรฐานการศึกษา พบเห็นได้ไม่บ่อยหรอกครับ ที่สำคัญผมดันไปเห็นก็แค่นั้นเองเลยนำมาเล่าให้ฟังสนุก ๆ ยิ่งในหนังสือพิมพ์หรือวารสารด้วยแล้ว ยากที่จะพบการสะกดคำแบบไม่ถูกต้อง แต่ก็ยังอุตส่าห์ไปเจออยู่เล่มหนึ่งก็คือหนังสือพิมพ์ DECCAN HERALD ถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์ของเมืองบังกาลอร์ที่ได้รับความนิยมมาก สไตล์ของภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นมาตรฐานเลยทีเดียว ที่ว่านี้เป็นหนังสือพิมพ์ของวันที่ 23 มีนาคม 2005 วรรคหนึ่งเขียนว่า "The state government was fully committed to honour all the suggestions of committee……" ผมหยิบประโยคนี้มาถามอาจารย์ว่าควรจะเป็น committed to honouring หรือไม่ เพราะตามหลัง committed นั้นเป็น preposition (to) ตามหลัง to ในกรณีนี้ควรจะเป็น Gerund มากกว่า อย่างเช่นประโยคว่า Will you commit yourself to finishing on time? อันนี้คิดว่าคงจะหลุดรอดสายตาบรรณาธิการมา แต่ประโยคอื่น ๆ ก็โอเคครับ เช่น ที่ถูกน่าจะเป็นอย่างนี้ครับ "Chinese commitment to removing poverty and its people oriented policies…." เล่าสู่กันฟังครับ จากความที่เป็นคนชอบมองป้าย เลยเจอพวกนี้บ่อย
อินเดีย-21 : เดินทางในอินเดีย
เดินทางในอินเดีย
การเดินทางไปไหนมาไหน ถ้าจะให้ประหยัดก็ต้องไปรถบัสครับ ท่านอาจจะได้ยินแว่ว ๆ มาว่ารถบัสในอินเดียนี่กระเป๋า (Conductor) โหดมาก ในบังกาลอร์นี่ไม่เห็นเป็นดังว่าเลย ผมขึ้นมาก็หลายคัน ไม่เห็นเขาเรื่องมากกับผมเลยสักนิดเดียว อย่าไปวุ่นวายกับเขาก็แล้วกัน การขึ้นรถบัสที่นี่ต้องดูเส้นทางให้ดี ถ้าเราไปบ่อย ๆ เราก็เตรียมเงินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อขึ้นไปก็บอกเขาว่าไปที่นี่ ๆ นะ ให้เงินเขาก็จะให้ตั๋วมา ถ้าไปคนเดียวครั้งแรกก็ต้องใจกล้า ๆ หน่อย เพราะขึ้นไปก็จะมีแต่คนมอง คนไทยเราจะหน้าขาว ๆ เกลี้ยง ๆ แต่แขกนี้จะคล้ำ ๆ และมีหนวด ดังนั้น เลยอาจจะดูแปลกตาเวลาทำอะไรบนรถ แต่ดีหน่อยที่ผมเป็นคนมีเครา เลยไม่ค่อยมีคนสนใจ (ว่าไปนั่น)
การขึ้นรถบัสครั้งแรกในบังกาลอร์ของผมก็ตอนที่ไปเที่ยวกับเจวัน (Jaivanth) เพื่อนที่โรงเรียน ชวนผมไปเที่ยวบ้าน เลยได้โอกาสขึ้นรถบัสก็ตอนนั้นล่ะ พอขึ้นได้ครั้งแรก หลัง ๆ ก็ขึ้นบ่อยเลยครับ ก่อนขึ้นดูที่ป้ายรถให้ดี จะมีป้าย Bus Route บอกเส้นทางของแต่ละสายว่าจะไปที่ไหน เราขึ้นไปยื่นตังค์และก็บอกเขาแค่นี้ก็เรียบร้อย พอใกล้ ๆ ดูดี ๆ กระโดดลงให้ทันก็แล้วกัน ครั้งแรกที่ขึ้นรถกับเจวัน เขาแปลกใจมากเลยที่ผมขึ้นรถบัสไว ผมก็บอกว่าอยู่เมืองไทยขึ้นรถบัสแบบนี้บ่อย โหนอยู่ทุกวันเลยคล่องเป็นพิเศษ ค่ารถบัสนี่ก็ไม่แพง ระยะทางไกล ๆ ก็แค่ 5 รูปี ถ้าใกล้ ๆ หน่อยก็ 2 รูปี แล้วแต่ระยะทาง ผมนั่งก็แค่วันละ 5 รูปี ถ้านั่งออโต้ก็ปาเข้าไป 15-20 รูปี นั่งรถบัสก็จะได้บรรยายกาศไปอีกแบบครับ อันนี้ไปทดลองกันดูได้
นอกจากรถบัสแล้ว การนั่งรถออโต้นี่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่รู้เส้นทางของรถบัส และถ้าต้องการการเดินทางง่าย ๆ รวดเร็ว นั่งออโต้จะดีกว่า รถออโต้ หรือ ออโต้ริคซอว์ (Auto Rickshaw) เป็นรถสามล้อเหมือนกับตุ๊ก ๆ บ้านเรา ใช้แก๊สเป็นหลัก พอแก๊สหมดก็หยุดเปลี่ยนกันข้างถนนและก็ไปต่อ ค่ารถออโต้นี่ 2 กิโลแรกจะ 10 รูปี จากนั้นทุก ๆ 100 เมตรจะคิด .50 รูปี ถ้านั่งไป 3 กิโลก็จะเสีย 15 บาท แพงเอาเรื่องเหมือนกัน ที่อินเดียนี่เชื้อเพลิงราคาแพง รถออโต้นี่จะใช้แก๊ส ถังละประมาณ 250 รูปี วิ่งได้ประมาณ 200 กิโลเมตร คนขับออโต้บางคนอาจจะควบได้ไกลกว่านั้น พวกนี้จะมีเทคนิคครับ บ้างก็ดับเครื่องเวลาจะถึงที่ หรือลงเนินก็มี ราคาน้ำมันเบนซินที่นี่ลิตรละ 45 รูปี (ประมาณ 40-43 บาทในตอนนั้น) เห็นอย่างนี้คิดถึงเมืองไทยขึ้นมาทันที ถึงแม้ว่าน้ำมันจะแพง แต่ก็มีรถวิ่งกันขวักไขว่ปาดไปปาดมาเต็มถนนทุกวัน ยิ่งวันเสาร์-อาทิตย์นี่ไม่ต้องพูดถึง สาย ๆ หน่อยไม่รู้รถมาจากไหน ติดกันกระจายเลย
เทคนิคการนั่งรถออโต้ที่บังกาลอร์นี่ไม่ยากครับ ทำตัวซอมซ่อ ๆ เข้าไว้ หนวดเคราไม่ต้องไปโกน คือ อย่าพยายามทำตัวให้ดูรวย ไม่งั้นจะโดนชาร์จกันสุด ๆ แต่ถ้าเรารู้ทางแล้วล่ะก็ไม่ต้องไปง้อเลยครับ ถ้าตำรวจอยู่ใกล้ ๆ มีปัญหาก็เรียกได้เลย เพราะที่นี่มีกฏบังคับให้ใช้มิเตอร์ ไม่เหมือนบางรัฐอย่างเชนไน (Chennai) ที่มีมิเตอร์เอาไว้ประดับเท่านั้น ถ้าออโต้เรียกราคาสูง และไม่ยอมเปิดมิเตอร์ เราก็ต้องยืนกรานจะเอามิเตอร์ให้ได้ ถ้าไม่ยอมก็ไปหาคันใหม่หรือโบกเอาแถว ๆ นั้นได้เลย มิเตอร์ในบังกาลอร์นี่มีอยู่กว่า 30% ของท้องถนน (ประมาณเอานะครับ) ลองมองในถนนเถอะครับ เห็นหลังคาเหลือง ๆ เพียบ ดังนั้นถ้าออโต้คันไหนไม่เปิดมิเตอร์ก็ไม่ต้องง้อเลย พวกเขาเห็นเราไม่ใช่คนอินเดียจะชาร์จครับ ถ้าเราเถียงเขาก็จะยกเหตุผลต่างต่างนานา อย่างถ้าไปโบกตอนเช้า ๆ เขาจะให้เหตุผลว่ายังเช้าอยู่ เลยขอ 50 รูปีอย่างงี้ก็มี (ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย) บ้างก็ว่าไปที่นั่นแล้วไม่มีคนตอนขากลับนี่ก็จะได้ยินบ่อย ขอ 40 รูปี อย่างนี้มันไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรานี่ เหตุผลข้างๆ คูๆ แบบนี้มีแต่แขกที่จะยกมาได้ ซึ่งๆ หน้าเลย ถ้าเปิดมิเตอร์จริง ๆ แล้วจะจ่ายแค่ 12-15 รูปีเอง ผมนั่งไปแถว ๆ ทะเลสาบอัลซุลทุกวัน ไม่เคยเกิน 15 รูปี ดังนั้น เมื่อเรารู้ราคาและระยะทางที่แน่นอนแล้ว ก็เถียงกลับไปได้ ถ้าไม่เอาก็บ๊ายบายไปเลย บางคันตกลงราคากันแล้วไปถึงที่เรียกเพิ่มก็มี พอเราจ่ายตามมิเตอร์แล้วก็หายไปเลย
แต่ถ้าใครที่พูดจาดี ๆ คุยกับเราดี ๆ ไม่โกงเราก่อนอันนี้ก็ให้เพิ่มได้เป็นสินน้ำใจครับ อย่าง 16.5 รูปี อาจจะให้ไปเลย 20 รูปีเลยก็ได้ ถ้าท่านรู้ทางแล้วล่ะก็ท่านก็บอกออโต้ได้ บางคันจะพาวนให้มิเตอร์เพิ่ม ผมเจอจัง ๆ หลายครั้งเลย เห็นต่อหน้าต่อตาเลยว่าพาเราวน เพราะเราเป็นคนต่างชาติ ไม่รู้เส้นทางเหมือนมัน ทางมันขนานกัน และเขาไม่มาทางนี้กัน พอเห็นอย่างนี้ก็ต้องสะกิดเลย และก็บอกว่าทำไมมาทางนี้ มันวกรถกลับทันที พอพวกนี้เห็นว่าเรารู้ทางก็จะไม่มาตลกกับเราอีก เขาจะพาเราไปแต่โดยดี นี่ล่ะครับ เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับคนต่างชาติ ดังนั้นคนไทยเราต้องใส่เขี้ยวกันหน่อยล่ะ อยู่ที่นี่เดือนแรกค่อนข้างน่าเบื่อที่จะไปไหนมาไหน เพราะจะต้องบอกกับคนขับออโต้ทุกวันเพื่อให้เปิดมิเตอร์เพราะพอเห็นหน้าเราขาว ๆ ใส่เสื้อยืด บางวันโบกตั้ง 4-5 คัน กว่าจะเจอคันที่ยอมเปิดมิเตอร์ให้ หลัง ๆ พอเริ่มรู้แกวเลยต้องแต่งตัวซอมซ่อ ๆ หน่อย จะทำให้การซื้อของหรือต่อราคาทำได้ง่ายขึ้น อันนี้ทดลองมาแล้วใช้ได้น่นอน ไม่โกนหนวด และทำตัวซอมซ่อเข้าไว้ ไม่หลุกหลิกมองซ้ายขวาเหมือนกับนักท่องเที่ยว สองเดือนหลังผมไม่มีปัญหากับออโต้เลย โบกปั๊บก็ได้เลย ยอมเปิดมิเตอร์ จะมีก็บางวันที่ต้องใช้วิชามารหน่อย จะไม่ให้ใช้ได้ยังไงครับ ก็เจออีกแบบนี้ทุกวันเลย... เฮ้อ....
การเดินทางไปไหนมาไหน ถ้าจะให้ประหยัดก็ต้องไปรถบัสครับ ท่านอาจจะได้ยินแว่ว ๆ มาว่ารถบัสในอินเดียนี่กระเป๋า (Conductor) โหดมาก ในบังกาลอร์นี่ไม่เห็นเป็นดังว่าเลย ผมขึ้นมาก็หลายคัน ไม่เห็นเขาเรื่องมากกับผมเลยสักนิดเดียว อย่าไปวุ่นวายกับเขาก็แล้วกัน การขึ้นรถบัสที่นี่ต้องดูเส้นทางให้ดี ถ้าเราไปบ่อย ๆ เราก็เตรียมเงินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อขึ้นไปก็บอกเขาว่าไปที่นี่ ๆ นะ ให้เงินเขาก็จะให้ตั๋วมา ถ้าไปคนเดียวครั้งแรกก็ต้องใจกล้า ๆ หน่อย เพราะขึ้นไปก็จะมีแต่คนมอง คนไทยเราจะหน้าขาว ๆ เกลี้ยง ๆ แต่แขกนี้จะคล้ำ ๆ และมีหนวด ดังนั้น เลยอาจจะดูแปลกตาเวลาทำอะไรบนรถ แต่ดีหน่อยที่ผมเป็นคนมีเครา เลยไม่ค่อยมีคนสนใจ (ว่าไปนั่น)
การขึ้นรถบัสครั้งแรกในบังกาลอร์ของผมก็ตอนที่ไปเที่ยวกับเจวัน (Jaivanth) เพื่อนที่โรงเรียน ชวนผมไปเที่ยวบ้าน เลยได้โอกาสขึ้นรถบัสก็ตอนนั้นล่ะ พอขึ้นได้ครั้งแรก หลัง ๆ ก็ขึ้นบ่อยเลยครับ ก่อนขึ้นดูที่ป้ายรถให้ดี จะมีป้าย Bus Route บอกเส้นทางของแต่ละสายว่าจะไปที่ไหน เราขึ้นไปยื่นตังค์และก็บอกเขาแค่นี้ก็เรียบร้อย พอใกล้ ๆ ดูดี ๆ กระโดดลงให้ทันก็แล้วกัน ครั้งแรกที่ขึ้นรถกับเจวัน เขาแปลกใจมากเลยที่ผมขึ้นรถบัสไว ผมก็บอกว่าอยู่เมืองไทยขึ้นรถบัสแบบนี้บ่อย โหนอยู่ทุกวันเลยคล่องเป็นพิเศษ ค่ารถบัสนี่ก็ไม่แพง ระยะทางไกล ๆ ก็แค่ 5 รูปี ถ้าใกล้ ๆ หน่อยก็ 2 รูปี แล้วแต่ระยะทาง ผมนั่งก็แค่วันละ 5 รูปี ถ้านั่งออโต้ก็ปาเข้าไป 15-20 รูปี นั่งรถบัสก็จะได้บรรยายกาศไปอีกแบบครับ อันนี้ไปทดลองกันดูได้
นอกจากรถบัสแล้ว การนั่งรถออโต้นี่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่รู้เส้นทางของรถบัส และถ้าต้องการการเดินทางง่าย ๆ รวดเร็ว นั่งออโต้จะดีกว่า รถออโต้ หรือ ออโต้ริคซอว์ (Auto Rickshaw) เป็นรถสามล้อเหมือนกับตุ๊ก ๆ บ้านเรา ใช้แก๊สเป็นหลัก พอแก๊สหมดก็หยุดเปลี่ยนกันข้างถนนและก็ไปต่อ ค่ารถออโต้นี่ 2 กิโลแรกจะ 10 รูปี จากนั้นทุก ๆ 100 เมตรจะคิด .50 รูปี ถ้านั่งไป 3 กิโลก็จะเสีย 15 บาท แพงเอาเรื่องเหมือนกัน ที่อินเดียนี่เชื้อเพลิงราคาแพง รถออโต้นี่จะใช้แก๊ส ถังละประมาณ 250 รูปี วิ่งได้ประมาณ 200 กิโลเมตร คนขับออโต้บางคนอาจจะควบได้ไกลกว่านั้น พวกนี้จะมีเทคนิคครับ บ้างก็ดับเครื่องเวลาจะถึงที่ หรือลงเนินก็มี ราคาน้ำมันเบนซินที่นี่ลิตรละ 45 รูปี (ประมาณ 40-43 บาทในตอนนั้น) เห็นอย่างนี้คิดถึงเมืองไทยขึ้นมาทันที ถึงแม้ว่าน้ำมันจะแพง แต่ก็มีรถวิ่งกันขวักไขว่ปาดไปปาดมาเต็มถนนทุกวัน ยิ่งวันเสาร์-อาทิตย์นี่ไม่ต้องพูดถึง สาย ๆ หน่อยไม่รู้รถมาจากไหน ติดกันกระจายเลย
เทคนิคการนั่งรถออโต้ที่บังกาลอร์นี่ไม่ยากครับ ทำตัวซอมซ่อ ๆ เข้าไว้ หนวดเคราไม่ต้องไปโกน คือ อย่าพยายามทำตัวให้ดูรวย ไม่งั้นจะโดนชาร์จกันสุด ๆ แต่ถ้าเรารู้ทางแล้วล่ะก็ไม่ต้องไปง้อเลยครับ ถ้าตำรวจอยู่ใกล้ ๆ มีปัญหาก็เรียกได้เลย เพราะที่นี่มีกฏบังคับให้ใช้มิเตอร์ ไม่เหมือนบางรัฐอย่างเชนไน (Chennai) ที่มีมิเตอร์เอาไว้ประดับเท่านั้น ถ้าออโต้เรียกราคาสูง และไม่ยอมเปิดมิเตอร์ เราก็ต้องยืนกรานจะเอามิเตอร์ให้ได้ ถ้าไม่ยอมก็ไปหาคันใหม่หรือโบกเอาแถว ๆ นั้นได้เลย มิเตอร์ในบังกาลอร์นี่มีอยู่กว่า 30% ของท้องถนน (ประมาณเอานะครับ) ลองมองในถนนเถอะครับ เห็นหลังคาเหลือง ๆ เพียบ ดังนั้นถ้าออโต้คันไหนไม่เปิดมิเตอร์ก็ไม่ต้องง้อเลย พวกเขาเห็นเราไม่ใช่คนอินเดียจะชาร์จครับ ถ้าเราเถียงเขาก็จะยกเหตุผลต่างต่างนานา อย่างถ้าไปโบกตอนเช้า ๆ เขาจะให้เหตุผลว่ายังเช้าอยู่ เลยขอ 50 รูปีอย่างงี้ก็มี (ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย) บ้างก็ว่าไปที่นั่นแล้วไม่มีคนตอนขากลับนี่ก็จะได้ยินบ่อย ขอ 40 รูปี อย่างนี้มันไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรานี่ เหตุผลข้างๆ คูๆ แบบนี้มีแต่แขกที่จะยกมาได้ ซึ่งๆ หน้าเลย ถ้าเปิดมิเตอร์จริง ๆ แล้วจะจ่ายแค่ 12-15 รูปีเอง ผมนั่งไปแถว ๆ ทะเลสาบอัลซุลทุกวัน ไม่เคยเกิน 15 รูปี ดังนั้น เมื่อเรารู้ราคาและระยะทางที่แน่นอนแล้ว ก็เถียงกลับไปได้ ถ้าไม่เอาก็บ๊ายบายไปเลย บางคันตกลงราคากันแล้วไปถึงที่เรียกเพิ่มก็มี พอเราจ่ายตามมิเตอร์แล้วก็หายไปเลย
แต่ถ้าใครที่พูดจาดี ๆ คุยกับเราดี ๆ ไม่โกงเราก่อนอันนี้ก็ให้เพิ่มได้เป็นสินน้ำใจครับ อย่าง 16.5 รูปี อาจจะให้ไปเลย 20 รูปีเลยก็ได้ ถ้าท่านรู้ทางแล้วล่ะก็ท่านก็บอกออโต้ได้ บางคันจะพาวนให้มิเตอร์เพิ่ม ผมเจอจัง ๆ หลายครั้งเลย เห็นต่อหน้าต่อตาเลยว่าพาเราวน เพราะเราเป็นคนต่างชาติ ไม่รู้เส้นทางเหมือนมัน ทางมันขนานกัน และเขาไม่มาทางนี้กัน พอเห็นอย่างนี้ก็ต้องสะกิดเลย และก็บอกว่าทำไมมาทางนี้ มันวกรถกลับทันที พอพวกนี้เห็นว่าเรารู้ทางก็จะไม่มาตลกกับเราอีก เขาจะพาเราไปแต่โดยดี นี่ล่ะครับ เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับคนต่างชาติ ดังนั้นคนไทยเราต้องใส่เขี้ยวกันหน่อยล่ะ อยู่ที่นี่เดือนแรกค่อนข้างน่าเบื่อที่จะไปไหนมาไหน เพราะจะต้องบอกกับคนขับออโต้ทุกวันเพื่อให้เปิดมิเตอร์เพราะพอเห็นหน้าเราขาว ๆ ใส่เสื้อยืด บางวันโบกตั้ง 4-5 คัน กว่าจะเจอคันที่ยอมเปิดมิเตอร์ให้ หลัง ๆ พอเริ่มรู้แกวเลยต้องแต่งตัวซอมซ่อ ๆ หน่อย จะทำให้การซื้อของหรือต่อราคาทำได้ง่ายขึ้น อันนี้ทดลองมาแล้วใช้ได้น่นอน ไม่โกนหนวด และทำตัวซอมซ่อเข้าไว้ ไม่หลุกหลิกมองซ้ายขวาเหมือนกับนักท่องเที่ยว สองเดือนหลังผมไม่มีปัญหากับออโต้เลย โบกปั๊บก็ได้เลย ยอมเปิดมิเตอร์ จะมีก็บางวันที่ต้องใช้วิชามารหน่อย จะไม่ให้ใช้ได้ยังไงครับ ก็เจออีกแบบนี้ทุกวันเลย... เฮ้อ....
อินเดีย-22 : เรียนอังกฤษในต่างแดนให้ได้ผล
เรียนอังกฤษในต่างแดนให้ได้ผล
ถ้าได้มีโอกาสมาเรียนภาษาแล้ว จะต้องเอาให้คุ้ม อย่างแรกเลยคือเตรียมตัวให้พร้อม ไม่ต้องไปเปลี่ยนนิสัยการทานอาหาร ไม่ใช่ว่าการกินแฮมเบอเกอร์ทุกมื้อจะช่วยให้การเรียนภาษาเราดีขึ้นนะครับ เราจะต้องฝึกบ่อย ๆ ดูแบบพิมพ์ดีดสิครับ พิมพ์แรก ๆ ก็ช้า ติดบ้าง แต่สักพักก็จะดีขึ้นเอง ถ้าเราฝึกบ่อย ๆ หาโอกาสบ่อย ๆ ก็จะช่วยให้พัฒนาการด้านภาษาไปไวขึ้น ผมมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากจากอินเดีย เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ท่านมีความมั่นใจในการใช้ภาษามากขึ้น
1. หาโอกาสพูด
ถ้าท่านได้ลองไปสัมผัสชีวิตเรียบง่ายของคนอินเดียแล้ว ก็จะพบว่าเห็นหน้าดุ ๆ หรือดูสูงอายุ แต่ก็พูดอังกฤษตอบโต้กับเราได้ เด็กตัวเล็ก ๆ จูงน้องมาซื้อของก็ตอบโต้กับเราได้ไม่มีปัญหา คนอินเดียนี่ดูเหมือนว่าเขาพร้อมที่จะคุยกับเราตลอด ดังนั้น นี่คือโอกาสในการฝึกภาษา บังกาลอร์นี้มีร้านขายของเยอะ ร้านหนังสือเอย ขายเสื้อผ้าเอย ฯลฯ คนขายโดยมากจะเป็นผู้ชาย ไม่ค่อยเห็นคนขายผู้หญิงเท่าใดนัก (ไม่เห็นเลยด้วยซ้ำ)
การต่อราคา และการนับเงินทอนเงินก็จะช่วยให้ท่านแม่นเรื่องการนับเลขเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น ไม่เชื่อลองท่อง 1-20 กลับหลังดูสิครับ หรือลองบวกลบเลขเป็นภาษาอังกฤษดู เราจะทำได้ช้ากว่าคนอินเดีย แรก ๆ อาจจะยืนงงกับเงินทอนสักพักแต่เดี๋ยวก็จะดีขึ้น ถ้าฝึกบ่อย ๆ
2. ดูหนัง
การดูหนังเป็นการฝึกการฟังได้ดีครับ ถึงแม้ว่าการดูหนังที่อินเดียราคาจะเท่ากับบ้านเรา ถ้าไปฝึกบ่อย ๆ ก็เอาเรื่องเหมือนกัน ค่าตั๋ว Rs.80 ดูหนังฝรั่งสองเรื่องก็ซัดเข้าไป Rs.160 แล้วครับ อาจจะไม่เห็นผลในวันสองวัน ออกมาจากโรงหนังบางครั้งก็อาจจะยังงงๆ อยู่ บางประโยคสมองเราประมวลผลไม่ทัน อยากจะเลื่อนกลับไปดูแบบ VCD ก็ไม่ได้ ทางออกที่ดีที่สุดและประหยัดด้วยก็คือหา VCD หรือ DVD มาดูครับ เอากลับมาดูที่เมืองไทยก็ได้ แต่ถ้าท่านมีโอกาสเอาคอมพิวเตอร์ตัวเล็ก ๆ ไปด้วยก็หาซื้อมาดูได้
VCD หนังฝรั่งเรื่องหนึ่งราคาไม่แพง แค่ Rs.199 เอง ("เอง" นะครับ) แต่มันสามารถดูกลับไปกลับมาได้หลายรอบ ไม่มี Subtitle ภาษาไทย หรือจะเล่น DVD ก็แค่ไม่กี่ร้อยเอง ซื้อ 5 เรื่องก็ไม่ไหวแล้ว จึงเป็นเหตุให้ผมต้องเดินหาแหล่งขายหนังราคาถูก และโชคดีมากครับ ผมไปเจอแหล่งที่ Ghandhi Nargar ที่นี่มีขาย VCD/DVD ราคาถูก ไม่ใช่แผ่นแท้ครับ จริง ๆ ผมก็ไม่อยากพูดถึงเรื่องนี้ในหนังสือเลย แต่ผมว่ามันจะช่วยให้ท่านฝึกการฟังและการอ่านได้ดีขึ้น เพราะ DVD 1 แผ่นของเขาจะมีหนังฝรั่ง 4-5 เรื่องในแผ่นเดียวกัน ราคาแผ่นละไม่เกิน Rs.150 ดังนั้น ซื้อมา 1 แผ่น เอามาฝึกการฟังภาษาอังกฤษได้ ถ้าฟังไม่ออกก็เปิด English Subtitle ดูว่าเขาพูดว่าอะไร
แรก ๆ ก็เอาหนังที่เราเคยดูมาก่อน เช่น เคยดู Harry Potter จากเมืองไทยมาแล้ว ก็ลองหา DVD หนัง Harry Potter แบบภาษาอังกฤษดูบ้าง ท่านจะได้ตัวอย่างการตั้งประโยคคำถาม การอุทาน และตัวอย่างการใช้ Tense ซึ่งจะสังเกตได้ถ้าดูแบบ English Subtitle สำหรับการเลือกดูหนังนั้น ถ้าต้องการประโยคที่ง่าย ๆ ก็ให้เริ่มจากการดูหนังง่าย ๆ ก่อน เช่น หนังสำหรับเยาวชน (ไม่อยากพูดว่าหนังสำหรับเด็ก) เช่น Harry Potter ประโยคไม่ซับซ้อนมากนัก หรือจะดูหนังที่เป็น 3D ของ Pixal ก็ได้ ประโยคที่ใช้ก็จะเข้าใจง่าย แต่การขยับปากของตัวละครอาจจะไม่เหมือนกับการใช้คนแสดงมากนัก หนังเด็ก ๆ แบบนี้ ภาษาที่ใช้จะเข้าใจได้ง่ายกว่าหนังพวกสืบสวนสอบสวน คือ ต้องขอบอกว่า ถ้าคิดจะฝึกภาษา ฝึกไปเถอะครับ ไม่มีใครหาว่าท่านเป็นเด็กเพราะดูหนังเด็กหรอก เวลาดูก็ให้ออกเสียงตามไปด้วย ก็จะเป็นการฝึกฝนไปในตัวครับ
3. ฝึกฝนจากการอ่าน
การหาซื้อตำรับตำรามานั่งอ่านในเวลาว่าง จะช่วยให้เกิดประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นหนังสืออ่านเล่น เช่น นิยาย หรือตำราเรียน ท่านสามารถฝึกทักษะการอ่านเอาเรื่องได้จากการอ่านนิยาย และนอกจากนี้ การอ่านนิยายที่เอามาทำเป็นหนัง ก็จะเข้าใจได้ง่ายกว่าการอ่านนิยายเรื่องใหม่ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าท่านเคยดูหนังเรื่อง The Incredible มาแล้ว ก็ลองหาหนังสือนิยายเรื่องนี้มานั่งอ่านดู ท่านจะเข้าใจได้เร็วขึ้น จากนั้นค่อยเริ่มจับนิยายเรื่องอื่น นอกจากนี้ การอ่านนิยายจะช่วยให้ท่านเห็นตัวอย่างการใช้ Past Tense ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็น Tense ที่ใช้ในการแต่งนิยาย ที่ท่านอาจจะไม่เคยเห็นจากการอ่านหนังสือ Grammar ทั่วไป
4. ฝึกเขียน Essay
ถ้าท่านเรียนภาษาแบบตัวต่อตัว ท่านสามารถใช้โอกาสนี้ในการฝึกการเขียนได้ เพราะเมื่อท่านเข้าเรียน ท่านอาจจะต้องเขียนรายงาน, เขียนงานวิจัย, บทคัดย่อ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างมากในการฝึกการเขียน ท่านอาจจะตกลงกับผู้สอนว่าจะเอางานเขียนมาให้ตรวจ, หรือจะลองเขียน Essay, นิยาย, หรือเขียนเรื่องราวย่อ ๆ ของภาพยนตร์ที่ท่านเคยดู เป็นต้น เมื่อฝึกเขียนบ่อย ๆ แล้ว ก็ลองสังเกตตัวเองในเวลาสนทนาดูว่าท่านใช้ Tense ได้ถูกต้องมั้ยในเวลาเล่าเรื่องหรือพูดถึงอดีต บางครั้งในหนังสือ Grammar ก็ไม่มีตัวอย่างที่ชัดเจนนักในเรื่องของ Past Continuous (was/were + Ving) แต่ท่านจะไปประโยคแบบนี้บ่อย ๆ จากนิยาย หรือถ้าท่านเขียนเรื่องราวเป็น Essay ท่านก็จะพบตัวอย่างที่เหมาะสม และมันจะทำให้ท่านจำได้ว่าสถานการณ์แบบไหนควรหยิบใช้ Tense ใด
ถ้าได้มีโอกาสมาเรียนภาษาแล้ว จะต้องเอาให้คุ้ม อย่างแรกเลยคือเตรียมตัวให้พร้อม ไม่ต้องไปเปลี่ยนนิสัยการทานอาหาร ไม่ใช่ว่าการกินแฮมเบอเกอร์ทุกมื้อจะช่วยให้การเรียนภาษาเราดีขึ้นนะครับ เราจะต้องฝึกบ่อย ๆ ดูแบบพิมพ์ดีดสิครับ พิมพ์แรก ๆ ก็ช้า ติดบ้าง แต่สักพักก็จะดีขึ้นเอง ถ้าเราฝึกบ่อย ๆ หาโอกาสบ่อย ๆ ก็จะช่วยให้พัฒนาการด้านภาษาไปไวขึ้น ผมมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากจากอินเดีย เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ท่านมีความมั่นใจในการใช้ภาษามากขึ้น
1. หาโอกาสพูด
ถ้าท่านได้ลองไปสัมผัสชีวิตเรียบง่ายของคนอินเดียแล้ว ก็จะพบว่าเห็นหน้าดุ ๆ หรือดูสูงอายุ แต่ก็พูดอังกฤษตอบโต้กับเราได้ เด็กตัวเล็ก ๆ จูงน้องมาซื้อของก็ตอบโต้กับเราได้ไม่มีปัญหา คนอินเดียนี่ดูเหมือนว่าเขาพร้อมที่จะคุยกับเราตลอด ดังนั้น นี่คือโอกาสในการฝึกภาษา บังกาลอร์นี้มีร้านขายของเยอะ ร้านหนังสือเอย ขายเสื้อผ้าเอย ฯลฯ คนขายโดยมากจะเป็นผู้ชาย ไม่ค่อยเห็นคนขายผู้หญิงเท่าใดนัก (ไม่เห็นเลยด้วยซ้ำ)
การต่อราคา และการนับเงินทอนเงินก็จะช่วยให้ท่านแม่นเรื่องการนับเลขเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น ไม่เชื่อลองท่อง 1-20 กลับหลังดูสิครับ หรือลองบวกลบเลขเป็นภาษาอังกฤษดู เราจะทำได้ช้ากว่าคนอินเดีย แรก ๆ อาจจะยืนงงกับเงินทอนสักพักแต่เดี๋ยวก็จะดีขึ้น ถ้าฝึกบ่อย ๆ
2. ดูหนัง
การดูหนังเป็นการฝึกการฟังได้ดีครับ ถึงแม้ว่าการดูหนังที่อินเดียราคาจะเท่ากับบ้านเรา ถ้าไปฝึกบ่อย ๆ ก็เอาเรื่องเหมือนกัน ค่าตั๋ว Rs.80 ดูหนังฝรั่งสองเรื่องก็ซัดเข้าไป Rs.160 แล้วครับ อาจจะไม่เห็นผลในวันสองวัน ออกมาจากโรงหนังบางครั้งก็อาจจะยังงงๆ อยู่ บางประโยคสมองเราประมวลผลไม่ทัน อยากจะเลื่อนกลับไปดูแบบ VCD ก็ไม่ได้ ทางออกที่ดีที่สุดและประหยัดด้วยก็คือหา VCD หรือ DVD มาดูครับ เอากลับมาดูที่เมืองไทยก็ได้ แต่ถ้าท่านมีโอกาสเอาคอมพิวเตอร์ตัวเล็ก ๆ ไปด้วยก็หาซื้อมาดูได้
VCD หนังฝรั่งเรื่องหนึ่งราคาไม่แพง แค่ Rs.199 เอง ("เอง" นะครับ) แต่มันสามารถดูกลับไปกลับมาได้หลายรอบ ไม่มี Subtitle ภาษาไทย หรือจะเล่น DVD ก็แค่ไม่กี่ร้อยเอง ซื้อ 5 เรื่องก็ไม่ไหวแล้ว จึงเป็นเหตุให้ผมต้องเดินหาแหล่งขายหนังราคาถูก และโชคดีมากครับ ผมไปเจอแหล่งที่ Ghandhi Nargar ที่นี่มีขาย VCD/DVD ราคาถูก ไม่ใช่แผ่นแท้ครับ จริง ๆ ผมก็ไม่อยากพูดถึงเรื่องนี้ในหนังสือเลย แต่ผมว่ามันจะช่วยให้ท่านฝึกการฟังและการอ่านได้ดีขึ้น เพราะ DVD 1 แผ่นของเขาจะมีหนังฝรั่ง 4-5 เรื่องในแผ่นเดียวกัน ราคาแผ่นละไม่เกิน Rs.150 ดังนั้น ซื้อมา 1 แผ่น เอามาฝึกการฟังภาษาอังกฤษได้ ถ้าฟังไม่ออกก็เปิด English Subtitle ดูว่าเขาพูดว่าอะไร
แรก ๆ ก็เอาหนังที่เราเคยดูมาก่อน เช่น เคยดู Harry Potter จากเมืองไทยมาแล้ว ก็ลองหา DVD หนัง Harry Potter แบบภาษาอังกฤษดูบ้าง ท่านจะได้ตัวอย่างการตั้งประโยคคำถาม การอุทาน และตัวอย่างการใช้ Tense ซึ่งจะสังเกตได้ถ้าดูแบบ English Subtitle สำหรับการเลือกดูหนังนั้น ถ้าต้องการประโยคที่ง่าย ๆ ก็ให้เริ่มจากการดูหนังง่าย ๆ ก่อน เช่น หนังสำหรับเยาวชน (ไม่อยากพูดว่าหนังสำหรับเด็ก) เช่น Harry Potter ประโยคไม่ซับซ้อนมากนัก หรือจะดูหนังที่เป็น 3D ของ Pixal ก็ได้ ประโยคที่ใช้ก็จะเข้าใจง่าย แต่การขยับปากของตัวละครอาจจะไม่เหมือนกับการใช้คนแสดงมากนัก หนังเด็ก ๆ แบบนี้ ภาษาที่ใช้จะเข้าใจได้ง่ายกว่าหนังพวกสืบสวนสอบสวน คือ ต้องขอบอกว่า ถ้าคิดจะฝึกภาษา ฝึกไปเถอะครับ ไม่มีใครหาว่าท่านเป็นเด็กเพราะดูหนังเด็กหรอก เวลาดูก็ให้ออกเสียงตามไปด้วย ก็จะเป็นการฝึกฝนไปในตัวครับ
3. ฝึกฝนจากการอ่าน
การหาซื้อตำรับตำรามานั่งอ่านในเวลาว่าง จะช่วยให้เกิดประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นหนังสืออ่านเล่น เช่น นิยาย หรือตำราเรียน ท่านสามารถฝึกทักษะการอ่านเอาเรื่องได้จากการอ่านนิยาย และนอกจากนี้ การอ่านนิยายที่เอามาทำเป็นหนัง ก็จะเข้าใจได้ง่ายกว่าการอ่านนิยายเรื่องใหม่ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าท่านเคยดูหนังเรื่อง The Incredible มาแล้ว ก็ลองหาหนังสือนิยายเรื่องนี้มานั่งอ่านดู ท่านจะเข้าใจได้เร็วขึ้น จากนั้นค่อยเริ่มจับนิยายเรื่องอื่น นอกจากนี้ การอ่านนิยายจะช่วยให้ท่านเห็นตัวอย่างการใช้ Past Tense ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็น Tense ที่ใช้ในการแต่งนิยาย ที่ท่านอาจจะไม่เคยเห็นจากการอ่านหนังสือ Grammar ทั่วไป
4. ฝึกเขียน Essay
ถ้าท่านเรียนภาษาแบบตัวต่อตัว ท่านสามารถใช้โอกาสนี้ในการฝึกการเขียนได้ เพราะเมื่อท่านเข้าเรียน ท่านอาจจะต้องเขียนรายงาน, เขียนงานวิจัย, บทคัดย่อ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างมากในการฝึกการเขียน ท่านอาจจะตกลงกับผู้สอนว่าจะเอางานเขียนมาให้ตรวจ, หรือจะลองเขียน Essay, นิยาย, หรือเขียนเรื่องราวย่อ ๆ ของภาพยนตร์ที่ท่านเคยดู เป็นต้น เมื่อฝึกเขียนบ่อย ๆ แล้ว ก็ลองสังเกตตัวเองในเวลาสนทนาดูว่าท่านใช้ Tense ได้ถูกต้องมั้ยในเวลาเล่าเรื่องหรือพูดถึงอดีต บางครั้งในหนังสือ Grammar ก็ไม่มีตัวอย่างที่ชัดเจนนักในเรื่องของ Past Continuous (was/were + Ving) แต่ท่านจะไปประโยคแบบนี้บ่อย ๆ จากนิยาย หรือถ้าท่านเขียนเรื่องราวเป็น Essay ท่านก็จะพบตัวอย่างที่เหมาะสม และมันจะทำให้ท่านจำได้ว่าสถานการณ์แบบไหนควรหยิบใช้ Tense ใด
อินเดีย-23 : ทะเลาะกับแขกเรื่อง C++
ทะเลาะกับแขกเรื่อง C++
จากที่ไปนั่งเรียนกับแขก เพื่อร่วมห้องบางคนที่เป็นคอมก็ถาม พอเราแนะนําตัวแล้วรู้ว่าเราเขียน VC++ และ C# อยู่เมืองไทย มันก็จริงอย่างนั้น แต่ไม่ได้บอกว่าเราทํางานด้านการศึกษาอะไร หรือเป็นนักเขียน พูดมากเดี๋ยวไปเข้าหูครูใหญ่ แกคิดตังค์ค่าเรียนภาษาผมเพิ่มอีก
ชื่อเขาก็คือ วินัย (Vinay) เขาก็ถามเราเหมือนกับลองภูมิว่า "ข้อแตกต่างระหว่าง Polymorphm กับ Overloading คืออะไร" (What is the exact difference between Polymorphm and Overloading function in C++) ถามอย่างนี้ เขาก็บอกให้ผมอธิบาย ผมก็อธิบายไปว่า Polymorphm มันเป็นแนวคิดในการพ้องรูป can implement in 2 ways คือ 1. Overloading function และ 2.Virtual Function พูดๆ ไป เพียงแค่นี้ล่ะ พี่แกเถียงกลับว่าไม่ใช่ แกเถียงแบบสุดๆ เลยนะ แล้วบอกว่าผมไม่รู้ C++ แล้วสอนได้อย่างไร.... แกอยากจะให้ผมอธิบายวิธีการทํา Polymorphm in C++ ให้ ก็เขียน code ลงสมุดให้แกดู เขียนซะดิบดี สุดท้ายเลิกกันไปด้วยเหตุผลอะไรสักอย่างนี่ล่ะ
พอวันต่อมา เราเอาหนังสือ C# ที่มีเรื่องของการ Implement Overloading และ Virtual ไปให้แกดู และก็นั่งเขียนให้แกดูอีก ไอ้เจ้าปั๊กเอากล้องไปถ่ายเล่น ก็แอบมาถ่ายจกตอนที่เรากําลังคุยกับเจ้าวินัยพอดี..... ตกลงถามไปถามมา อธิบายไปอธิบาย ก็เถียง พอบอกให้ลองอธิบายให้เราฟังซิ ว่า Polymorphm ที่คุณวินัยเข้าใจนั้นเป็นอย่างไร............. แกว่ายังไงรู้มั้ยครับ... แกบอกว่า ผมจบด้านไฟฟ้า Electromagnetic หรือ Power อะไรที่เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูงนี่ล่ะ แต่เรียน C++ มา พอจบมา 9 ปีแล้ว ก็ไม่ได้เล่น C++ เลย เพราะทํางานในโรงงาน
แล้วก็เลยถามว่าที่ถามเมื่อวานนั้นน่ะ รู้คําตอบมั้ย แกว่า "I don't know" แค่นั้นล่ะ เลิกคุยไปเลย มันน่าเตะพับในสักที ไอ้เรานึกว่ารู้ แต่สุดท้ายก็ยังเป็นเพื่อนกัน คุยกันได้ วันนึ่งมา รร. ใส่แว่นดํามาเลย พอเปิดมาตาเขียวป๋อเลย โธ่เอ๋ย หน้าเขาจะคล้ายๆ กับดาราแขกที่ชื่อ Sunjay Dutt (สัณชัย ดัตท์ หรือซันเย ดัตท์) พอถามว่า เป็นอะไรไปทําไมใส่แว่น อ๋อ... ทะเลาะกับใครบางคนมา โอ้โห ถึงขนาดตาปูดเลยหรอ... ไม่น่าเชื่อ แต่ก็ไม่ได้บอกใคร บอกแค่ว่าตาเป็นโรค เป็นขอบเขียวเลย... เอาล่ะ เรื่องของนายวินัยนี่ ก็จบด้วยประการฉะนี้ จริงๆ ยังมีเรื่องของเจ้าปั๊กอีกหลายเรื่อง แสบๆ วันนี้เอานายวินัยไปก่อน
จากที่ไปนั่งเรียนกับแขก เพื่อร่วมห้องบางคนที่เป็นคอมก็ถาม พอเราแนะนําตัวแล้วรู้ว่าเราเขียน VC++ และ C# อยู่เมืองไทย มันก็จริงอย่างนั้น แต่ไม่ได้บอกว่าเราทํางานด้านการศึกษาอะไร หรือเป็นนักเขียน พูดมากเดี๋ยวไปเข้าหูครูใหญ่ แกคิดตังค์ค่าเรียนภาษาผมเพิ่มอีก
ชื่อเขาก็คือ วินัย (Vinay) เขาก็ถามเราเหมือนกับลองภูมิว่า "ข้อแตกต่างระหว่าง Polymorphm กับ Overloading คืออะไร" (What is the exact difference between Polymorphm and Overloading function in C++) ถามอย่างนี้ เขาก็บอกให้ผมอธิบาย ผมก็อธิบายไปว่า Polymorphm มันเป็นแนวคิดในการพ้องรูป can implement in 2 ways คือ 1. Overloading function และ 2.Virtual Function พูดๆ ไป เพียงแค่นี้ล่ะ พี่แกเถียงกลับว่าไม่ใช่ แกเถียงแบบสุดๆ เลยนะ แล้วบอกว่าผมไม่รู้ C++ แล้วสอนได้อย่างไร.... แกอยากจะให้ผมอธิบายวิธีการทํา Polymorphm in C++ ให้ ก็เขียน code ลงสมุดให้แกดู เขียนซะดิบดี สุดท้ายเลิกกันไปด้วยเหตุผลอะไรสักอย่างนี่ล่ะ
พอวันต่อมา เราเอาหนังสือ C# ที่มีเรื่องของการ Implement Overloading และ Virtual ไปให้แกดู และก็นั่งเขียนให้แกดูอีก ไอ้เจ้าปั๊กเอากล้องไปถ่ายเล่น ก็แอบมาถ่ายจกตอนที่เรากําลังคุยกับเจ้าวินัยพอดี..... ตกลงถามไปถามมา อธิบายไปอธิบาย ก็เถียง พอบอกให้ลองอธิบายให้เราฟังซิ ว่า Polymorphm ที่คุณวินัยเข้าใจนั้นเป็นอย่างไร............. แกว่ายังไงรู้มั้ยครับ... แกบอกว่า ผมจบด้านไฟฟ้า Electromagnetic หรือ Power อะไรที่เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูงนี่ล่ะ แต่เรียน C++ มา พอจบมา 9 ปีแล้ว ก็ไม่ได้เล่น C++ เลย เพราะทํางานในโรงงาน
แล้วก็เลยถามว่าที่ถามเมื่อวานนั้นน่ะ รู้คําตอบมั้ย แกว่า "I don't know" แค่นั้นล่ะ เลิกคุยไปเลย มันน่าเตะพับในสักที ไอ้เรานึกว่ารู้ แต่สุดท้ายก็ยังเป็นเพื่อนกัน คุยกันได้ วันนึ่งมา รร. ใส่แว่นดํามาเลย พอเปิดมาตาเขียวป๋อเลย โธ่เอ๋ย หน้าเขาจะคล้ายๆ กับดาราแขกที่ชื่อ Sunjay Dutt (สัณชัย ดัตท์ หรือซันเย ดัตท์) พอถามว่า เป็นอะไรไปทําไมใส่แว่น อ๋อ... ทะเลาะกับใครบางคนมา โอ้โห ถึงขนาดตาปูดเลยหรอ... ไม่น่าเชื่อ แต่ก็ไม่ได้บอกใคร บอกแค่ว่าตาเป็นโรค เป็นขอบเขียวเลย... เอาล่ะ เรื่องของนายวินัยนี่ ก็จบด้วยประการฉะนี้ จริงๆ ยังมีเรื่องของเจ้าปั๊กอีกหลายเรื่อง แสบๆ วันนี้เอานายวินัยไปก่อน
อินเดีย-24 : สิ่งที่ได้จากการมาบังกาลอร์ เงินแสนก็ซื้อไม่ได้
สิ่งที่ได้จากการมาบังกาลอร์ เงินแสนก็ซื้อไม่ได้
จริง ๆ แล้วมีอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจและอยากจะนำมาถ่ายทอด แต่ประสบการณ์ ความรู้สึกบางอย่าง ไม่อาจจะถ่ายทอดได้โดยใช้ภาษา ไม่รู้จะอธิบายความรู้สึกที่ได้พบเจออย่างไร เมื่ออยู่อินเดียแล้วถ้าท่านเรียนรู้ที่จะยอมรับสังคมการเป็นอยู่ของเขา ท่านจะได้เรื่องเล่ากลับมาเยอะมาก เพราะมันไม่ใช่แค่การเรียนด้านวิชาการอย่างเดียว มันเป็นทั้งการศึกษาชีวิต และผจญภัยไปพร้อมกับการเรียน มันไม่ใช่ว่าการมาเมืองไอทีอย่างบังกาลอร์จะได้แค่ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และภาษากลับไปอย่างเดียว
แต่ละวัน ท่านอาจจะพบกับอุปสรรคที่ไม่ซ้ำกันเลย บางวันดี สบายราบรื่น, บางวันก็ลำบาก, บางวันเป็นโรคอยากกลับบ้าน, บางวันรู้สึกอบอุ่นใจ, บางวันหลอกซื้อหนังสือแขกราคาถูกมาได้ดีใจทั้งวัน พรุ่งนี้งี่เง่าอยากกลับบ้านอีกแล้ว นี่คือประสบการณ์ที่เอาเงินแสนหรือเงินล้านมาแลกก็ให้กันไม่ได้ ถ้าเราเรียนรู้การเป็นอยู่ที่กลมกลืนกับเขา ท่านจะทราบว่าคนอินเดียนั้นอยู่กันอย่างเรียบง่าย และท่านจะเข้าใจว่าทำไมอากาศร้อน ๆ แต่ยังขับรถไม่เปิดแอร์กันก็ยังอยู่กันได้ แดดร้อน ๆ หนุ่ม ๆ สาว ๆ ยืนจับกลุ่มคุยกันหน้าตาเฉย และถ้าเราจับมือทักทาย ให้ความสนิทสนม ให้ความเป็นกันเองในความเป็นอยู่ของเขา เขาจะให้น้ำใจตอบกลับมาอย่างล้นหลามจนอาจจะรู้สึกเกรงใจกันขึ้นมาเลย ไม่ว่าจะเป็นการหาทานอาหาร เขาจะชอบบริการถ้าเจอคนต่างชาติมา แน่ละครับ ถ้าคนต่างชาติชอบอาหารที่ท่านทำ ท่านอาจจะทำให้ดี ๆ มั้ยล่ะครับ เหมือนกัน พอเขารู้ว่าเรากินแล้วอร่อยล่ะก็ มื้อต่อไปก็มีแถมไก่ให้ชิ้นสองชิ้นก็มี เงินไม่พอติดไว้ก่อนก็ได้ คราวหน้าค่อยเอามาให้ก็มี คนอินเดียบอกได้ว่ามีน้ำใจมาก ก็เหมือนกับคนไทย
พอกลับมากินข้าวที่เมืองไทยก็ยังอดนึกถึงตอนที่หิวจนท้องแฟบที่อินเดียไม่ได้ ไปเดินเที่ยวบางที่เรากินอาหารเขาไม่ได้ คอแห้ง หิวน้ำ เดินหิวจนใส้กิ่ว ต้องซื้อน้ำซื้อกล้วยหอมกินประทังชีวิต ทำให้เรานึกถึงคนที่ไม่มีอันจะกิน นั่งอยู่ข้าง ๆ ทางก็มีให้เห็นเยอะ ขนาดเมืองใหญ่ ๆ ก็ยังมีคนพิการ มีขอทานอยู่มาก บนท้องถนนก็มีทั้งคนรวยแต่งตัวดีหน้าตามสวยทำงานดี ๆ ไปจนถึงหญิงชราอายุมากใส่ส่าหรี ทำงานเป็นคนใช้นอนนอกบ้านกับสุนัข หรือทำงานก่อสร้างยกหินแบกปูนก็มีให้พบเห็นบ่อย ต่างคนต่างไม่สนใจกันและกัน อยู่อินเดีย ท่านจะพบเห็นสิ่งเหล่านี้อยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน การเรียนรู้ชีวิตจึงไม่ใช่แค่การรับรู้แต่ความสุขสมหวังเพียงอย่างเดียว มันต้องรับรู้ความผิดหวังด้วย เรียนทั้งสุขและทุกข์ไปพร้อม ๆ กัน วันนี้สุข, พรุ่งนี้ทุกข์, ต่อมาก็สุขอีก เรารู้เท่าทันให้ได้ว่า เดี๋ยวสุขมันก็ไป ทุกข์ก็มาอีก เดี๋ยวมันก็ไป ๆ มา ๆ อย่างนี้แหละ อย่ามายุ่งยากกับมันเป็นพอ มันเป็นของมันอย่างนั้นดังที่พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสเอาไว้ ถึงได้บอกไงครับว่า เงินแสนหรือเงินล้านก็แลกซื้อไม่ได้ ถ้าอยากได้ก็จะต้องเริ่มต้นเดินทางค้นหาด้วยตนเอง....
กลับมาอยู่เมืองไทย จะครบปีแล้วที่ห่างจากอินเดียมา แต่ก็ยังคิดถึงอินเดีย คิดถึงสังเวชนียสถานอยู่ คิดถึงบังกาลอร์อยู่ คิดถึงโรงเรียนที่เราเคยโดนอาจารย์ใหญ่เล่นมา ฯลฯ คิดถึงอาหารอินเดีย คิดถึงมิตรภาพที่เพื่อนๆ มีให้ คิดถึงกีฬา Cricket (คริกเก็ต) ที่เพื่อนๆ ที่นั่นสอนให้เล่น สนุกดีเหมือนกัน หลายๆ อย่างครับ คิดไปคิดมา เอ้อ... น่าจะซื้อไม้คริกเก็ตกับลูกคริกเก็ตกลับบ้านมาด้วยเป็นที่ระลึก อันละไม่เท่าไหร่..... แต่สิ่งที่คิดถึงมากที่สุดก็คือ ชีวิตที่นั่นครับ เป็นชีวิตที่ต้องต่อสู้เองในเมืองที่ไม่แน่นอน เมืองแห่งศาสนา เมืองทีมีมนต์ขลัง ถ้าใครได้ไป ได้สัมผัสแล้ว คงจะคิดถึงอยู่ไม่วายที่จะวนกลับไปอีกครั้งเหมือนกับผม ที่ตอนนี้ยังอยากจะกลับไปเที่ยวเมือง Varanasi (พาราณาสี) เดินเที่ยวในตลาดขายเสื้อผ้า ที่มีรองเท้าสวยๆ เสื้อสวยๆ มีผักทอด มีปุรี และบาเยีย ดึกๆ ก็มีข้าวผัดไข่ขาย เอาไว้มีโอกาสจะแวะเวียนกลับไป
มีคนเคยบอกว่า "มีโอกาสที่จะได้ไปอินเดียแล้วไม่ไปนั้นโง่ แต่ถ้าไปแล้วอยากไปอีกนั้นบ้า... " แล้วไม่รู้ว่าอย่างนี้ ผมจะเรียกว่าบ้าหรือเปล่านะ... เหอๆ
จริง ๆ แล้วมีอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจและอยากจะนำมาถ่ายทอด แต่ประสบการณ์ ความรู้สึกบางอย่าง ไม่อาจจะถ่ายทอดได้โดยใช้ภาษา ไม่รู้จะอธิบายความรู้สึกที่ได้พบเจออย่างไร เมื่ออยู่อินเดียแล้วถ้าท่านเรียนรู้ที่จะยอมรับสังคมการเป็นอยู่ของเขา ท่านจะได้เรื่องเล่ากลับมาเยอะมาก เพราะมันไม่ใช่แค่การเรียนด้านวิชาการอย่างเดียว มันเป็นทั้งการศึกษาชีวิต และผจญภัยไปพร้อมกับการเรียน มันไม่ใช่ว่าการมาเมืองไอทีอย่างบังกาลอร์จะได้แค่ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และภาษากลับไปอย่างเดียว
แต่ละวัน ท่านอาจจะพบกับอุปสรรคที่ไม่ซ้ำกันเลย บางวันดี สบายราบรื่น, บางวันก็ลำบาก, บางวันเป็นโรคอยากกลับบ้าน, บางวันรู้สึกอบอุ่นใจ, บางวันหลอกซื้อหนังสือแขกราคาถูกมาได้ดีใจทั้งวัน พรุ่งนี้งี่เง่าอยากกลับบ้านอีกแล้ว นี่คือประสบการณ์ที่เอาเงินแสนหรือเงินล้านมาแลกก็ให้กันไม่ได้ ถ้าเราเรียนรู้การเป็นอยู่ที่กลมกลืนกับเขา ท่านจะทราบว่าคนอินเดียนั้นอยู่กันอย่างเรียบง่าย และท่านจะเข้าใจว่าทำไมอากาศร้อน ๆ แต่ยังขับรถไม่เปิดแอร์กันก็ยังอยู่กันได้ แดดร้อน ๆ หนุ่ม ๆ สาว ๆ ยืนจับกลุ่มคุยกันหน้าตาเฉย และถ้าเราจับมือทักทาย ให้ความสนิทสนม ให้ความเป็นกันเองในความเป็นอยู่ของเขา เขาจะให้น้ำใจตอบกลับมาอย่างล้นหลามจนอาจจะรู้สึกเกรงใจกันขึ้นมาเลย ไม่ว่าจะเป็นการหาทานอาหาร เขาจะชอบบริการถ้าเจอคนต่างชาติมา แน่ละครับ ถ้าคนต่างชาติชอบอาหารที่ท่านทำ ท่านอาจจะทำให้ดี ๆ มั้ยล่ะครับ เหมือนกัน พอเขารู้ว่าเรากินแล้วอร่อยล่ะก็ มื้อต่อไปก็มีแถมไก่ให้ชิ้นสองชิ้นก็มี เงินไม่พอติดไว้ก่อนก็ได้ คราวหน้าค่อยเอามาให้ก็มี คนอินเดียบอกได้ว่ามีน้ำใจมาก ก็เหมือนกับคนไทย
พอกลับมากินข้าวที่เมืองไทยก็ยังอดนึกถึงตอนที่หิวจนท้องแฟบที่อินเดียไม่ได้ ไปเดินเที่ยวบางที่เรากินอาหารเขาไม่ได้ คอแห้ง หิวน้ำ เดินหิวจนใส้กิ่ว ต้องซื้อน้ำซื้อกล้วยหอมกินประทังชีวิต ทำให้เรานึกถึงคนที่ไม่มีอันจะกิน นั่งอยู่ข้าง ๆ ทางก็มีให้เห็นเยอะ ขนาดเมืองใหญ่ ๆ ก็ยังมีคนพิการ มีขอทานอยู่มาก บนท้องถนนก็มีทั้งคนรวยแต่งตัวดีหน้าตามสวยทำงานดี ๆ ไปจนถึงหญิงชราอายุมากใส่ส่าหรี ทำงานเป็นคนใช้นอนนอกบ้านกับสุนัข หรือทำงานก่อสร้างยกหินแบกปูนก็มีให้พบเห็นบ่อย ต่างคนต่างไม่สนใจกันและกัน อยู่อินเดีย ท่านจะพบเห็นสิ่งเหล่านี้อยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน การเรียนรู้ชีวิตจึงไม่ใช่แค่การรับรู้แต่ความสุขสมหวังเพียงอย่างเดียว มันต้องรับรู้ความผิดหวังด้วย เรียนทั้งสุขและทุกข์ไปพร้อม ๆ กัน วันนี้สุข, พรุ่งนี้ทุกข์, ต่อมาก็สุขอีก เรารู้เท่าทันให้ได้ว่า เดี๋ยวสุขมันก็ไป ทุกข์ก็มาอีก เดี๋ยวมันก็ไป ๆ มา ๆ อย่างนี้แหละ อย่ามายุ่งยากกับมันเป็นพอ มันเป็นของมันอย่างนั้นดังที่พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสเอาไว้ ถึงได้บอกไงครับว่า เงินแสนหรือเงินล้านก็แลกซื้อไม่ได้ ถ้าอยากได้ก็จะต้องเริ่มต้นเดินทางค้นหาด้วยตนเอง....
กลับมาอยู่เมืองไทย จะครบปีแล้วที่ห่างจากอินเดียมา แต่ก็ยังคิดถึงอินเดีย คิดถึงสังเวชนียสถานอยู่ คิดถึงบังกาลอร์อยู่ คิดถึงโรงเรียนที่เราเคยโดนอาจารย์ใหญ่เล่นมา ฯลฯ คิดถึงอาหารอินเดีย คิดถึงมิตรภาพที่เพื่อนๆ มีให้ คิดถึงกีฬา Cricket (คริกเก็ต) ที่เพื่อนๆ ที่นั่นสอนให้เล่น สนุกดีเหมือนกัน หลายๆ อย่างครับ คิดไปคิดมา เอ้อ... น่าจะซื้อไม้คริกเก็ตกับลูกคริกเก็ตกลับบ้านมาด้วยเป็นที่ระลึก อันละไม่เท่าไหร่..... แต่สิ่งที่คิดถึงมากที่สุดก็คือ ชีวิตที่นั่นครับ เป็นชีวิตที่ต้องต่อสู้เองในเมืองที่ไม่แน่นอน เมืองแห่งศาสนา เมืองทีมีมนต์ขลัง ถ้าใครได้ไป ได้สัมผัสแล้ว คงจะคิดถึงอยู่ไม่วายที่จะวนกลับไปอีกครั้งเหมือนกับผม ที่ตอนนี้ยังอยากจะกลับไปเที่ยวเมือง Varanasi (พาราณาสี) เดินเที่ยวในตลาดขายเสื้อผ้า ที่มีรองเท้าสวยๆ เสื้อสวยๆ มีผักทอด มีปุรี และบาเยีย ดึกๆ ก็มีข้าวผัดไข่ขาย เอาไว้มีโอกาสจะแวะเวียนกลับไป
มีคนเคยบอกว่า "มีโอกาสที่จะได้ไปอินเดียแล้วไม่ไปนั้นโง่ แต่ถ้าไปแล้วอยากไปอีกนั้นบ้า... " แล้วไม่รู้ว่าอย่างนี้ ผมจะเรียกว่าบ้าหรือเปล่านะ... เหอๆ
อินเดีย-07 : ถ้าอยู่ที่นี่อดตายก็อย่าไปอยู่ที่อื่น
ถ้าอยู่ที่นี่อดตายก็อย่าไปอยู่ที่อื่น
เอาล่ะมาถึงเรื่องของอาหารการกินกันบ้าง เรื่องนี้ต้องพูดครับ เพราะถ้าคนไทยมาอยู่ที่นี่แล้วทานอาหารอินเดียไม่ได้ ก็ต้องพึ่งอาหารรฝรั่งกันล่ะครับ แถบ Brigade กับ M.G นี่มีของกินเยอะ พิซซ่าเอย อาหารจีนอาหารฝรั่งก็มี ถ้ากินพวกพิซซ่า, KFC ทุกวันตังค์หมดเอาง่าย ๆ เหมือนกัน คนขายที่นี่โดยมากจะเป็นผู้ชายครับ ไม่ค่อยเห็นผู้หญิงออกมาขายเท่าไหร่ ยิ่งวันแรก ๆ นี่หิวโซจนแทบจะกินแขกที่เดินข้าง ๆ ได้แล้ว เพราะเดินตระเวนหาซื้อตำหรับตำราเพลิน สี่โมงเย็นก็นัดเจอน้องหมี, น้องปุ๊และน้องมุนน่าเพราะจะไปช็อบปิ้งกันที่ Commercial Street ก่อนไปก็เข้าไปหาอะไรกินที่ร้าน American Corner สั่งข้าวผัดใข่ใส่มากิน พอเอามาเสริฟให้เท่านั้นล่ะ โอ้โห ดู ๆ ไปชามก็ไม่ใหญ่มาก แต่ข้าวผัดไข่นี้อัดมาแน่นเลย พอแบ่งออกมาก็ฟูเต็มจานเลยครับ ส่งต่อให้น้อง ๆ ก็ไม่มีใครช่วยผมเลย แต่ด้วยความที่หิวโซเลยซัดจนหมด จานนี้ 38 รูปีครับ และต่อจากนั้นก็ไม่ได้กินอะไรอีกจนถึงตอนดึกเพราะอิ่มมาก ก็นี่ล่ะครับถึงบอกว่าอาหารมีให้กินเยอะ อาหารที่คนไทยอย่างเรา ๆ กินได้ก็มีอยู่เยอะ และที่สำคัญปรุงสุขและสะอาดครับ แบบนี้ต้องพูดว่าถ้าอยู่แถว Brigade Road กับ M.G Road แล้วอดตายล่ะก็ อย่าไปอยู่ที่อื่นเลยดีกว่า
อยู่ที่นี่สิ่งที่อยากกินเป็นอันดับแรกก็คือน้ำเปล่า แรก ๆ ผมซื้อน้ำเปล่ายี่ห้อ Aquafina ของ Pepsi ขนาด 1 ลิตรมากิน ขวดละ 12 รูปี วันหลัง ๆ ไปเดินหาที่ซุปเปอร์มาเก็ต Food Word (ที่ M.G. Road) ได้มาขวดละ 2 ลิตร ยี่ห้อ Kinley ของ Coca Cola ขวดละ 18 บาท แบกกลับห้องพักทีละ 3-4 ขวด งานนี้แขนโตเลย น้ำอัดลมก็มีนะครับแต่จะไม่กินพร่ำเพรื่อขวดขนาด 0.5 ลิตรราคาจะอยู่ที่ 18 บาท แต่ถ้าท่านเดินหาดี ๆ จะเจอกับน้ำดื่มถังใหญ่ ๆ ขนาด 5 ลิตร ราคา Rs.45 ถ้ากินหมดแล้วอย่าทิ้งขวดนะครับ เพราะเอามาแลกซื้อขวดใหม่ได้ในราคา Rs.30 ซึ่งจะถูกกว่าการซื้อน้ำขวด 2 ลิตรมาก หรือถ้าแถว ๆ บ้านมีน้ำเป็นถัง ๆ อันนี้ก็ซื้อได้ แต่ต้องดูดี ๆ ระวังเจอพวกชอบโกงบางทีจะบอกว่าน้ำหมด กำลังรออยู่ และก็เอาน้ำก๊อกใส่ถังมาให้เราแทน เพื่อนคนไทยที่เรียนด้วยกันเจอมาแล้ว
และก็อีกครั้งกับเหตุการณ์หิวโซอีกแล้ว เดินช็อปมาหลายที่ หิวก็หิว จะหากินในห้างก็ราคาสูง เลยจับรถกลับมาที่ถนน Brigade ขอกลับมาตายรังดีกว่า โชคดีที่เหลือบไปเห็นหน้าซอยเข้าบ้านพักมีหม้อใหญ่ ๆ และมีคนกำลังซื้ออยู่ 3-4 คน เข้าไปชะโงกดูปรากฏว่าเป็นข้าวหมกไก่ครับ หรือ Chicken Biriyani แค่นั้นล่ะ เอามาเลยหนึ่งห่อ Rs.20 ครับ ก็ถามว่าขายทุกวันหรือเปล่า เขาก็ว่าขายทุกวัน บ่าย ๆ จะเป็นข้าวหมกไก่ แต่ดึก ๆ ประมาณ 2 ทุ่มจะเป็นข้าวผัดไข่ เขาก็ตักใส่ห่อมาให้แบบห่อบะหมี่เกี้ยวบ้านเราน่ะครับ มีกระดาษและแผ่นพลาสติกรองเรียบร้อย ดูจากสภาพภาชนะแล้วสะอาดใช้ได้และที่สำคัญคือกำลังร้อน ๆ เลย ตักใส่ห่อมาให้เหมือนกับว่ากลัวขายไม่หมด แกให้ไก่มา 2 ชิ้น เป็นอกกับน่องพร้อมกับหอมแดงซอยและน้ำราด ที่นี่ไม่ใช้หนังยางรัดนะครับ แต่จะมัดด้วยด้ายเส้นเล็ก ๆ พอเอากลับมากินที่ห้องพัก เปิดออกมาดูข้าวฟูเต็มห่อเลย กินไม่หมดอีกแล้ว ต้องแบ่งไว้กินตอนเย็นกับตอนดึกด้วย กินร้อน ๆ อร่อยดีครับ จะอร่อยเพราะเราหิวหรือเขาทำอร่อยก็ไม่รู้ล่ะ แต่ที่รู้ ๆ ผมฝากท้องกับแขกหน้าซอยนี้ได้แน่ ๆ คงไม่ต้องเดินไปกินไกล ๆ อีกแล้ว พอรู้อย่างนี้ดึก ๆ สักหนึ่งทุ่ม ผมก็มักจะเดินอาด ๆ ออกมาซื้อข้าวผัด (Fired Rice) หรือไม่ก็ไก่ทอด (Fired Chicken) ที่เรียกว่ากะบับ (Kabab) ที่ร้านใกล้ ๆ กัน ไก่ทอดของเขาจะใส่เครื่องเทศหอม ๆ ไม่ฉุนและไม่เผ็ดอย่างที่คิดไว้ กินครั้งแรกแล้วติดใจเลยครับ เพราะเป็นไก่ชิ้นอกหั่นเป็นท่อน ๆ ทอดกรอบ ๆ ที่สำคัญคือนุ่มมากไม่รู้ว่าเขาหมักอย่างไร ไก่ทอดนี้เขาก็ขายทีละ 100 กรัมก็แค่ Rs.12 ได้มาประมาณ 5-6 ชิ้น มัดใส่ห่อมาให้พร้อมหอมแดงซอยและมะนาวอีกครึ่งลูก จินตนาการนะครับไก่ทอดร้อน ๆ บีบมะนาวแกล้มหอมแดงกินกับข้าวผัดไข่จะอร่อยเหาะขนาดไหน อันนี้ต้องมาชิมเองนะครับ พอไปซื้อกินบ่อย ๆ เข้าหลัง ๆ คนขายเห็นผมเดินมาชูนิ้วชี้เขาก็รู้แล้วว่าอาตี๋นี้เอาข้าวผัด 10 รูปี โดยมากจะใส่ห่อมากินที่บ้าน และการสั่งใส่ห่อในวันแรกนี้ก็ไม่ง่ายนัก เพราะจะพูดว่า Pack ก็คงจะไม่ตรงนัก เลยต้องใช้ "Take home 10 Rupee" แบบนี้ค่อยรู้เรื่องกันหน่อย หรือใช้คำว่า Parcel (พ้า-ซึ่ล) ก็เป็นที่รู้กันว่าเอากลับบ้านนั่นเอง
THIS IS CHICKEN BIRIYANI.... SO NICE TASTE
นอกจากร้านที่ว่านี้ก็ยังมีอีกหลายที่ครับในถนน MG. กับ Brigade ยิ่งถ้าเดินเข้าไปในตรอกเล็ก ๆ ที่ขายเสื้อผ้าแถว ๆ Commercial Street ก็จะมีขายไก่ทอดหรือจะเป็นผักชุบแป้งทอด เขาจะเอาพวกมันฝรั่ง, พริกหวาน, กล้วยเอามาชุบแป้งทอดกรอบ ๆ ชิ้นละ 1-2 รูปี เดินไปกินไปอิ่มแทบจะไม่ต้องกินข้าวเย็นเลย ถ้าไปเดินเที่ยวที่ไหนไกล ๆ ก็มองหาร้านพวกนี้ไว้ครับ เขาเห็นเราเดินเข้าไปถามเขาก็ชอบใจแล้วล่ะและก็ไม่โกงเราด้วยนะ ไม่ใช่ว่าขายแขกด้วยกันชิ้นละ 1 รูปี แต่เขาเรา 2 รูปีแบบนี้ไม่มีให้เห็นครับ พูดเรื่องของกิน ยิ่งพูดยิ่งไม่จบเพราะมีอะไรให้เลือกเยอะ ที่บังกาลอร์นี้ไม่มีร้านเซเว่นหรือโลตัสให้เห็น แต่จะมีพวกซุปเปอร์มาเก็ตเช่นที่ Food World ซึ่งอยู่ติดกับ M.G Road หรือที่ Nilgiris ที่อยู่บน Brigade Road ที่ Nilgiris นี้เปิดให้บริการมานานมาก ปีที่ผมไปเขากำลังฉลอง 100 ปีพอดี จะมีอาหารสำเร็จรูปหลายอย่าง ขนมนมเนย, แยมและอาหารแห้ง ผลไม้สดเช่นส้มหรือสตอเบอรี่นี้ก็ไม่แพงกล่องละไม่ถึง 50 รูปี
สำหรับนมสดที่นี่มีเยอะครับ ยิ่งผมเป็นคนชอบดื่มนมอยู่แล้ว ถ้านมสดที่เพิ่งรีดใหม่ ๆ ก็มีแต่ต้องออกไปหาไกล ๆ แต่ถ้าเป็นถุงขายตามร้านก็มี แต่ต้องดูให้ดีนะครับบางยี่ห้อเป็นนมที่ทำจากเนยเขาจะใส่ Masara ถ้าเอามากินล่ะก็จี๊ดขึ้นคอเลย ถ้าให้ดีไปซื้อจากซุปเปอร์ดีกว่า มองหานมกล่องที่มีรูปวัวหรือวัวแลบลิ้นน่ะครับ เป็นนมที่ผ่านการพาสเจอไรซ์แล้วขายเป็นกล่อง 1 ลิตร มีหลายยี่ห้อครับ อย่างนมของ Nestle นี้รสชาติก็ไม่ต่างจากบ้านเรา ราคาอยู่ที่ Rs.30 แต่ยี่ห้อที่ผมชอบซื้อก็คือ Amul Shakti ราคาอยู่ที่ Rs.24 มีทั้งแบบพร่องมันเนยกับธรรมดา แต่ก็มีนมประเภทที่เรียกว่า Curd คือ นมข้น ๆ เหนียว ๆ แบบโยเกิร์ต ตักกินได้เลย ใครชอบแบบนี้ก็ซื้อมากินได้ หรือถ้าจะให้ถูกหน่อยก็หานมถุงละ Rs.7 จะได้มาครึ่งลิตร หาซื้อตามร้านได้ มีขายเยอะครับ แต่จะต้องเอามาต้มก่อนพอเย็นแล้วก็กินได้เลย หรือจะไปเอาไปทำเป็นชาร้อนกาแฟร้อนก็ได้ครับ
จะเล่าอะไรให้ฟัง ไอ้เรื่องนี่ล่ะ เล่าไม่อายเลย ไปซื้อนมมา อยากกินมาก เลยได้มาถุงหนึ่ง Rs.7 กินไป เอ้อ อร่อยนะ สักพักเข้าห้องน้ำเลย จู๊ดเลย ก็คิดว่า เอ... สงสัยคงจะปกติ พอกินอีก เป็นอีกแล้ว เหมือนเดิมเลย.. อะไรเนี่ย... วันรุ่งเช้าไปหาคนขาย ถามว่านมแบบเนี้ย กินได้เลยมั้ย เขาก็ว่าไม่ได้ ต้องต้มก่อน นั่นไง เจอต้นเหตุแห่งทุกข์แล้ว... ชัดเลย อีเมื่อวานที่เข้าห้องน้ำก็เพราะอีกแบบนี้นี่เอง เพราะนมที่ซื้อเป็นถุงๆ 7 บาทนี่เขาจะเอาไปต้มกิน หรือต้มทําเป็นชาร้อนกัน โถ่ถังโถ่ปิ๊ป ใครจะไปรู้ หลังๆ ถ้าอยากกินนมแบบเปิดกล่องกินได้เลย ก็ต้องไปหาแบบพาสเจอไรซ์แทน จึงกินได้โดยไม่ต้องต้มไงครับ...
ถ้าเป็นขนมปังสไลด์แบบบ้านเราก็มี ขนมปังที่ผสมผักก็มีครับ เอามากินกับแยมผลไม้ขวดละไม่กี่บาทก็อิ่มได้เหมือนกัน ถ้าอยากกินน้ำส้มก็ซื้อกล่อง 1 ลิตร ประมาณ 40 รูปีกว่าๆ บ้างก็ 60-70 เท่ากับบ้านเราแล้วแต่ยี่ห้อ แต่มียี่ห้อของไทยด้วยนะครับไปขายที่นั่น ซื้อไม่ลงเลยเพราะค่อนข้างแพง ของที่นำเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าจะค่อนข้างแพงถึงแพงมาก อาจจะเป็นเพราะว่าโดนภาษีไปจนจุกก็เป็นได้ และเท่าที่สังเกตมาการตั้งราคาของจะไม่ค่อยมีส่วนลดเท่าไหร่นัก เช่น ถ้าเราซื้อนมกล่องบ้านเรากล่องละ 30 บาท ถ้าซื้อยกแพ็คก็จะได้ส่วนลดใช่มั้ยครับ แต่ที่นี่ถ้าซื้อยกแพ็คก็ได้เหมือนกัน แต่จะลดได้แค่ 1-2 บาทเท่านั้น บางอย่างก็ไม่ลดเลย ถ้าจะให้ดีต้องไปเดินซื้อที่เขาจัดโปรโมชั่น แบบว่าซื้อ 3 กล่องลดเหลือกล่องละ 42 รูปีก็มี ถ้าไม่อยากออกไปเดินหาอาหารทุกมื้อ
การทำอาหารเองในห้องพักนั้นก็ไม่ยากครับ เพราะที่นี่มีวัตถุดิบเยอะ ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร, เส้นก๋วยเตี๋ยว, มักกะโรนี, ผักสด, หอมใหญ่, มะเขือเทศ, กระหล่ำปลี, และก็เครื่องเทศพวกพริกไทย และก็ผงโน่นผงนี่มีเยอะไม่รู้จักสักอย่าง ่านก็เตรียมพวกหม้อเล็ก ๆ หรือกระทะแบบเสียบปลั๊กไปด้วยจะสะดวกมากเวลาทำอาหาร สำหรับอาหารประเภทผักนี้จะทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นผัดผัก, ซุปผัก หรือถ้าต้องการเนื้อไก่ก็ไปหาตามซุปเปอร์มาเก็ตได้ จะมีขายเป็นแพ็ค ๆ สะอาดเหมือนบ้านเราครับผักผลไม้ที่นี่ขายไม่แพงและสดอีกด้วย ส่วนมากจะคนอินเดียที่เป็นมังสะวิรัติ (Vegetarian) เยอะ ผักผลไม้ก็เลยสดเป็นพิเศษ อย่างหอมใหญ่ที่นี่ เขาจะมัดเป็นถุง ๆ ลูกเล็กใหญ่คละกันถุงละ 1 กิโลก็ Rs.16 ถ้าเป็นมะเขือเทศก็เหมือนกันราคาถูกหน่อย Rs.6.50 พริกไทยแบบถุง 100G ที่นี่ถุงละ Rs.39 รวม ๆ แล้วก็ดีกว่ากินพิซซ่าทุกมื้อ ได้รสแบบไทย ๆ อีกด้วย แต่เวลาทานทำอาหารไทยกินเองที่อินเดีย อย่าลืมเอาน้ำปลาไปด้วยนะครับ ที่อินเดียเขาใช้เกลือกัน ท่านจะได้ไม่พลาดน้ำปลาพริกไงล่ะครับ
เอาล่ะมาถึงเรื่องของอาหารการกินกันบ้าง เรื่องนี้ต้องพูดครับ เพราะถ้าคนไทยมาอยู่ที่นี่แล้วทานอาหารอินเดียไม่ได้ ก็ต้องพึ่งอาหารรฝรั่งกันล่ะครับ แถบ Brigade กับ M.G นี่มีของกินเยอะ พิซซ่าเอย อาหารจีนอาหารฝรั่งก็มี ถ้ากินพวกพิซซ่า, KFC ทุกวันตังค์หมดเอาง่าย ๆ เหมือนกัน คนขายที่นี่โดยมากจะเป็นผู้ชายครับ ไม่ค่อยเห็นผู้หญิงออกมาขายเท่าไหร่ ยิ่งวันแรก ๆ นี่หิวโซจนแทบจะกินแขกที่เดินข้าง ๆ ได้แล้ว เพราะเดินตระเวนหาซื้อตำหรับตำราเพลิน สี่โมงเย็นก็นัดเจอน้องหมี, น้องปุ๊และน้องมุนน่าเพราะจะไปช็อบปิ้งกันที่ Commercial Street ก่อนไปก็เข้าไปหาอะไรกินที่ร้าน American Corner สั่งข้าวผัดใข่ใส่มากิน พอเอามาเสริฟให้เท่านั้นล่ะ โอ้โห ดู ๆ ไปชามก็ไม่ใหญ่มาก แต่ข้าวผัดไข่นี้อัดมาแน่นเลย พอแบ่งออกมาก็ฟูเต็มจานเลยครับ ส่งต่อให้น้อง ๆ ก็ไม่มีใครช่วยผมเลย แต่ด้วยความที่หิวโซเลยซัดจนหมด จานนี้ 38 รูปีครับ และต่อจากนั้นก็ไม่ได้กินอะไรอีกจนถึงตอนดึกเพราะอิ่มมาก ก็นี่ล่ะครับถึงบอกว่าอาหารมีให้กินเยอะ อาหารที่คนไทยอย่างเรา ๆ กินได้ก็มีอยู่เยอะ และที่สำคัญปรุงสุขและสะอาดครับ แบบนี้ต้องพูดว่าถ้าอยู่แถว Brigade Road กับ M.G Road แล้วอดตายล่ะก็ อย่าไปอยู่ที่อื่นเลยดีกว่า
อยู่ที่นี่สิ่งที่อยากกินเป็นอันดับแรกก็คือน้ำเปล่า แรก ๆ ผมซื้อน้ำเปล่ายี่ห้อ Aquafina ของ Pepsi ขนาด 1 ลิตรมากิน ขวดละ 12 รูปี วันหลัง ๆ ไปเดินหาที่ซุปเปอร์มาเก็ต Food Word (ที่ M.G. Road) ได้มาขวดละ 2 ลิตร ยี่ห้อ Kinley ของ Coca Cola ขวดละ 18 บาท แบกกลับห้องพักทีละ 3-4 ขวด งานนี้แขนโตเลย น้ำอัดลมก็มีนะครับแต่จะไม่กินพร่ำเพรื่อขวดขนาด 0.5 ลิตรราคาจะอยู่ที่ 18 บาท แต่ถ้าท่านเดินหาดี ๆ จะเจอกับน้ำดื่มถังใหญ่ ๆ ขนาด 5 ลิตร ราคา Rs.45 ถ้ากินหมดแล้วอย่าทิ้งขวดนะครับ เพราะเอามาแลกซื้อขวดใหม่ได้ในราคา Rs.30 ซึ่งจะถูกกว่าการซื้อน้ำขวด 2 ลิตรมาก หรือถ้าแถว ๆ บ้านมีน้ำเป็นถัง ๆ อันนี้ก็ซื้อได้ แต่ต้องดูดี ๆ ระวังเจอพวกชอบโกงบางทีจะบอกว่าน้ำหมด กำลังรออยู่ และก็เอาน้ำก๊อกใส่ถังมาให้เราแทน เพื่อนคนไทยที่เรียนด้วยกันเจอมาแล้ว
และก็อีกครั้งกับเหตุการณ์หิวโซอีกแล้ว เดินช็อปมาหลายที่ หิวก็หิว จะหากินในห้างก็ราคาสูง เลยจับรถกลับมาที่ถนน Brigade ขอกลับมาตายรังดีกว่า โชคดีที่เหลือบไปเห็นหน้าซอยเข้าบ้านพักมีหม้อใหญ่ ๆ และมีคนกำลังซื้ออยู่ 3-4 คน เข้าไปชะโงกดูปรากฏว่าเป็นข้าวหมกไก่ครับ หรือ Chicken Biriyani แค่นั้นล่ะ เอามาเลยหนึ่งห่อ Rs.20 ครับ ก็ถามว่าขายทุกวันหรือเปล่า เขาก็ว่าขายทุกวัน บ่าย ๆ จะเป็นข้าวหมกไก่ แต่ดึก ๆ ประมาณ 2 ทุ่มจะเป็นข้าวผัดไข่ เขาก็ตักใส่ห่อมาให้แบบห่อบะหมี่เกี้ยวบ้านเราน่ะครับ มีกระดาษและแผ่นพลาสติกรองเรียบร้อย ดูจากสภาพภาชนะแล้วสะอาดใช้ได้และที่สำคัญคือกำลังร้อน ๆ เลย ตักใส่ห่อมาให้เหมือนกับว่ากลัวขายไม่หมด แกให้ไก่มา 2 ชิ้น เป็นอกกับน่องพร้อมกับหอมแดงซอยและน้ำราด ที่นี่ไม่ใช้หนังยางรัดนะครับ แต่จะมัดด้วยด้ายเส้นเล็ก ๆ พอเอากลับมากินที่ห้องพัก เปิดออกมาดูข้าวฟูเต็มห่อเลย กินไม่หมดอีกแล้ว ต้องแบ่งไว้กินตอนเย็นกับตอนดึกด้วย กินร้อน ๆ อร่อยดีครับ จะอร่อยเพราะเราหิวหรือเขาทำอร่อยก็ไม่รู้ล่ะ แต่ที่รู้ ๆ ผมฝากท้องกับแขกหน้าซอยนี้ได้แน่ ๆ คงไม่ต้องเดินไปกินไกล ๆ อีกแล้ว พอรู้อย่างนี้ดึก ๆ สักหนึ่งทุ่ม ผมก็มักจะเดินอาด ๆ ออกมาซื้อข้าวผัด (Fired Rice) หรือไม่ก็ไก่ทอด (Fired Chicken) ที่เรียกว่ากะบับ (Kabab) ที่ร้านใกล้ ๆ กัน ไก่ทอดของเขาจะใส่เครื่องเทศหอม ๆ ไม่ฉุนและไม่เผ็ดอย่างที่คิดไว้ กินครั้งแรกแล้วติดใจเลยครับ เพราะเป็นไก่ชิ้นอกหั่นเป็นท่อน ๆ ทอดกรอบ ๆ ที่สำคัญคือนุ่มมากไม่รู้ว่าเขาหมักอย่างไร ไก่ทอดนี้เขาก็ขายทีละ 100 กรัมก็แค่ Rs.12 ได้มาประมาณ 5-6 ชิ้น มัดใส่ห่อมาให้พร้อมหอมแดงซอยและมะนาวอีกครึ่งลูก จินตนาการนะครับไก่ทอดร้อน ๆ บีบมะนาวแกล้มหอมแดงกินกับข้าวผัดไข่จะอร่อยเหาะขนาดไหน อันนี้ต้องมาชิมเองนะครับ พอไปซื้อกินบ่อย ๆ เข้าหลัง ๆ คนขายเห็นผมเดินมาชูนิ้วชี้เขาก็รู้แล้วว่าอาตี๋นี้เอาข้าวผัด 10 รูปี โดยมากจะใส่ห่อมากินที่บ้าน และการสั่งใส่ห่อในวันแรกนี้ก็ไม่ง่ายนัก เพราะจะพูดว่า Pack ก็คงจะไม่ตรงนัก เลยต้องใช้ "Take home 10 Rupee" แบบนี้ค่อยรู้เรื่องกันหน่อย หรือใช้คำว่า Parcel (พ้า-ซึ่ล) ก็เป็นที่รู้กันว่าเอากลับบ้านนั่นเอง
THIS IS CHICKEN BIRIYANI.... SO NICE TASTE
นอกจากร้านที่ว่านี้ก็ยังมีอีกหลายที่ครับในถนน MG. กับ Brigade ยิ่งถ้าเดินเข้าไปในตรอกเล็ก ๆ ที่ขายเสื้อผ้าแถว ๆ Commercial Street ก็จะมีขายไก่ทอดหรือจะเป็นผักชุบแป้งทอด เขาจะเอาพวกมันฝรั่ง, พริกหวาน, กล้วยเอามาชุบแป้งทอดกรอบ ๆ ชิ้นละ 1-2 รูปี เดินไปกินไปอิ่มแทบจะไม่ต้องกินข้าวเย็นเลย ถ้าไปเดินเที่ยวที่ไหนไกล ๆ ก็มองหาร้านพวกนี้ไว้ครับ เขาเห็นเราเดินเข้าไปถามเขาก็ชอบใจแล้วล่ะและก็ไม่โกงเราด้วยนะ ไม่ใช่ว่าขายแขกด้วยกันชิ้นละ 1 รูปี แต่เขาเรา 2 รูปีแบบนี้ไม่มีให้เห็นครับ พูดเรื่องของกิน ยิ่งพูดยิ่งไม่จบเพราะมีอะไรให้เลือกเยอะ ที่บังกาลอร์นี้ไม่มีร้านเซเว่นหรือโลตัสให้เห็น แต่จะมีพวกซุปเปอร์มาเก็ตเช่นที่ Food World ซึ่งอยู่ติดกับ M.G Road หรือที่ Nilgiris ที่อยู่บน Brigade Road ที่ Nilgiris นี้เปิดให้บริการมานานมาก ปีที่ผมไปเขากำลังฉลอง 100 ปีพอดี จะมีอาหารสำเร็จรูปหลายอย่าง ขนมนมเนย, แยมและอาหารแห้ง ผลไม้สดเช่นส้มหรือสตอเบอรี่นี้ก็ไม่แพงกล่องละไม่ถึง 50 รูปี
สำหรับนมสดที่นี่มีเยอะครับ ยิ่งผมเป็นคนชอบดื่มนมอยู่แล้ว ถ้านมสดที่เพิ่งรีดใหม่ ๆ ก็มีแต่ต้องออกไปหาไกล ๆ แต่ถ้าเป็นถุงขายตามร้านก็มี แต่ต้องดูให้ดีนะครับบางยี่ห้อเป็นนมที่ทำจากเนยเขาจะใส่ Masara ถ้าเอามากินล่ะก็จี๊ดขึ้นคอเลย ถ้าให้ดีไปซื้อจากซุปเปอร์ดีกว่า มองหานมกล่องที่มีรูปวัวหรือวัวแลบลิ้นน่ะครับ เป็นนมที่ผ่านการพาสเจอไรซ์แล้วขายเป็นกล่อง 1 ลิตร มีหลายยี่ห้อครับ อย่างนมของ Nestle นี้รสชาติก็ไม่ต่างจากบ้านเรา ราคาอยู่ที่ Rs.30 แต่ยี่ห้อที่ผมชอบซื้อก็คือ Amul Shakti ราคาอยู่ที่ Rs.24 มีทั้งแบบพร่องมันเนยกับธรรมดา แต่ก็มีนมประเภทที่เรียกว่า Curd คือ นมข้น ๆ เหนียว ๆ แบบโยเกิร์ต ตักกินได้เลย ใครชอบแบบนี้ก็ซื้อมากินได้ หรือถ้าจะให้ถูกหน่อยก็หานมถุงละ Rs.7 จะได้มาครึ่งลิตร หาซื้อตามร้านได้ มีขายเยอะครับ แต่จะต้องเอามาต้มก่อนพอเย็นแล้วก็กินได้เลย หรือจะไปเอาไปทำเป็นชาร้อนกาแฟร้อนก็ได้ครับ
จะเล่าอะไรให้ฟัง ไอ้เรื่องนี่ล่ะ เล่าไม่อายเลย ไปซื้อนมมา อยากกินมาก เลยได้มาถุงหนึ่ง Rs.7 กินไป เอ้อ อร่อยนะ สักพักเข้าห้องน้ำเลย จู๊ดเลย ก็คิดว่า เอ... สงสัยคงจะปกติ พอกินอีก เป็นอีกแล้ว เหมือนเดิมเลย.. อะไรเนี่ย... วันรุ่งเช้าไปหาคนขาย ถามว่านมแบบเนี้ย กินได้เลยมั้ย เขาก็ว่าไม่ได้ ต้องต้มก่อน นั่นไง เจอต้นเหตุแห่งทุกข์แล้ว... ชัดเลย อีเมื่อวานที่เข้าห้องน้ำก็เพราะอีกแบบนี้นี่เอง เพราะนมที่ซื้อเป็นถุงๆ 7 บาทนี่เขาจะเอาไปต้มกิน หรือต้มทําเป็นชาร้อนกัน โถ่ถังโถ่ปิ๊ป ใครจะไปรู้ หลังๆ ถ้าอยากกินนมแบบเปิดกล่องกินได้เลย ก็ต้องไปหาแบบพาสเจอไรซ์แทน จึงกินได้โดยไม่ต้องต้มไงครับ...
ถ้าเป็นขนมปังสไลด์แบบบ้านเราก็มี ขนมปังที่ผสมผักก็มีครับ เอามากินกับแยมผลไม้ขวดละไม่กี่บาทก็อิ่มได้เหมือนกัน ถ้าอยากกินน้ำส้มก็ซื้อกล่อง 1 ลิตร ประมาณ 40 รูปีกว่าๆ บ้างก็ 60-70 เท่ากับบ้านเราแล้วแต่ยี่ห้อ แต่มียี่ห้อของไทยด้วยนะครับไปขายที่นั่น ซื้อไม่ลงเลยเพราะค่อนข้างแพง ของที่นำเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าจะค่อนข้างแพงถึงแพงมาก อาจจะเป็นเพราะว่าโดนภาษีไปจนจุกก็เป็นได้ และเท่าที่สังเกตมาการตั้งราคาของจะไม่ค่อยมีส่วนลดเท่าไหร่นัก เช่น ถ้าเราซื้อนมกล่องบ้านเรากล่องละ 30 บาท ถ้าซื้อยกแพ็คก็จะได้ส่วนลดใช่มั้ยครับ แต่ที่นี่ถ้าซื้อยกแพ็คก็ได้เหมือนกัน แต่จะลดได้แค่ 1-2 บาทเท่านั้น บางอย่างก็ไม่ลดเลย ถ้าจะให้ดีต้องไปเดินซื้อที่เขาจัดโปรโมชั่น แบบว่าซื้อ 3 กล่องลดเหลือกล่องละ 42 รูปีก็มี ถ้าไม่อยากออกไปเดินหาอาหารทุกมื้อ
การทำอาหารเองในห้องพักนั้นก็ไม่ยากครับ เพราะที่นี่มีวัตถุดิบเยอะ ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร, เส้นก๋วยเตี๋ยว, มักกะโรนี, ผักสด, หอมใหญ่, มะเขือเทศ, กระหล่ำปลี, และก็เครื่องเทศพวกพริกไทย และก็ผงโน่นผงนี่มีเยอะไม่รู้จักสักอย่าง ่านก็เตรียมพวกหม้อเล็ก ๆ หรือกระทะแบบเสียบปลั๊กไปด้วยจะสะดวกมากเวลาทำอาหาร สำหรับอาหารประเภทผักนี้จะทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นผัดผัก, ซุปผัก หรือถ้าต้องการเนื้อไก่ก็ไปหาตามซุปเปอร์มาเก็ตได้ จะมีขายเป็นแพ็ค ๆ สะอาดเหมือนบ้านเราครับผักผลไม้ที่นี่ขายไม่แพงและสดอีกด้วย ส่วนมากจะคนอินเดียที่เป็นมังสะวิรัติ (Vegetarian) เยอะ ผักผลไม้ก็เลยสดเป็นพิเศษ อย่างหอมใหญ่ที่นี่ เขาจะมัดเป็นถุง ๆ ลูกเล็กใหญ่คละกันถุงละ 1 กิโลก็ Rs.16 ถ้าเป็นมะเขือเทศก็เหมือนกันราคาถูกหน่อย Rs.6.50 พริกไทยแบบถุง 100G ที่นี่ถุงละ Rs.39 รวม ๆ แล้วก็ดีกว่ากินพิซซ่าทุกมื้อ ได้รสแบบไทย ๆ อีกด้วย แต่เวลาทานทำอาหารไทยกินเองที่อินเดีย อย่าลืมเอาน้ำปลาไปด้วยนะครับ ที่อินเดียเขาใช้เกลือกัน ท่านจะได้ไม่พลาดน้ำปลาพริกไงล่ะครับ
อินเดีย-06 : M.G Road , Brigade Road ผมอยู่แถวนี้
เดือนมีนาคมที่ผมมาที่บังกาลอร์นี้ เริ่มเข้าช่วงหน้าร้อนของบ้านเรา และก็เริ่มช่วงหน้าร้อนของเขาเหมือนกัน (Summer) โชคดีที่ห้องน้ำในห้องพักผมมีน้ำอุ่นให้ด้วย คืนแรกที่มาถึง ลุงเขาก็แนะนำการใช้น้ำร้อนบอกว่าที่เปิดน้ำอยู่ที่ไหน ก็โอเค แต่ยังไม่ใช้เพราะไม่คิดว่ามันจะหนาวอะไรขนาดนั้น ผมอาบน้ำแบบไม่เกรงใจเลยครับ พอออกมาข้าง มันเย็นยะเยือกจนสั่นเลย เพราะห้องที่ผมพักนี้เป็นชั้นสอง แล้วหน้าต่างมี 3 บานติดกัน ลมเข้าพอดี ไม่มีตึกบังเลยครับ ต้องปิดหน้าต่างปิดพัดลมมานั่งกัดกรามอยู่คนเดียว วันต่อมาผมใช้น้ำอุ่นแบบไม่เกรงใจเลย ไอ้ว่าจะน้ำอุ่นก็ไม่ใช่ มันมี 2 ก๊อก อันหนึ่งเย็น อีกอันหนึ่งมันเป็นน้ำร้อน มันไม่ใช่น้ำอุ่นหรอก มันร้อนเลย บางวันก็แล้วแต่อารมณ์มันก็อุ่น อยู่อินเดียนี่ก็สนุกไปอีกแบบครับ มีอะไรที่เราคาดไม่ถึงเยอะ กลับไปมีเรื่องเล่าเพียบ เพราะมันเหมือนกับการผจญภัยไปพร้อมกับการไปเรียน แต่ละวันจะมีเรื่องที่เราคาดไม่ถึงมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการโดยสารรถออโต้ ซึ่งจะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อ ๆ ไป เช้า ๆ เป็นช่วงเวลาที่ดีในการออกมาจิบไจ (ชา) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มชาผสมนม ใส่ขิงนิด ๆ รสเผ็ด ๆ แก้วละ 4 รูปี ถ้าเอาแก้วใหญ่หน่อยก็ 6-7 รูปี ตามร้านข้าง ๆ ทางเขาจะให้แก้วพลาสติกครับ ต้มร้อน ๆ เสร็จใหม่ ๆ สะอาด จะยืนกินแถว ๆ นั้นได้ ในร้านจะมีขนมคุกกี้และพวกบิสกิตให้กินแกล้ม หวาน ๆ อร่อยดีครับ เค้กที่นี่อร่อยครับ แต่กินชิ้นเดียวก็พอแล้ว เพราะหวานกว่าบ้านเราเยอะ พอสาย ๆ หน่อยก็จะพบกับเด็ก ๆ พ่อแม่เดินจูงไปส่งโรงเรียน หนุ่ม ๆ สาว ๆ ก็เดินไปโรงเรียนกัน ผู้หญิงที่นี่เวลาไปไหนก็จะไปเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เหมือนกับพวกผู้ชายครับ แต่ก็ไม่ค่อยเห็นสาว ๆ แต่งส่าหรีหรือชูรีตา (Churithar) เท่าไหร่ มีแต่ก็จำนวนน้อย อาจจะเป็นเพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป และอีกอย่างเราเข้าไปอยู่ในแถบแฟชั่นของเมืองนี้ก็ได้ แต่ถ้าออกไปไกลหน่อยก็จะมีให้เห็นเยอะครับ อากาศที่นี่ถึงแม้จะร้อนในช่วงหน้าร้อน แต่ก็ไม่เห็นใครเดินถือร่มกันสักคน เดินเฉิบ ๆ กลางแดดกันหน้าตาเฉย ผมก็เดินเหมือนกัน แต่ต้องหลบเข้าใต้ร่มไม้ครับ
บังกาลอร์เป็นเมืองที่มีต้นไม้เยอะ มีร่มเงาให้พักพิงเยอะ ที่ที่ร้อนจริง ๆ ก็คงจะเป็นช่วงของตึกครับ อย่าง Brigade road นี้จะมีอยู่ช่วงหนึ่งของถนนที่ติดกับ M.G. Road แถวนี้ล่ะครับ มีแต่ตึก เดินตอนกลางวันร้อนเอาเรื่องเลยทีเดียว เวลาเดินก็ต้องหลบไปเดินอีกทาง พอถึงช่วงที่มีต้นไม้ก็สบายครับ มีต้นไม้ก็ดีอย่างนี้ล่ะ เมืองไทยเราต้องช่วยกันรักษาต้นไม้ไว้นะครับ เพราะจะช่วยสร้างความร่มรื่นให้บ้านเมืองได้มากเลยทีเดียว บังกาลอร์นี้นอกจากจะมีสมญานามว่าเป็น Silicon Valley of Asia หรือ Electronic City แล้ว อีกชื่อหนึ่งก็คือ The City of Garden หรือเมืองแห่งสวนนั่นเอง เพราะดังที่ว่าไว้ครับ ที่นี่ต้นไม้เยอะและอากาศดี ขอชมแค่ตอนเช้า ๆ ก็พอ เพราะช่วง ชม. เร่งด่วน (Rush hour) ถึงตอนบ่ายๆ นี่ไม่ต้องพูดถึง คนเยอะ รถก็เยอะตาม ทั้งมอเตอร์ไซต์ รถเมล์และออโต้สามล้อที่ขับปาดไปปาดมา ที่นี่ดูเหมือนไม่ค่อยมีการควบคุมควันเหมือนกับเมืองไทย บางสี่แยกก็ไม่อยากเดินผ่านไปนช่วงเวลาทำงานเลย ร้อนก็ร้อนแล้วยังต้องผจญกับพอลลูชั่นอีก ซึ่งเดี๋ยวจะมาเล่าเรื่องพอลลูชั่นนี้ให้ฟังกัน เห็นว่านอกจากค่าครองชีพแล้ว เรื่องของพอลลูชั่นนี้บังกาลอร์ก็เป็นที่สองรองจากมุมไบเลยทีเดียว
ภาพจากกานดีนาการ์ ขาย DVD เถื่อนก็มี ไปซื้อวันนั้น ตํารวจลงพอดี
ช่วงเวลาทำงานของห้างร้านที่นี่ก็ตั้งแต่เวลาประมาณ 10-11 โมงเป็นต้นไป พอถึง 3 ทุ่มหรือ 4 รถก็เริ่มน้อยแล้วล่ะครับ หัวค่ำหน่อยพวกผับบาร์เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะเริ่มเปิดกัน ในแถบ Brigade Road, M.G. Road, Church Street และแถว Commercial Street นี่จะมีของขายเยอะมากมีร้านเสื้อผ้าแฟชั่นสวย ๆ แบบบ้านเรา, รองเท้าผู้ชายสวย ๆ ที่มีพรีเซนเตอร์อย่างซัลมาลข่าน (Salman Khan) ดาราหนุ่มหล่อที่แต่งอะไรก็ดูดีมาเป็นนายแบบให้ มีร้าน Pizza Hut, Pizza Corner, Domino Pizza, ร้านเนสกาแฟ และห้างที่เรียกว่า Shopping Center และที่ลงท้ายด้วย Mall ก็มีเยอะมากแถวนี้ อย่างห้าง Fifth Avenue (5Th Avenue) นี้ก็เป็นอีกห้างเล็ก ๆ ห้างหนึ่งครับ ที่นี่ไม่นิยมสร้างห้างใหญ่ ๆ เดินกันเมื่อยเหมือนบ้านเรา เข้าไปก็จะมีหลายชั้น บางร้านเงินหนาก็ได้หลายคูหา บ้างก็กินทั้งชั้นก็มี หนุ่ม ๆ สาว ๆ จะมาเดินเยอะครับ มาเป็นคู่ ๆ หรือมาเป็นกลุ่ม ๆ ก็มี ในนี้จะมีร้าน Music Shop ที่ขายพวก VCD, DVD, เทปซีดีเพลง เยอะแยะมากมาย เข้าไปข้างในจะดูสดใสดีครับ มีทั้งหนังอินเดีย และหนังต่างประเทศขายเยอะ ราคาก็อยู่ที่ Rs.129 บ้างก็ Rs.499 ถ้าเป็น DVD หนังใหม่ ๆ บางเรื่อง อย่าง DVD หนังอินเดียเรื่อง Main Hoon na ที่นำแสดงโดยชารุข่านก็ขายอยู่ที่ราคา Rs.399 มีจัดโปรโมชั่นแถมโน่นแถมนี่ด้วยนะครับ ราคาหนังต่างประเทศอย่าง DVD สไปเดอร์แมน ภาค 2 ก็ Rs 499 ครับ ถ้าเป็นหนังเทศเก่า ๆ หน่อยก็จะ Rs.199 นอกจากห้างนี้แล้วก็มีห้างอื่น เช่น Tota Royal Arcade ก็เป็นอีกแหล่งรวมผู้คนอีกที่หนึ่งเหมือนกัน มีร้านอินเตอร์เน็ต Web World, Coffee World และร้านของเล่น Toy R Us ก็มี นอกจากห้างไม่ใหญ่พวกนี้แล้ว ถ้าเดินขึ้นไประหว่างทางไปตาม Brigade Road ก็จะมีอีกหลายร้าน โดยมากจะเป็นเสื้อหาและร้านอาหาร บ้างก็เป็นร้านขายของชำบ้าง และก็มีร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และ Software แต่ที่เห็นตามทางมีขายเป็นระยะ ๆ ก็คือไอศกรีมครับ กรวยละ 6 รูปีเอง แขกเขาชอบกินกัน สังเกตมาหลายวันแล้ว คนที่มาซื้อมีตั้งแต่เด็ก ๆ จนถึงคนแก่ก็มี เราก็เลยเอากะเขาด้วย มี 3 รสเหมือนบ้านเราคือ วนิลา, ช็อคและแบบผสม เวลาสั่งก็บอกคนขายว่า "Mix" ก็คือเอาแบบผสมกัน เดินกินไปเรื่อย ๆ กว่าจะถึง M.G Road เล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน เพราะมันเป็นทางลาดขึ้นเขา ตามทางมีคนเดินตระเวนขายของไม่มากเหมือนกับตลาดจันปาทที่เดลลี ที่นั้นจะตามตื้อเราจนบางครั้งรู้สึกรำคาญ ที่นี่พอมันเห็นเราหน้าขาว ๆ แรก ๆ ก็เข้ามาขาย เดินตื้อเราไม่กี่ก้าวก็หายไปแล้วครับ บ้างก็มาขายนาฬิกา, ขายงู (แกะจากไม้), แผนที่อินเดียแบบติดผนังก็มีมาเร่ขาย เรื่องแผนที่นี้ผมไปจกเอาแถวร้านหนังสือก็ได้แค่ Rs.20 เองเพราะผมต้องการแค่แผนที่ของเมืองนี้เมืองเดียวเพื่อที่จะได้เดินทางถูก ผมเริ่มรู้ตัวแล้วว่าเราเหมือนกับนักท่องเที่ยวเพราะไปสะพายกระเป๋า วันหลัง ๆ มาก็ต้องไว้หนวดและก็เดินตัวเปล่าคราวนี้ไม่ค่อยมีใครทักแล้วครับ
ปัจจุบันนี้ เมืองบังกาลอร์ได้เปลี่ยนวิธีการเดินรถให้เป็นแบบวันเวย์ (One way) ครับ แรก ๆ ก็งง แต่พอดูแผนที่แล้วลากเส้นเอาก็พอดูออกแล้วล่ะครับว่ามันวนไปยังไง และด้วยความที่มันเป็นวันเวย์ มันทำให้ผมต้องเสียตังค์เพิ่มเพราะขากลับจาก รร. มันจะต้องไปอ้อมทะเลสาป เสียถึง Rs.20 จนได้ ต้องถามพวกออโต้ว่ามีทางอื่นมั้ยที่ไม่ต้องอ้อมทะเลสาป เขาก็จะพาลัดเลาะออกตลาดโน่นตลาดนี้ สุดท้ายเสียแค่ Rs.11 เอง การบีบแตรใส่กันถือว่าเป็นเรื่องปกติของที่นี่ครับ ยิ่งในเวลา Rush Hour นี้จะเหมือนกับว่ารถทุกประเภทในอินเดียต่างพากันออกมาวิ่งกันหมดแถมยังบีบแตรใส่กันสนั่นหวั่นไหว บางครั้งผมก็สังเกตดูพวกเขาจะบีบแตรใส่กันง่ายมาก ถ้าชะลอรถเมื่อไหร่ก็โดนบีบแตรไล่เมื่อนั้น แต่เขาไม่โกรธกันนะครับ ถ้าเป็นเมืองไทยก็คงจะลงมาเจรจากันแล้วล่ะ เรามักจะบอกกันว่าการจราจรและการขับรถของคนไทยนั้นไม่มีระเบียบวินัย คือ ชอบปาดซ้ายปาดขวา ผมว่ายังธรรมดาเมื่อเทียบกับที่อินเดีย ที่นี่ขับกันเก่ง ถนนก็ไม่ค่อยมีเส้นบอก และก็ไม่ค่อยอยู่เลนตัวเองเท่าไหร่ จะออกก็ปาดออกมาพรวดเลย ใครที่ขับมาตรง ๆ ก็บีบแตรใส่ และก็หักหลบไปอีกเลน อีกทั้งคนเดินถนนก็เหมือนกัน เดินข้ามเหมือนกับเดินในห้างกันเลย แต่เขาก็ไม่ได้ข้ามกันสุ่มสี่สุ่มห้าแบบไม่ได้มองนะครับ ขอแค่มีช่องว่าง ๆ ระหว่างรถก็พรวดไปเลยไม่ต้องรอไฟแดง ถ้าเป็นเมืองไทยก็คงจะได้คุยกับตำรวจแล้วล่ะ แบบนี้เห็นที่จะต้องบอกว่า "ทำอะไรตามใจคือแขกแท้ ๆ" ผมเห็นแขกเขาทำกันหน้าตาเฉย สารภาพเลยว่าหลัง ๆ ผมก็เริ่มติดนิสัยการเดินถนนแบบนี้มาบ้างแล้วเหมือนกัน มาถึง M.G. Road กันบ้าง ตลอดแนวฟากหนึ่งของถนน M.G. Road จะเป็นลานกว้าง แต่อีกด้านหนึ่งจะเป็นตึกขายและร้านค้าต่าง ๆ มากมาย ถนน M.G. นี้ยาวมากครับ ตลอดทางจะมีร้านค้าแบบแพง ๆ เยอะมาก มีโรงหนัง, ร้านหนังสือ 3-4 ร้าน, ร้านขายเสื้อผ้า, และร้านส่าหรี DEPAM ที่ดังๆ ของเขาก็อยู่ติดถนนนี้เหมือนกัน ช่วงที่ผมไปนี้ เป็นช่วงที่เขาจัดลดราคา 40% แถวนั้นเลยคึกคัก รถเยอะเป็นพิเศษ สำหรับการหากินแถว ๆ M.G. Road นี้สบายครับ ถ้าหิว ๆ เจอร้านอาหารก็แวะเข้าไปซื้อกินได้เลย เช่น Food World หรือใน Coffee Shop ริม ๆ ถนนก็ได้ แถบแถวนี้มีของกินให้เลือกเยอะ ถ้าอยู่ที่นี่นาน ๆ แล้วมากินแถวนี้ทุกวัน เดือน ๆ หนึ่งอาจจะหมดตังค์ไปหลายบาทกับการกิน อันนี้ต้องระวังให้ดีนะครับ
บังกาลอร์เป็นเมืองที่มีต้นไม้เยอะ มีร่มเงาให้พักพิงเยอะ ที่ที่ร้อนจริง ๆ ก็คงจะเป็นช่วงของตึกครับ อย่าง Brigade road นี้จะมีอยู่ช่วงหนึ่งของถนนที่ติดกับ M.G. Road แถวนี้ล่ะครับ มีแต่ตึก เดินตอนกลางวันร้อนเอาเรื่องเลยทีเดียว เวลาเดินก็ต้องหลบไปเดินอีกทาง พอถึงช่วงที่มีต้นไม้ก็สบายครับ มีต้นไม้ก็ดีอย่างนี้ล่ะ เมืองไทยเราต้องช่วยกันรักษาต้นไม้ไว้นะครับ เพราะจะช่วยสร้างความร่มรื่นให้บ้านเมืองได้มากเลยทีเดียว บังกาลอร์นี้นอกจากจะมีสมญานามว่าเป็น Silicon Valley of Asia หรือ Electronic City แล้ว อีกชื่อหนึ่งก็คือ The City of Garden หรือเมืองแห่งสวนนั่นเอง เพราะดังที่ว่าไว้ครับ ที่นี่ต้นไม้เยอะและอากาศดี ขอชมแค่ตอนเช้า ๆ ก็พอ เพราะช่วง ชม. เร่งด่วน (Rush hour) ถึงตอนบ่ายๆ นี่ไม่ต้องพูดถึง คนเยอะ รถก็เยอะตาม ทั้งมอเตอร์ไซต์ รถเมล์และออโต้สามล้อที่ขับปาดไปปาดมา ที่นี่ดูเหมือนไม่ค่อยมีการควบคุมควันเหมือนกับเมืองไทย บางสี่แยกก็ไม่อยากเดินผ่านไปนช่วงเวลาทำงานเลย ร้อนก็ร้อนแล้วยังต้องผจญกับพอลลูชั่นอีก ซึ่งเดี๋ยวจะมาเล่าเรื่องพอลลูชั่นนี้ให้ฟังกัน เห็นว่านอกจากค่าครองชีพแล้ว เรื่องของพอลลูชั่นนี้บังกาลอร์ก็เป็นที่สองรองจากมุมไบเลยทีเดียว
ภาพจากกานดีนาการ์ ขาย DVD เถื่อนก็มี ไปซื้อวันนั้น ตํารวจลงพอดี
ช่วงเวลาทำงานของห้างร้านที่นี่ก็ตั้งแต่เวลาประมาณ 10-11 โมงเป็นต้นไป พอถึง 3 ทุ่มหรือ 4 รถก็เริ่มน้อยแล้วล่ะครับ หัวค่ำหน่อยพวกผับบาร์เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะเริ่มเปิดกัน ในแถบ Brigade Road, M.G. Road, Church Street และแถว Commercial Street นี่จะมีของขายเยอะมากมีร้านเสื้อผ้าแฟชั่นสวย ๆ แบบบ้านเรา, รองเท้าผู้ชายสวย ๆ ที่มีพรีเซนเตอร์อย่างซัลมาลข่าน (Salman Khan) ดาราหนุ่มหล่อที่แต่งอะไรก็ดูดีมาเป็นนายแบบให้ มีร้าน Pizza Hut, Pizza Corner, Domino Pizza, ร้านเนสกาแฟ และห้างที่เรียกว่า Shopping Center และที่ลงท้ายด้วย Mall ก็มีเยอะมากแถวนี้ อย่างห้าง Fifth Avenue (5Th Avenue) นี้ก็เป็นอีกห้างเล็ก ๆ ห้างหนึ่งครับ ที่นี่ไม่นิยมสร้างห้างใหญ่ ๆ เดินกันเมื่อยเหมือนบ้านเรา เข้าไปก็จะมีหลายชั้น บางร้านเงินหนาก็ได้หลายคูหา บ้างก็กินทั้งชั้นก็มี หนุ่ม ๆ สาว ๆ จะมาเดินเยอะครับ มาเป็นคู่ ๆ หรือมาเป็นกลุ่ม ๆ ก็มี ในนี้จะมีร้าน Music Shop ที่ขายพวก VCD, DVD, เทปซีดีเพลง เยอะแยะมากมาย เข้าไปข้างในจะดูสดใสดีครับ มีทั้งหนังอินเดีย และหนังต่างประเทศขายเยอะ ราคาก็อยู่ที่ Rs.129 บ้างก็ Rs.499 ถ้าเป็น DVD หนังใหม่ ๆ บางเรื่อง อย่าง DVD หนังอินเดียเรื่อง Main Hoon na ที่นำแสดงโดยชารุข่านก็ขายอยู่ที่ราคา Rs.399 มีจัดโปรโมชั่นแถมโน่นแถมนี่ด้วยนะครับ ราคาหนังต่างประเทศอย่าง DVD สไปเดอร์แมน ภาค 2 ก็ Rs 499 ครับ ถ้าเป็นหนังเทศเก่า ๆ หน่อยก็จะ Rs.199 นอกจากห้างนี้แล้วก็มีห้างอื่น เช่น Tota Royal Arcade ก็เป็นอีกแหล่งรวมผู้คนอีกที่หนึ่งเหมือนกัน มีร้านอินเตอร์เน็ต Web World, Coffee World และร้านของเล่น Toy R Us ก็มี นอกจากห้างไม่ใหญ่พวกนี้แล้ว ถ้าเดินขึ้นไประหว่างทางไปตาม Brigade Road ก็จะมีอีกหลายร้าน โดยมากจะเป็นเสื้อหาและร้านอาหาร บ้างก็เป็นร้านขายของชำบ้าง และก็มีร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และ Software แต่ที่เห็นตามทางมีขายเป็นระยะ ๆ ก็คือไอศกรีมครับ กรวยละ 6 รูปีเอง แขกเขาชอบกินกัน สังเกตมาหลายวันแล้ว คนที่มาซื้อมีตั้งแต่เด็ก ๆ จนถึงคนแก่ก็มี เราก็เลยเอากะเขาด้วย มี 3 รสเหมือนบ้านเราคือ วนิลา, ช็อคและแบบผสม เวลาสั่งก็บอกคนขายว่า "Mix" ก็คือเอาแบบผสมกัน เดินกินไปเรื่อย ๆ กว่าจะถึง M.G Road เล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน เพราะมันเป็นทางลาดขึ้นเขา ตามทางมีคนเดินตระเวนขายของไม่มากเหมือนกับตลาดจันปาทที่เดลลี ที่นั้นจะตามตื้อเราจนบางครั้งรู้สึกรำคาญ ที่นี่พอมันเห็นเราหน้าขาว ๆ แรก ๆ ก็เข้ามาขาย เดินตื้อเราไม่กี่ก้าวก็หายไปแล้วครับ บ้างก็มาขายนาฬิกา, ขายงู (แกะจากไม้), แผนที่อินเดียแบบติดผนังก็มีมาเร่ขาย เรื่องแผนที่นี้ผมไปจกเอาแถวร้านหนังสือก็ได้แค่ Rs.20 เองเพราะผมต้องการแค่แผนที่ของเมืองนี้เมืองเดียวเพื่อที่จะได้เดินทางถูก ผมเริ่มรู้ตัวแล้วว่าเราเหมือนกับนักท่องเที่ยวเพราะไปสะพายกระเป๋า วันหลัง ๆ มาก็ต้องไว้หนวดและก็เดินตัวเปล่าคราวนี้ไม่ค่อยมีใครทักแล้วครับ
ปัจจุบันนี้ เมืองบังกาลอร์ได้เปลี่ยนวิธีการเดินรถให้เป็นแบบวันเวย์ (One way) ครับ แรก ๆ ก็งง แต่พอดูแผนที่แล้วลากเส้นเอาก็พอดูออกแล้วล่ะครับว่ามันวนไปยังไง และด้วยความที่มันเป็นวันเวย์ มันทำให้ผมต้องเสียตังค์เพิ่มเพราะขากลับจาก รร. มันจะต้องไปอ้อมทะเลสาป เสียถึง Rs.20 จนได้ ต้องถามพวกออโต้ว่ามีทางอื่นมั้ยที่ไม่ต้องอ้อมทะเลสาป เขาก็จะพาลัดเลาะออกตลาดโน่นตลาดนี้ สุดท้ายเสียแค่ Rs.11 เอง การบีบแตรใส่กันถือว่าเป็นเรื่องปกติของที่นี่ครับ ยิ่งในเวลา Rush Hour นี้จะเหมือนกับว่ารถทุกประเภทในอินเดียต่างพากันออกมาวิ่งกันหมดแถมยังบีบแตรใส่กันสนั่นหวั่นไหว บางครั้งผมก็สังเกตดูพวกเขาจะบีบแตรใส่กันง่ายมาก ถ้าชะลอรถเมื่อไหร่ก็โดนบีบแตรไล่เมื่อนั้น แต่เขาไม่โกรธกันนะครับ ถ้าเป็นเมืองไทยก็คงจะลงมาเจรจากันแล้วล่ะ เรามักจะบอกกันว่าการจราจรและการขับรถของคนไทยนั้นไม่มีระเบียบวินัย คือ ชอบปาดซ้ายปาดขวา ผมว่ายังธรรมดาเมื่อเทียบกับที่อินเดีย ที่นี่ขับกันเก่ง ถนนก็ไม่ค่อยมีเส้นบอก และก็ไม่ค่อยอยู่เลนตัวเองเท่าไหร่ จะออกก็ปาดออกมาพรวดเลย ใครที่ขับมาตรง ๆ ก็บีบแตรใส่ และก็หักหลบไปอีกเลน อีกทั้งคนเดินถนนก็เหมือนกัน เดินข้ามเหมือนกับเดินในห้างกันเลย แต่เขาก็ไม่ได้ข้ามกันสุ่มสี่สุ่มห้าแบบไม่ได้มองนะครับ ขอแค่มีช่องว่าง ๆ ระหว่างรถก็พรวดไปเลยไม่ต้องรอไฟแดง ถ้าเป็นเมืองไทยก็คงจะได้คุยกับตำรวจแล้วล่ะ แบบนี้เห็นที่จะต้องบอกว่า "ทำอะไรตามใจคือแขกแท้ ๆ" ผมเห็นแขกเขาทำกันหน้าตาเฉย สารภาพเลยว่าหลัง ๆ ผมก็เริ่มติดนิสัยการเดินถนนแบบนี้มาบ้างแล้วเหมือนกัน มาถึง M.G. Road กันบ้าง ตลอดแนวฟากหนึ่งของถนน M.G. Road จะเป็นลานกว้าง แต่อีกด้านหนึ่งจะเป็นตึกขายและร้านค้าต่าง ๆ มากมาย ถนน M.G. นี้ยาวมากครับ ตลอดทางจะมีร้านค้าแบบแพง ๆ เยอะมาก มีโรงหนัง, ร้านหนังสือ 3-4 ร้าน, ร้านขายเสื้อผ้า, และร้านส่าหรี DEPAM ที่ดังๆ ของเขาก็อยู่ติดถนนนี้เหมือนกัน ช่วงที่ผมไปนี้ เป็นช่วงที่เขาจัดลดราคา 40% แถวนั้นเลยคึกคัก รถเยอะเป็นพิเศษ สำหรับการหากินแถว ๆ M.G. Road นี้สบายครับ ถ้าหิว ๆ เจอร้านอาหารก็แวะเข้าไปซื้อกินได้เลย เช่น Food World หรือใน Coffee Shop ริม ๆ ถนนก็ได้ แถบแถวนี้มีของกินให้เลือกเยอะ ถ้าอยู่ที่นี่นาน ๆ แล้วมากินแถวนี้ทุกวัน เดือน ๆ หนึ่งอาจจะหมดตังค์ไปหลายบาทกับการกิน อันนี้ต้องระวังให้ดีนะครับ
อินเดีย : 90 วัน Bangalore กับ programmer
90 วัน Bangalore กับ programmer
โดย นิรุธ อํานวยศิลป์
ถ่ายทอดประสบการณ์มันส์ๆ ไม่อิงนิยาย ในเมืองโปรแกรมเมอร์
กับโปรแกรมเมอร์ - นิรุธ อํานวยศิลป์
"บันทึกเรื่องราวจากการะหกระเหินไปอยู่ที่บังกาลอร์ ชีวิตนักเรียน ที่ไปเรียนในโรงเรียน ระยะสั้นๆ คนไทยอยู่ที่นั้นดูง่ายครับ ถ้าเห็นใครถือเป้ แล้วมีขวดน้ำปลาสะพายไปด้วยน่ะ นั่นล่ะคนไทย ถ้าอ่านแล้วมันส์ หรือติดใจ แล้วอยากไปบ้าง อย่าว่ากันนะ จะบอกให้............"
หนังสือเล่มนี้ ตั้งใจว่าจะทําเป็น Pocket Book แต่เนื่องจากจะต้องทําโครงการหนังสือ Computer Book ที่ Thaidev.com เลยไม่ได้ทําซักที ตัดสินใจเอาเนื้อหามาทําเป็นเว็บ เพื่อให้ท่านผู้สนใจเข้ามาเปิดอ่านได้ 24 ชม. ง่ายกว่าการทําเป็นหนังสือ อยู่ที่ไหนในประเทศไทยก็เข้ามาอ่านได้ ไม่ต้องไปเดินหาซื้อ และเพื่อให้เป็นแนวทางว่า ถ้าท่านใดจะไปเรียนต่อที่นี่ มาศึกษาข้อมูล การเดินทาง การเป็นอยู่ก่อนได้
http://www.thaidev.com/bangalore/
โดย นิรุธ อํานวยศิลป์
ถ่ายทอดประสบการณ์มันส์ๆ ไม่อิงนิยาย ในเมืองโปรแกรมเมอร์
กับโปรแกรมเมอร์ - นิรุธ อํานวยศิลป์
"บันทึกเรื่องราวจากการะหกระเหินไปอยู่ที่บังกาลอร์ ชีวิตนักเรียน ที่ไปเรียนในโรงเรียน ระยะสั้นๆ คนไทยอยู่ที่นั้นดูง่ายครับ ถ้าเห็นใครถือเป้ แล้วมีขวดน้ำปลาสะพายไปด้วยน่ะ นั่นล่ะคนไทย ถ้าอ่านแล้วมันส์ หรือติดใจ แล้วอยากไปบ้าง อย่าว่ากันนะ จะบอกให้............"
หนังสือเล่มนี้ ตั้งใจว่าจะทําเป็น Pocket Book แต่เนื่องจากจะต้องทําโครงการหนังสือ Computer Book ที่ Thaidev.com เลยไม่ได้ทําซักที ตัดสินใจเอาเนื้อหามาทําเป็นเว็บ เพื่อให้ท่านผู้สนใจเข้ามาเปิดอ่านได้ 24 ชม. ง่ายกว่าการทําเป็นหนังสือ อยู่ที่ไหนในประเทศไทยก็เข้ามาอ่านได้ ไม่ต้องไปเดินหาซื้อ และเพื่อให้เป็นแนวทางว่า ถ้าท่านใดจะไปเรียนต่อที่นี่ มาศึกษาข้อมูล การเดินทาง การเป็นอยู่ก่อนได้
http://www.thaidev.com/bangalore/
วันเสาร์ที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ลาว:ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศลาว
ลาวเป็นประเทศที่เก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะ วัฒนธรรมเป็นอย่างมาก
ลาวมีบรรยากาศที่สบายๆ ที่จะทำให้การท่องเที่ยวของคุณเต็มไปด้วยความสนุกสนาน
รื่นเริงจนยากจะลืมเลือน โดยเฉพาะเมืองหลวงพระบางที่คุณจะต้องหลงใหลไปนานแสนนาน
ช่วงศตวรรษที่ 14-16 เป็นช่วงที่ อาณาจักรล้านช้างรุ่งเรืองสูงสุด และ เป็นแว่นแคว้นที่ทรงสำคัญ
ยิ่งในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีทางด้านวัฒนธรรมและ ศาสนาของลาว
ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้ แต่สุดท้ายอาณาจักรก็กลับตกต่ำลง ชาวลาวต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจการปกครอง
ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย และ เวียดนาม แต่ยังไรก็ตามไทย กับลาว ก็ยังมีสัมพันธ์ไมตรี
ตลอดเวลา เสมือนบ้านพี่ เมืองน้อง
รายละเอียดสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว
สามารดูเพิ่มเติมใน Version ภาษาอังกฤษได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Laos
ข้อมูลทั่วไปของประเทศลาว
พื้นที่ ลาวมีพื้นที่ราว 235,000 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำโขงซึ่งยาวเป็นอันดับที่สิบสองของโลกไหลผ่าน
เมืองหลวง เวียงจันทร์
ประชากร 6 ล้านคน
ภาษา ลาว ฝรั่งเศส
ศาสนา พุทธนิกายเถรวาท
เงินตรา กีบ
ภูมิประเทศ
ลาวเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ท่ามกลางวงล้อมของแผ่นดินมีพรมแดน
ด้านทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน กับ เมียนม่าร์ หรือ พม่า
ด้านตะวันตก ติดกับประเทศไทย
ด้านตะวันออก ติดกับ ประเทศ เวียดนาม
ด้านใต้ ติดกับ ประเทศ กัมพูชา
ภูมิอากาศ
ประเทศลาวตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ลักาณะทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างค่อนข้างมาก ตั้งแต่ภาคกลางจนถึง
ภาคเหนือในแขวงพงสาลีที่มีเขตแดนอยู่ดิดกับประเทศจีน ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและ
ที่ราบสูงอากาศค่อนข้างหนาวจัด ส่วนทางทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบติดกับเวียดนาม สำหรับ
ทางตอนใต้สุดมีลักษณะเป็นเทือกเขาติดกับกัมพูชา ทำให้ประเทศลาว มี 3 ฤดู ฤดูฝน ฤดู หนาว ฤดู ร้อน
ประวัติศาตร์ของประเทศลาว
3000ปี ก่อนคริสตกาล-ค.ศ.1000
กลุ่มชนที่พูดภาษาไทได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตประเทศลาวและที่ราบสูงอีสาน
อาณาจักรล้านช้าง
ค.ศ.1200-ค.ศ.1300
ชาวไทรวมตัวกันก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นและค่อยๆสร้างอำนาจอิทธิพลขึ้นแทนที่พวกมอญและเขมร
ค.ศ.1353
เจ้าฟ้างุ้มทรงก่อตั้งอาณาจักรล้านช้างขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขาอันหนำ และ
ทรงปกครองอาณาจักรแห่งแรกของลาวนี้อยู่จนถึงปี ค.ศ. 1373
ค.ศ.1421-1520
เมื่อเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ลง พระยาสามแสนไทไตรภูวนาถผู้เป็นโอรสได้ขึ้นครองราชย์ต่อ อาณาจักรล้านช้างต้องตกต่ำลง
เพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและก่อการกบฎต่างๆนับร้อยปี
ค.ศ.1520
พระโพธิสารราชเจ้าทรงขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินและย้ายเมืองหลวงตั้งอยู่ที่เวียงจันทร์เพื่อให้ไกล
จากการรุกรานของสยาม
ค.ศ.1637-94
รัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราชจัดเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้าง มีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครเวียงจันทร์
ค.ศ.1700
หลังพระเจ้าสุริยวงศาฯสิ้นพระชนม์ ล้านช้างแตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักร โดยตกเป็นเมืองขึ้นของ จีน สยาม และ เวียดนาม
การปกครอง
ประเทศลาวแบ่งเขตการปกครองเป็น 17 แขวง และ อีกหนึ่งเขตปกครองพิเศษ คือ
1. นครเวียงจันทร์ (กำแพงเวียงจันทร์) เป็นเขตปกครองพิเศษคล้ายกรุงเทพ
2. แขวงเวียงจันทร์ เมืองหลวง คือ เวียงจันทร์
3. แขวงหลวงพระบาง เมืองหลวง คือ หลวงพระบาง
4. แขวงหลวงน้ำทา เมืองหลวง คือ หลวงน้ำทา
5. แขวงอุดมไชย เมืองหลวง คือ เมืองไชย หรือ อุดมไชย
6. แขวงบ่อแก้ว เมืองหลวง คือ ห้วยทราย
7.แขวงพงสาลี เมืองหลวง คือ พงสาลี
8.แขวงหัวฝัน เมืองหลวง คือ ชำเหนือ
9.แขวงเชียงขวาง เมืองหลวง คือ เชียงขวาง
10.แขวงไชยบุรี เมืองหลวง คือ เมืองไชยบุรี
11.แขวงบริคำชัย เมืองหลวง คือ ปากซัน
12.แขวงคำม่วน เมืองหลวง คือ ท่าแขก
13.แขวงสะหวันนะเขต เมืองหลวงคือ สะหวันนะเขต
14.แขวงสาละวัน เมืองหลวงคือ เมืองสาละวัน
15.แขวงเซกอง เมืองหลวง คือ เมืองเซกอง
16.แขวงจำปาศักดิ์ เมืองหลวง คือ เมืองปากเซ
17.แขวงอัดปือ เมืองหลวง คือ อัดปือ
ข้อมูลการเข้าประเทศลาว
บัตรผ่านแดนชั่วคราวมีอายุบัตร 7 วัน จึงจะหมดอายุ สามารถพำนักอยู่นครเวียงจันทร์ได้ 3 วัน 2 คืนเท่านั้น
ถ้าพำนักอยู่นครเวียงจันทร์เกินกว่าที่ทางลาวกำหนดไว้ โดยไม่ต่ออายุใบผ่านแดนชั่วคราวจะถูกทางต.ม.ลาว
ปรับเป็นเงินประมาณวันละ 100 บาทต่อวัน
บัตรผ่านแดนชั่วคราว อยู่นครเวียงจันทร์ได้ในรัศมีไม่เกิน 25 กิโลเมตรเท่านั้น หากมีความประสงค์จะเดิน
ทางไปยังแขวงต่างๆนอกรัศมี 25 กิโลเมตร จากนครเวียงจันทร์จะต้องใช้หนังสือเดินทางพร้อมวีซ่าซึ่งขอได้ที่
โดยคุณ นำหนังสือเดินทาง พร้อม รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 ใบ พร้อมค่าธรรมเนียม 600 บาท หรือ สอบถามได้ที่
สถานฑูตลาวในกรุงเทพ
520 /13 ซอย รามคำแหง 39 เขตวังทองหลาง กรุงเทพ
โทร 02-538-3696,539-6667
ลาวเป็นประเทศที่เก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะ วัฒนธรรมเป็นอย่างมาก
ลาวมีบรรยากาศที่สบายๆ ที่จะทำให้การท่องเที่ยวของคุณเต็มไปด้วยความสนุกสนาน
รื่นเริงจนยากจะลืมเลือน โดยเฉพาะเมืองหลวงพระบางที่คุณจะต้องหลงใหลไปนานแสนนาน
ช่วงศตวรรษที่ 14-16 เป็นช่วงที่ อาณาจักรล้านช้างรุ่งเรืองสูงสุด และ เป็นแว่นแคว้นที่ทรงสำคัญ
ยิ่งในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีทางด้านวัฒนธรรมและ ศาสนาของลาว
ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้ แต่สุดท้ายอาณาจักรก็กลับตกต่ำลง ชาวลาวต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจการปกครอง
ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย และ เวียดนาม แต่ยังไรก็ตามไทย กับลาว ก็ยังมีสัมพันธ์ไมตรี
ตลอดเวลา เสมือนบ้านพี่ เมืองน้อง
รายละเอียดสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว
สามารดูเพิ่มเติมใน Version ภาษาอังกฤษได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Laos
ข้อมูลทั่วไปของประเทศลาว
พื้นที่ ลาวมีพื้นที่ราว 235,000 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำโขงซึ่งยาวเป็นอันดับที่สิบสองของโลกไหลผ่าน
เมืองหลวง เวียงจันทร์
ประชากร 6 ล้านคน
ภาษา ลาว ฝรั่งเศส
ศาสนา พุทธนิกายเถรวาท
เงินตรา กีบ
ภูมิประเทศ
ลาวเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ท่ามกลางวงล้อมของแผ่นดินมีพรมแดน
ด้านทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน กับ เมียนม่าร์ หรือ พม่า
ด้านตะวันตก ติดกับประเทศไทย
ด้านตะวันออก ติดกับ ประเทศ เวียดนาม
ด้านใต้ ติดกับ ประเทศ กัมพูชา
ภูมิอากาศ
ประเทศลาวตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ลักาณะทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างค่อนข้างมาก ตั้งแต่ภาคกลางจนถึง
ภาคเหนือในแขวงพงสาลีที่มีเขตแดนอยู่ดิดกับประเทศจีน ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและ
ที่ราบสูงอากาศค่อนข้างหนาวจัด ส่วนทางทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบติดกับเวียดนาม สำหรับ
ทางตอนใต้สุดมีลักษณะเป็นเทือกเขาติดกับกัมพูชา ทำให้ประเทศลาว มี 3 ฤดู ฤดูฝน ฤดู หนาว ฤดู ร้อน
ประวัติศาตร์ของประเทศลาว
3000ปี ก่อนคริสตกาล-ค.ศ.1000
กลุ่มชนที่พูดภาษาไทได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตประเทศลาวและที่ราบสูงอีสาน
อาณาจักรล้านช้าง
ค.ศ.1200-ค.ศ.1300
ชาวไทรวมตัวกันก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นและค่อยๆสร้างอำนาจอิทธิพลขึ้นแทนที่พวกมอญและเขมร
ค.ศ.1353
เจ้าฟ้างุ้มทรงก่อตั้งอาณาจักรล้านช้างขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขาอันหนำ และ
ทรงปกครองอาณาจักรแห่งแรกของลาวนี้อยู่จนถึงปี ค.ศ. 1373
ค.ศ.1421-1520
เมื่อเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ลง พระยาสามแสนไทไตรภูวนาถผู้เป็นโอรสได้ขึ้นครองราชย์ต่อ อาณาจักรล้านช้างต้องตกต่ำลง
เพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและก่อการกบฎต่างๆนับร้อยปี
ค.ศ.1520
พระโพธิสารราชเจ้าทรงขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินและย้ายเมืองหลวงตั้งอยู่ที่เวียงจันทร์เพื่อให้ไกล
จากการรุกรานของสยาม
ค.ศ.1637-94
รัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราชจัดเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้าง มีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครเวียงจันทร์
ค.ศ.1700
หลังพระเจ้าสุริยวงศาฯสิ้นพระชนม์ ล้านช้างแตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักร โดยตกเป็นเมืองขึ้นของ จีน สยาม และ เวียดนาม
การปกครอง
ประเทศลาวแบ่งเขตการปกครองเป็น 17 แขวง และ อีกหนึ่งเขตปกครองพิเศษ คือ
1. นครเวียงจันทร์ (กำแพงเวียงจันทร์) เป็นเขตปกครองพิเศษคล้ายกรุงเทพ
2. แขวงเวียงจันทร์ เมืองหลวง คือ เวียงจันทร์
3. แขวงหลวงพระบาง เมืองหลวง คือ หลวงพระบาง
4. แขวงหลวงน้ำทา เมืองหลวง คือ หลวงน้ำทา
5. แขวงอุดมไชย เมืองหลวง คือ เมืองไชย หรือ อุดมไชย
6. แขวงบ่อแก้ว เมืองหลวง คือ ห้วยทราย
7.แขวงพงสาลี เมืองหลวง คือ พงสาลี
8.แขวงหัวฝัน เมืองหลวง คือ ชำเหนือ
9.แขวงเชียงขวาง เมืองหลวง คือ เชียงขวาง
10.แขวงไชยบุรี เมืองหลวง คือ เมืองไชยบุรี
11.แขวงบริคำชัย เมืองหลวง คือ ปากซัน
12.แขวงคำม่วน เมืองหลวง คือ ท่าแขก
13.แขวงสะหวันนะเขต เมืองหลวงคือ สะหวันนะเขต
14.แขวงสาละวัน เมืองหลวงคือ เมืองสาละวัน
15.แขวงเซกอง เมืองหลวง คือ เมืองเซกอง
16.แขวงจำปาศักดิ์ เมืองหลวง คือ เมืองปากเซ
17.แขวงอัดปือ เมืองหลวง คือ อัดปือ
ข้อมูลการเข้าประเทศลาว
บัตรผ่านแดนชั่วคราวมีอายุบัตร 7 วัน จึงจะหมดอายุ สามารถพำนักอยู่นครเวียงจันทร์ได้ 3 วัน 2 คืนเท่านั้น
ถ้าพำนักอยู่นครเวียงจันทร์เกินกว่าที่ทางลาวกำหนดไว้ โดยไม่ต่ออายุใบผ่านแดนชั่วคราวจะถูกทางต.ม.ลาว
ปรับเป็นเงินประมาณวันละ 100 บาทต่อวัน
บัตรผ่านแดนชั่วคราว อยู่นครเวียงจันทร์ได้ในรัศมีไม่เกิน 25 กิโลเมตรเท่านั้น หากมีความประสงค์จะเดิน
ทางไปยังแขวงต่างๆนอกรัศมี 25 กิโลเมตร จากนครเวียงจันทร์จะต้องใช้หนังสือเดินทางพร้อมวีซ่าซึ่งขอได้ที่
โดยคุณ นำหนังสือเดินทาง พร้อม รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 ใบ พร้อมค่าธรรมเนียม 600 บาท หรือ สอบถามได้ที่
สถานฑูตลาวในกรุงเทพ
520 /13 ซอย รามคำแหง 39 เขตวังทองหลาง กรุงเทพ
โทร 02-538-3696,539-6667
ลาว:ค่าใช้จ่ายเมื่อไปเที่ยวเอง-จากหนองคาย
ค่าใช้จ่ายเมื่อไปเที่ยวเอง
สรุปค่าใช้จ่ายคร่าวๆ
-ค่ารถ บขส หนองคาย-ตลาดเช้าเวียงจันทร์ 60.- (ราคารวมค่าธรรมเนียมวันหยุด)
-ค่าเหยียบแผ่นดิน 20.-
-เหมา 3 ล้อเที่ยวเมืองเวียงจันทร์ 95,000 k 380.-
-ชมวัดสีสะเกด 5,000 k 20.-
-โปสการ์ดแผ่นล่ะ 1,000 - 2,000 k 8.-
-ชมประตูไช คนลาว 8.- ต่างชาติ 5,000 k 20.-
-วัดพระแก้ว 5,000 k 20.-
-พระธาตุหลวง 5,000 k 20.-
-น้ำเปล่า ขวดล่ะ 2 - 3,000 k 8.-
-ค่ารถเวียงจันทร์ - หลวงพระบาง (ปรับอากาศ ชนิดเปิดหน้าต่าง)เดินทาง 10 ชม. 400.-
-ค่าที่พัก เฮือนเดชา ริมน้ำโขง หลวงพระบาง แบบห้องรวม เตียงล่ะ 2 us. 80.-/คน/คืน
-ถ้าเป็นห้อง 360.- / คืน
ตารางเวลาเดินรถ หนองคาย - เวียงจันทน์
เที่ยวที่ เวลาออก จาก ถึง ราคา รถโดยสารฝ่าย
107.30หนองคายเวียงจันทน์60 บาทบขส.
207.30เวียงจันทน์หนองคายบาทลก.ลม.
310.30เวียงจันทน์หนองคายบาทบขส.
410.30หนองคายเวียงจันทน์60 บาทลก.ลม.
515.00หนองคายเวียงจันทน์60 บาทบขส.
615.00เวียงจันทน์หนองคายบาทลก.ลม.
718.00เวียงจันทน์หนองคายบาทบขส.
818.00หนองคายเวียงจันทน์60 บาทลก.ลม.
ถ้าเป็นราคา จากเวียงจันทร์ กลับ หนองคายไม่แน่ใจว่า 60 หรือ 70 บาท ราคานี้จะรวมค่าธรรมเนียมแล้ว
ท่ารถจากเวียงจันทน์ไปวังเวียงหรือหลวงพระบางเท่าที่ทราบมี 4 แห่ง
1. ท่ารถตลาดเช้า เป็นรถธรรมดาวันละ 3 เที่ยว 9.00, 10.30, 11.00 น.
2. ท่ารถโดยสารสายเหนือเป็นรถไปหลวงพระบางแต่แวะจอดที่วังเวียงด้วย มีทั้งรถธรรมดา รถปรับอากาศ และรถปรับอากาศพิเศษ (VIP bus แต่ผมก็ว่ามันก็คือๆกันนะกับแบบไม่พิเศษ) ออกสลับกัน 6.30, 7.30, 8.00, 9.00(รถแอร์), 11.00, 13.30, 16.00, 18.00 น.
3. ท่ารถตลาดสีไคเป็นรถ2แถว ออกทุกชั่วโมงเมื่อชาวบ้านเต็มรถ
4. ท่ารถตลาดริมโขง สามารถซื้อตั๋วที่ท่ารถ เป็นรถบัสแอร์
สรุปตารางเดินรถและค่ารถ
วังเวียง-เวียงจันทน์
Mini Bus 9.00 น. 60,000 กีบ (240 บาท)
VIP Bus 10.00 น.และ 13.30 น. 50,000 กีบ ß ไม่แนะนำ เพราะมันก็คือๆ กันกับ Express
Express 10.00 น.และ 13.30 น. 50,000 กีบ (200 บาท )
Local 6.00 น. , 6.30 น. และ 7.00 น. 25,000 กีบ ( 100 บาท)
วังเวียง-หลวงพระบาง
Mini Bus 9.00 น. 95,000 กีบ
VIP Bus 10.00 น. 85,000กีบ
Public Bus (รถธรรมดา)
หลวงพระบาง-วังเวียง 75,000 กีบ (7 ช.ม.) ออก 7.30 น. 10.30 น. 12.30 น. 15.30 น.
Normal Bus with Air Condition
หลวงพระบาง-เวียงจันทน์ 100,000 กีบ (9 ช.ม.) ออก 6.30 น. 8.00 น. 8.30 น. 19.30 น.
หลวงพระบาง-วังเวียง 85,000 กีบ (6 ช.ม.) ออก 6.30 น. 8.30 น. 10.00 น.
VIP Bus Air Condition
หลวงพระบาง-เวียงจันทน์ 115,000 กีบ (9 ช.ม.) ออก 8.00 น.
หลวงพระบาง-วังเวียง 115,000 กีบ (6 ช.ม.) ออก 8.00 น.
Minivan Service
หลวงพระบาง-เวียงจันทน์ 160,000 กีบ (8 ช.ม.)
หลวงพระบาง-วังเวียง 80,000 กีบ (5 ช.ม.) ออก 9.00 น.
สรุปค่าใช้จ่ายคร่าวๆ
-ค่ารถ บขส หนองคาย-ตลาดเช้าเวียงจันทร์ 60.- (ราคารวมค่าธรรมเนียมวันหยุด)
-ค่าเหยียบแผ่นดิน 20.-
-เหมา 3 ล้อเที่ยวเมืองเวียงจันทร์ 95,000 k 380.-
-ชมวัดสีสะเกด 5,000 k 20.-
-โปสการ์ดแผ่นล่ะ 1,000 - 2,000 k 8.-
-ชมประตูไช คนลาว 8.- ต่างชาติ 5,000 k 20.-
-วัดพระแก้ว 5,000 k 20.-
-พระธาตุหลวง 5,000 k 20.-
-น้ำเปล่า ขวดล่ะ 2 - 3,000 k 8.-
-ค่ารถเวียงจันทร์ - หลวงพระบาง (ปรับอากาศ ชนิดเปิดหน้าต่าง)เดินทาง 10 ชม. 400.-
-ค่าที่พัก เฮือนเดชา ริมน้ำโขง หลวงพระบาง แบบห้องรวม เตียงล่ะ 2 us. 80.-/คน/คืน
-ถ้าเป็นห้อง 360.- / คืน
ตารางเวลาเดินรถ หนองคาย - เวียงจันทน์
เที่ยวที่ เวลาออก จาก ถึง ราคา รถโดยสารฝ่าย
107.30หนองคายเวียงจันทน์60 บาทบขส.
207.30เวียงจันทน์หนองคายบาทลก.ลม.
310.30เวียงจันทน์หนองคายบาทบขส.
410.30หนองคายเวียงจันทน์60 บาทลก.ลม.
515.00หนองคายเวียงจันทน์60 บาทบขส.
615.00เวียงจันทน์หนองคายบาทลก.ลม.
718.00เวียงจันทน์หนองคายบาทบขส.
818.00หนองคายเวียงจันทน์60 บาทลก.ลม.
ถ้าเป็นราคา จากเวียงจันทร์ กลับ หนองคายไม่แน่ใจว่า 60 หรือ 70 บาท ราคานี้จะรวมค่าธรรมเนียมแล้ว
ท่ารถจากเวียงจันทน์ไปวังเวียงหรือหลวงพระบางเท่าที่ทราบมี 4 แห่ง
1. ท่ารถตลาดเช้า เป็นรถธรรมดาวันละ 3 เที่ยว 9.00, 10.30, 11.00 น.
2. ท่ารถโดยสารสายเหนือเป็นรถไปหลวงพระบางแต่แวะจอดที่วังเวียงด้วย มีทั้งรถธรรมดา รถปรับอากาศ และรถปรับอากาศพิเศษ (VIP bus แต่ผมก็ว่ามันก็คือๆกันนะกับแบบไม่พิเศษ) ออกสลับกัน 6.30, 7.30, 8.00, 9.00(รถแอร์), 11.00, 13.30, 16.00, 18.00 น.
3. ท่ารถตลาดสีไคเป็นรถ2แถว ออกทุกชั่วโมงเมื่อชาวบ้านเต็มรถ
4. ท่ารถตลาดริมโขง สามารถซื้อตั๋วที่ท่ารถ เป็นรถบัสแอร์
สรุปตารางเดินรถและค่ารถ
วังเวียง-เวียงจันทน์
Mini Bus 9.00 น. 60,000 กีบ (240 บาท)
VIP Bus 10.00 น.และ 13.30 น. 50,000 กีบ ß ไม่แนะนำ เพราะมันก็คือๆ กันกับ Express
Express 10.00 น.และ 13.30 น. 50,000 กีบ (200 บาท )
Local 6.00 น. , 6.30 น. และ 7.00 น. 25,000 กีบ ( 100 บาท)
วังเวียง-หลวงพระบาง
Mini Bus 9.00 น. 95,000 กีบ
VIP Bus 10.00 น. 85,000กีบ
Public Bus (รถธรรมดา)
หลวงพระบาง-วังเวียง 75,000 กีบ (7 ช.ม.) ออก 7.30 น. 10.30 น. 12.30 น. 15.30 น.
Normal Bus with Air Condition
หลวงพระบาง-เวียงจันทน์ 100,000 กีบ (9 ช.ม.) ออก 6.30 น. 8.00 น. 8.30 น. 19.30 น.
หลวงพระบาง-วังเวียง 85,000 กีบ (6 ช.ม.) ออก 6.30 น. 8.30 น. 10.00 น.
VIP Bus Air Condition
หลวงพระบาง-เวียงจันทน์ 115,000 กีบ (9 ช.ม.) ออก 8.00 น.
หลวงพระบาง-วังเวียง 115,000 กีบ (6 ช.ม.) ออก 8.00 น.
Minivan Service
หลวงพระบาง-เวียงจันทน์ 160,000 กีบ (8 ช.ม.)
หลวงพระบาง-วังเวียง 80,000 กีบ (5 ช.ม.) ออก 9.00 น.
ลาว:สถานที่พักในเวียงจันทร์
สถานที่พักในเวียงจันทร์
โรงแรมชั้นหนึ่งใน เวียงจันทร์ คืนละ 30-200 US$ ขึ้นไป
Settha Palace Hotel
6 Pang Kham Street, P.O. Box: 1618, Vientiane, Lao PDR. (Laos)
Tel: (856-21) 217581-2. Fax: (856-21) 217583.
Email: reservations@setthapalace.com
Novotel Hotel
Unit 9, Samsenthai Road, P.O. Box 585, Vientiane, Lao P.D.R.
Tel: (856-21) 213 570. Fax: (856-21) 213 572.
Email: novotlao@loxinfo.co.th
Lao Plaza Hotel
63 Samsenethai Road PO Box 6708 Vientiane, Lao PDR.
Tel: +(856 21) 218800 - 1 Fax: +(856 21) 218808 - 9
Email: lph@laoplazahotel.com Website: http://www.laoplazahotel.com
Bangkok Sales & Reservation Office:
Pratunam Prestige Condominium
3/294 Floor 27, Soi 15 Phetburi Road Phayathai, Rajthevee Bangkok, Thailand.
Parkview Executive Suites,
Luang Prabang Rd., Sikottabong District, P.O. Box: 4793, Vientiane, Lao PDR. (Laos)
Tel: (856-21) 250888. Fax: (856-21) 250777.
Anou Hotel
1 - 3 Hengboun Street, Vientiane
Tel: 213384 Fax: 213398 E-mail: anouhotel@laonet.net
Asian Pavilion Hotel
379 Samsenthai Rd, Vientiane
Tel: (856-21) 213430, 213431, 222890Fax: (856-21) 213432
E-mail: asianlao@loxinfo.co.th
Hotel Day Inn
059/3 B Sisakhet Unit 1 Chanthaboury District Vientiane, Lao, PDR
Tel: (856-21) 223847/8 Fax: (856-21) 222984
Muang Lao-China Hotel
Km 3, Thadeua Road, PO Box 5720, Vientiane
Tel: 856 21 313325/8 Fax: 313380
The Royal Dokmaideng Hotel
Lane Xang Avenue (PO Box 3925)Vientiane, Lao PDR
Tel: (856) 21 214477Fax: (856) 21 214454
Email: dok@laonet.net
เกสต์เฮาสท์ ในเวียงจันทร์ คืนละ 3-20 US$
Boulichanh Guest House
24 Lane-Xang Avenue, Vientiane
Tel & Fax: (856 21) 22 34 75
Haysoke Guest House
TEL:(856-21) 219711 & 219722 FAX: 219755
083/1-2 Heng Boun Road, Ban Haysoke, Vientiane
Lani I House
281 Setthathirath Road Haysok, Vientiane
Tel: + 856 21 214 919, 216 103 Fax: 215639
E-mail: lanico@laonet.net
Lani II House
268 Saylom RoadBan Hatsay Neua, Vientiane
Tel: + 856 21 213 022, 216 095Fax: 215639
E-mail: lanico@laonet.net
Lakeo Guest House
Sibounheuang Road PO Box 9907 Vientiane
Tel/Fax + 856 21 21 49 30
Saylom Yen Guesthouse,
Saylom Road, Vientiane
Tel: + 856 21 214 24
Thawee Guesthouse
64 Ban Anu(PO Box 8815)Vientiane
Tel & Fax: 217903 Mobile: 020 511 717
โรงแรมชั้นหนึ่งใน เวียงจันทร์ คืนละ 30-200 US$ ขึ้นไป
Settha Palace Hotel
6 Pang Kham Street, P.O. Box: 1618, Vientiane, Lao PDR. (Laos)
Tel: (856-21) 217581-2. Fax: (856-21) 217583.
Email: reservations@setthapalace.com
Novotel Hotel
Unit 9, Samsenthai Road, P.O. Box 585, Vientiane, Lao P.D.R.
Tel: (856-21) 213 570. Fax: (856-21) 213 572.
Email: novotlao@loxinfo.co.th
Lao Plaza Hotel
63 Samsenethai Road PO Box 6708 Vientiane, Lao PDR.
Tel: +(856 21) 218800 - 1 Fax: +(856 21) 218808 - 9
Email: lph@laoplazahotel.com Website: http://www.laoplazahotel.com
Bangkok Sales & Reservation Office:
Pratunam Prestige Condominium
3/294 Floor 27, Soi 15 Phetburi Road Phayathai, Rajthevee Bangkok, Thailand.
Parkview Executive Suites,
Luang Prabang Rd., Sikottabong District, P.O. Box: 4793, Vientiane, Lao PDR. (Laos)
Tel: (856-21) 250888. Fax: (856-21) 250777.
Anou Hotel
1 - 3 Hengboun Street, Vientiane
Tel: 213384 Fax: 213398 E-mail: anouhotel@laonet.net
Asian Pavilion Hotel
379 Samsenthai Rd, Vientiane
Tel: (856-21) 213430, 213431, 222890Fax: (856-21) 213432
E-mail: asianlao@loxinfo.co.th
Hotel Day Inn
059/3 B Sisakhet Unit 1 Chanthaboury District Vientiane, Lao, PDR
Tel: (856-21) 223847/8 Fax: (856-21) 222984
Muang Lao-China Hotel
Km 3, Thadeua Road, PO Box 5720, Vientiane
Tel: 856 21 313325/8 Fax: 313380
The Royal Dokmaideng Hotel
Lane Xang Avenue (PO Box 3925)Vientiane, Lao PDR
Tel: (856) 21 214477Fax: (856) 21 214454
Email: dok@laonet.net
เกสต์เฮาสท์ ในเวียงจันทร์ คืนละ 3-20 US$
Boulichanh Guest House
24 Lane-Xang Avenue, Vientiane
Tel & Fax: (856 21) 22 34 75
Haysoke Guest House
TEL:(856-21) 219711 & 219722 FAX: 219755
083/1-2 Heng Boun Road, Ban Haysoke, Vientiane
Lani I House
281 Setthathirath Road Haysok, Vientiane
Tel: + 856 21 214 919, 216 103 Fax: 215639
E-mail: lanico@laonet.net
Lani II House
268 Saylom RoadBan Hatsay Neua, Vientiane
Tel: + 856 21 213 022, 216 095Fax: 215639
E-mail: lanico@laonet.net
Lakeo Guest House
Sibounheuang Road PO Box 9907 Vientiane
Tel/Fax + 856 21 21 49 30
Saylom Yen Guesthouse,
Saylom Road, Vientiane
Tel: + 856 21 214 24
Thawee Guesthouse
64 Ban Anu(PO Box 8815)Vientiane
Tel & Fax: 217903 Mobile: 020 511 717
ลาว:สถานที่ท่องเที่ยว
หลวงพระบาง
เมืองหลวงพระบาง หรือ นครล้านช้าง เมืองแห่งมรดกโลก
"หลวงพระบาง " เมืองแห่งมรดกโลก ซึ่งเคยเป็นนครหลวงและเป็น
ที่ประทับของกษัตริย์ลาวมาถึงศตวรรษที่ 16 ได้รับการอนุรักษ์
ไว้เป็นอย่างดีจนได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นหนึ่งในมรดกโลก ในสมัยโบราณนั้น
เมืองหลวงพระบางเคยเป็นที่ตั้งของแว่นแคว้น ต่างๆของชนเผ่าไท-ลาว
ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง-แม่น้ำคาน แม่น้ำอู และแม่น้ำเชืองมาก่อนในปี ค.ศ.1353 เจ้าฟ้างุ้มได้มีการรวบรวมแผ่นดิน
ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้างขึ้นในบริเวณเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า "เมืองชวา"
เพระามีชาวชวาเข้ามาอาศัยอยู่มาก ครั้นในปี ค.ศ.1357 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "เชียงทอง"
ต่อมาไม่นานนัก พระเจ้าแผ่นดินของเขมรได้ส่งพระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูป
แบบสิงหลมาพระราชทานให้ เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงเปลี่ยนชื่อเมือง เป็น "หลวงพระบาง" ตามชื่อพระพุทธรูป
ในปี ค.ศ.1545 พระเจ้าโพธิสาร โปรดให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างมาอยู่ เวียงจันทร์
แต่หลวงพระบางก็ยังคงเป็นราชธานี ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตอยู่ดังเดิม หลังปี ค.ศ.1694
นครล้านช้างล่มสลายลงและแตกออกเป็นสามอาณาจักร คือ ล้านช้างหลวงพระบาง
ล้านช้างเวียงจันทร์ และ จำปาศักดิ์ กษัตริย์สายล้านช้างหลวงพระบางยังคงสืบทอดบัลลังก์
ต่อกันเรื่อยมาจนขบวนการประเทศลาวล้มล้าง สถาบันกษัตริย์ลงในปี ค.ศ.1975
แต่ส่วนใหญ่แล้วมักตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศไทย เวียดนาม และ ฝรั่งเศสในต่างวาระกัน
วัดเชียงทอง
วัดเชียงทอง
ตั้งอยู่บนถนนโพธิสารราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงพอดี วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงาม
ได้รับการมาเยือนชมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดก็ว่าได้ นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทอง
เป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวง
ไปยังนครเวียงจันทร์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชีวิตสว่างวงค
์ และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของลาว
รูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนา แบบหลวงพระบางแท้ คือมีหลังคาแอ่นโค้ง
และลาดลงต่ำมากจนแลดูค่อนข้างเตี้ย พระโพธิสารราชเจ้า ทรงสร้างวัดเชียงทองขึ้นใน
ปี ค.ศ. 1560 และมีฐานะเป็นวัดหลวงในพระราชูปถัมภ์เรื่อยมาจนถึงปี 1975 ติดกับพระอุโบสถมีวิหารเล็กๆหลังหนึ่ง
เรียกันว่า "วิหารแดง" ภายในประดิษฐฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่งามแปลกตากว่าที่อื่นใด
ด้วยสัดส่วน จีวรที่จีบเป็นริ้วโค้งออกมาทางด้านนอกตรงเหนือช้อพระบาท และ
พระหัตถ์ซึ่งรองรับพระเศียรไว้อย่างสง่างาม และอ่อนช้อย พระพุทธรูปองค์นี้เคยถูกนำไป
จัดแสดงอยู่ที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1931 และ ไปประดิษฐานอยู่เวียงจันทร์หลายสิบปีก่อน
กลับคืนสู่หลวงพระบางในปี ค.ศ.1964
วัดแสนสุขาราม
วัดแสนสุขาราม
ในบรรดาวัดท้งหมดวัดแสนสุขารามนั้นที่เป็นเจ้าของ พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่
องค์เดียวในเมืองหลวงพระบาง เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้าง ภายหลังหลวงพระบางแยกออกจากนครเวียงจันทร์
เมื่อ 11 ปีที่แล้วเป็นอีกอาณาจักรหนึ่งก่อนหน้านั้นบริเวณที่สร้างวัดแสนสุขารามมีวัดเก่าอยู่ก่อนหน้านั้น
สร้างขึ้นเมื่อ คริสตวรรษที่ 15 พระยืนที่สูงและใหญ่ที่สุดในหลวงพระบาง มีพระพักตร์ที่งดงามผ่องแผ้ว
ข้างหอพระยืนมีหอรอยพระพุทธบาทจำลอง ส่วนพระอุโบสถดูงดงามอลังการด้วยการ
ทาสีแดงและเขียนภาพสีทองลงบนพื้นแดงภายในมีการตกแต่งประดับประดาที่มีสีสัน
สวยสดงดงามหาที่ติ พระประธานมีความงามชดช้อย
วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
ชาวหลวงพระบาง เรียกสั้นๆว่า วัดใหม่ ซึ่งมีอายุในต้นศตวรรษ ที่ 19 และ เคยเป็นที่ประทับของ
สมเด็จพระสังฆราชลาว มาก่อน อุโบสถของวัดนี้สร้างด้วยเครื่องไม้มีหลังคาซ้อนกัน
ห้าชั้นตามแบบหลวงพระบาง กำแพงพระระเบียงด้านหน้า ทำเป็นลายรดน้ำปิดทองเล่าเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก
พระบางเคย ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และ ในวันปีใหม่จะมีการแห่แหน
พระบางออกมา ให้ประชาชนได้สักการะบูชากันที่นี่ ปัจจุบันวัดใหม่ใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม
พระราชวังหลวงพระบาง
พระราชวังหลวงพระบาง
ซึ่งตั้งอยู่ทางขึ้นภูษีทางบันไดด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ใกล้กับที่ตั้งของ พระราชวัง มีถนนศรีสว่างวงค์สายเล็กๆคั่นเอาไว้นักท่องเที่ยวจึงสามารถเดินเที่ยวชมพระราชวัง
ค่าเข้าชมที่นี่คนละ 10,000 กีบ ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1904 เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ ลักษณะ เป็นศิลปะแบบลาวผสมฝรั่งเศส มีแผนผังเป็นรูปกากบาท และ
สร้างฐานซ้อนกันหลายชั้น ห้องโถงด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐาน พระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของลาว
องค์พระสูง 83 เซนติเมตร พระหัตถ์แสดงปางอภัยมุทรา หล่อขึ้นด้วยทองคำ บริสุทธิ์เกือบทั้งองค์
รวมน้ำหนักทั้งสิ้นราว 43 ถึง 54 กิโลกรัม คามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นที่เกาะสิงหล
เมื่อราวศตวรรษ ที่ 1 เจ้าฟ้างุ้ม ทรงได้รับพระราชทานจากกษัตริย์เขมรมาอีกต่อหนึ่ง แต่ก็ต้องตกไปอยู่ในเมืองสยาม
ถึงสองครั้ง ปี 1779 และ 1827 จน ปี 1867 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงโปรดเกล้าฯ
พระราชทานกลับคืน ไปให้ภายในห้องยังมีฉากลับแลผ้าไหมปักลวดลาย ด้วยฝีมือ ประณีตและงาช้างแกะสลัก
อีกไม่น้อยที่เหลือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภาพบุดคล บรรณาการจากต่างชาติ และ งานศิลปะมากมาย
และงานประดับกระเบื้องอยู่รอบๆตัวอาคาร และ ยังมีโรงละครภายในราชวัง ตรงข้ามหอพระบาง
ซึ่งเย็นวันนี้จะมีการแสดง พระลักษณ์ พระราม ในเวลา 18.00 น. เป็นการแสดงของนักเรียน
ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดการแสดงไม่นานนี้เองซึ่งใช้เวลาที่นี่ ต้องก่อน 11.00 น. เพราะพระราชววังจากปิด
รับประทานอาหารเที่ยง และ นอนพัก ซึ่งที่นี่จะเปิดอีกที ก็ประมาณ 13.00 น.
วัดวิชุนราช
ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงพระบาง
ถนน วิชุนราช ค่าเข้าชมคนละ 5,000 กีบ ในบรรดาวัดทั้งหมดของเมืองหลวงพระบางเป็นต้องยกให
้วัดวิชุน ในความแปลกที่พระธาตุเจดีย์ รูปโค้งมนเหมือนผลแตงโม และ เจดีย์รูปทรงแปลกตานี้เอง
ที่กระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรมของลาวยกให้มีความสำคัญ ความโดดเด่น ของวัดวิชุน แม้เพียงนั่งรถผ่านไปถนนวิชุนราชก็ จะแลเห็นเจดีย์รูปแตงโมผ่าครึ่งนี้สะดุดตา
และ ภายในพระอุโบสถของวัดวิชุน ด้านหลังของพระประธานมีโบราณวัตถุที่เก็บรวบรวมมาจากวัดร้างต่างๆ
ในหลวงพระบาง เช่น พระพุทธรูปสำริด ไม้จำหลัดลวดลายต่างๆ พระพุทธรูปไม้แกะสลักลงรัก
ปิดทองเท่าคนจริงจำนวนมาก
พระธาตุจอมษีบนยอดเขาสูงสุดของภูษี
สถานที่ท่องเที่ยที่นิยมมากที่สุดที่ไม่ควรพลาด เป็นสเมือน "ถ้ามาถึงหลวงพระบาง ไม่ได้ขึ้นยอดเขาภูษีถือว่าไม่ถึง
หลวงพระบาง หรือ เที่ยวเชียงใหม่ แล้วไม่ขึ้นไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ก็มาไม่ถึงเชียงใหม่เช่นเดียวกัน"
ยอดเขาภูษี เพื่อจะชมความงามของพระอาทิตย์ตกดิน ยอดเขา ภูษี เป็นยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร
ตั้งอยู่ใจกลางเมือง หลวงพระบาง การได้เดินขึ้นไปบนยอดเขาภูษี 328 ขั้น ทำให้เห็นเมืองหลวงพระบาง
และ เห็นสายลำแม่น้ำโขงและ แม่น้ำคานอย่างชัดเจน และ ใกล้นี้เองก็ชมพระธาตุจอมสี ตั้งอยู่บนยอดสูงของภูษี
พระธาตุสามารถมองเห็นได้แต่ไกลรอบๆเมือง หลวงพระบาง ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริด 7 ชั้น สูงประมาณ 21 เมตร ช่วงที่งดงามมากที่สุด
คือช่วงบ่าย แสงแดดจะสาดส่องมายังที่พระธาตุให้เห็นเป็นสีทองเหลืองอร่ามตา มีทางเดินรอบๆพระธาตุ
นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินกันที่นี่ สเมือนที่นี่เป็นจุดนัดพบของเหล่านักท่องเที่ยวนานาชาติ
ที่กระหายหาความงดงามของพระอาทิตย์ยามอัสดงอย่างแน่นหนาทีเดียว
ตลาดม้ง
ตลาดม้ง
เป็นตลาดของชาวม้งที่อาศัยอยู่บริเวณรอบหลวงพระบาง เป็นชนกลุ่มน้อย
กลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และ มีบทบาทในประเทศลาวมาก ตลาดม้งเป็นตลาดที่
เป็นสินค้าจากชาวเขาเผ่าม้งของลาว เช่น ผ้าทอปักลวดลายต่างๆ เช่น
ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าห่ม เสื้อผ้า และ เครื่องเงิน ที่มีราคาถูกและ ย่อมเยาว์
ถ้ำติ่ง
"ถ้ำติ่ง"
ซึ่งเป็นสถานที่นักท่องเที่ยวนิยมจะมาแวะเยี่ยมชม ค่าเข้าชมถ้ำ
ก็คนละ 8000 กีบ หรือ 20 บาท ก็ได้ ถ้ำติ่งประกอบด้วย 2 ถ้ำแยกด้านขวาไปถ้ำติ่งลุ่ม (ล่าง)
แยกซ้ายไปถ้ำติ่งเทิง (บน) ถ้ำติ่งลุ่ม หรือ ถ้ำติ่งล่างนั้น สูง 60 เมตรจากพื้นน้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำตื้นเล็กๆ
มีหินงอกหินย้อย แต่ไม่ค่อยสวยเท่าไรนัก เป็นถ้ำที่มีพระพุทธรูปจำนวนมากมายหลายขนาด
ส่วนมากเป็นพระยืนซะส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ได้เล่าให้เราฟังว่า
"สมัยโบราณเป็นที่สักการะบวงสรวงวิญญาณ ผีฟ้า ผี แถน และ เทวดาผาติ่ง ถ้ำติ่งแสดงถึงยุคแห่ง
การปฏิวัติทางความเชื่อของชาวลาวในอดีตที่เคยนับถือผีพระเจ้าโพธิสารราชทรงเลื่อมใสพุทธศาสนา
เป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้ามา และ ทรงใช้ถ้ำติ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ทางพุทธศาสนา
มีการค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคริสตวรรษที่ 18-19 กว่า 2500 องค์ ส่วนใหญ่ทำจากไม้
เมื่อตอนค้นพบใหม่ๆมีพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งที่ทำด้วยเงิน และ ทองคำ แต่ถูกลอกออกไปหมด"
ส่วนถ้ำติ่งบนนั้นต้องเดินขึ้นไปบนเขาขึ้นบันไดประมาณ 200 ขั้น สองข้างทางร่มรื่นไปด้วยเงาไม้
มีห้องสุขาให้ไว้ คอยบริการสำหรับนักท่องเที่ยว สะดวกสบายมาก ถ้ำติ่งบนเป็นถ้ำไม่ค่อยลึกเท่าไร
มีพระพุทธรูปอยู่มนถ้ำแต่ไม่มากเท่ากับถ้ำติ่งล่าง
เมืองหลวงพระบาง หรือ นครล้านช้าง เมืองแห่งมรดกโลก
"หลวงพระบาง " เมืองแห่งมรดกโลก ซึ่งเคยเป็นนครหลวงและเป็น
ที่ประทับของกษัตริย์ลาวมาถึงศตวรรษที่ 16 ได้รับการอนุรักษ์
ไว้เป็นอย่างดีจนได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นหนึ่งในมรดกโลก ในสมัยโบราณนั้น
เมืองหลวงพระบางเคยเป็นที่ตั้งของแว่นแคว้น ต่างๆของชนเผ่าไท-ลาว
ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง-แม่น้ำคาน แม่น้ำอู และแม่น้ำเชืองมาก่อนในปี ค.ศ.1353 เจ้าฟ้างุ้มได้มีการรวบรวมแผ่นดิน
ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้างขึ้นในบริเวณเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า "เมืองชวา"
เพระามีชาวชวาเข้ามาอาศัยอยู่มาก ครั้นในปี ค.ศ.1357 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "เชียงทอง"
ต่อมาไม่นานนัก พระเจ้าแผ่นดินของเขมรได้ส่งพระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูป
แบบสิงหลมาพระราชทานให้ เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงเปลี่ยนชื่อเมือง เป็น "หลวงพระบาง" ตามชื่อพระพุทธรูป
ในปี ค.ศ.1545 พระเจ้าโพธิสาร โปรดให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างมาอยู่ เวียงจันทร์
แต่หลวงพระบางก็ยังคงเป็นราชธานี ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตอยู่ดังเดิม หลังปี ค.ศ.1694
นครล้านช้างล่มสลายลงและแตกออกเป็นสามอาณาจักร คือ ล้านช้างหลวงพระบาง
ล้านช้างเวียงจันทร์ และ จำปาศักดิ์ กษัตริย์สายล้านช้างหลวงพระบางยังคงสืบทอดบัลลังก์
ต่อกันเรื่อยมาจนขบวนการประเทศลาวล้มล้าง สถาบันกษัตริย์ลงในปี ค.ศ.1975
แต่ส่วนใหญ่แล้วมักตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศไทย เวียดนาม และ ฝรั่งเศสในต่างวาระกัน
วัดเชียงทอง
วัดเชียงทอง
ตั้งอยู่บนถนนโพธิสารราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงพอดี วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงาม
ได้รับการมาเยือนชมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดก็ว่าได้ นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทอง
เป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวง
ไปยังนครเวียงจันทร์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชีวิตสว่างวงค
์ และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของลาว
รูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนา แบบหลวงพระบางแท้ คือมีหลังคาแอ่นโค้ง
และลาดลงต่ำมากจนแลดูค่อนข้างเตี้ย พระโพธิสารราชเจ้า ทรงสร้างวัดเชียงทองขึ้นใน
ปี ค.ศ. 1560 และมีฐานะเป็นวัดหลวงในพระราชูปถัมภ์เรื่อยมาจนถึงปี 1975 ติดกับพระอุโบสถมีวิหารเล็กๆหลังหนึ่ง
เรียกันว่า "วิหารแดง" ภายในประดิษฐฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่งามแปลกตากว่าที่อื่นใด
ด้วยสัดส่วน จีวรที่จีบเป็นริ้วโค้งออกมาทางด้านนอกตรงเหนือช้อพระบาท และ
พระหัตถ์ซึ่งรองรับพระเศียรไว้อย่างสง่างาม และอ่อนช้อย พระพุทธรูปองค์นี้เคยถูกนำไป
จัดแสดงอยู่ที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1931 และ ไปประดิษฐานอยู่เวียงจันทร์หลายสิบปีก่อน
กลับคืนสู่หลวงพระบางในปี ค.ศ.1964
วัดแสนสุขาราม
วัดแสนสุขาราม
ในบรรดาวัดท้งหมดวัดแสนสุขารามนั้นที่เป็นเจ้าของ พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่
องค์เดียวในเมืองหลวงพระบาง เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้าง ภายหลังหลวงพระบางแยกออกจากนครเวียงจันทร์
เมื่อ 11 ปีที่แล้วเป็นอีกอาณาจักรหนึ่งก่อนหน้านั้นบริเวณที่สร้างวัดแสนสุขารามมีวัดเก่าอยู่ก่อนหน้านั้น
สร้างขึ้นเมื่อ คริสตวรรษที่ 15 พระยืนที่สูงและใหญ่ที่สุดในหลวงพระบาง มีพระพักตร์ที่งดงามผ่องแผ้ว
ข้างหอพระยืนมีหอรอยพระพุทธบาทจำลอง ส่วนพระอุโบสถดูงดงามอลังการด้วยการ
ทาสีแดงและเขียนภาพสีทองลงบนพื้นแดงภายในมีการตกแต่งประดับประดาที่มีสีสัน
สวยสดงดงามหาที่ติ พระประธานมีความงามชดช้อย
วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
ชาวหลวงพระบาง เรียกสั้นๆว่า วัดใหม่ ซึ่งมีอายุในต้นศตวรรษ ที่ 19 และ เคยเป็นที่ประทับของ
สมเด็จพระสังฆราชลาว มาก่อน อุโบสถของวัดนี้สร้างด้วยเครื่องไม้มีหลังคาซ้อนกัน
ห้าชั้นตามแบบหลวงพระบาง กำแพงพระระเบียงด้านหน้า ทำเป็นลายรดน้ำปิดทองเล่าเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก
พระบางเคย ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และ ในวันปีใหม่จะมีการแห่แหน
พระบางออกมา ให้ประชาชนได้สักการะบูชากันที่นี่ ปัจจุบันวัดใหม่ใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม
พระราชวังหลวงพระบาง
พระราชวังหลวงพระบาง
ซึ่งตั้งอยู่ทางขึ้นภูษีทางบันไดด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ใกล้กับที่ตั้งของ พระราชวัง มีถนนศรีสว่างวงค์สายเล็กๆคั่นเอาไว้นักท่องเที่ยวจึงสามารถเดินเที่ยวชมพระราชวัง
ค่าเข้าชมที่นี่คนละ 10,000 กีบ ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1904 เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ ลักษณะ เป็นศิลปะแบบลาวผสมฝรั่งเศส มีแผนผังเป็นรูปกากบาท และ
สร้างฐานซ้อนกันหลายชั้น ห้องโถงด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐาน พระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของลาว
องค์พระสูง 83 เซนติเมตร พระหัตถ์แสดงปางอภัยมุทรา หล่อขึ้นด้วยทองคำ บริสุทธิ์เกือบทั้งองค์
รวมน้ำหนักทั้งสิ้นราว 43 ถึง 54 กิโลกรัม คามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นที่เกาะสิงหล
เมื่อราวศตวรรษ ที่ 1 เจ้าฟ้างุ้ม ทรงได้รับพระราชทานจากกษัตริย์เขมรมาอีกต่อหนึ่ง แต่ก็ต้องตกไปอยู่ในเมืองสยาม
ถึงสองครั้ง ปี 1779 และ 1827 จน ปี 1867 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงโปรดเกล้าฯ
พระราชทานกลับคืน ไปให้ภายในห้องยังมีฉากลับแลผ้าไหมปักลวดลาย ด้วยฝีมือ ประณีตและงาช้างแกะสลัก
อีกไม่น้อยที่เหลือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภาพบุดคล บรรณาการจากต่างชาติ และ งานศิลปะมากมาย
และงานประดับกระเบื้องอยู่รอบๆตัวอาคาร และ ยังมีโรงละครภายในราชวัง ตรงข้ามหอพระบาง
ซึ่งเย็นวันนี้จะมีการแสดง พระลักษณ์ พระราม ในเวลา 18.00 น. เป็นการแสดงของนักเรียน
ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดการแสดงไม่นานนี้เองซึ่งใช้เวลาที่นี่ ต้องก่อน 11.00 น. เพราะพระราชววังจากปิด
รับประทานอาหารเที่ยง และ นอนพัก ซึ่งที่นี่จะเปิดอีกที ก็ประมาณ 13.00 น.
วัดวิชุนราช
ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงพระบาง
ถนน วิชุนราช ค่าเข้าชมคนละ 5,000 กีบ ในบรรดาวัดทั้งหมดของเมืองหลวงพระบางเป็นต้องยกให
้วัดวิชุน ในความแปลกที่พระธาตุเจดีย์ รูปโค้งมนเหมือนผลแตงโม และ เจดีย์รูปทรงแปลกตานี้เอง
ที่กระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรมของลาวยกให้มีความสำคัญ ความโดดเด่น ของวัดวิชุน แม้เพียงนั่งรถผ่านไปถนนวิชุนราชก็ จะแลเห็นเจดีย์รูปแตงโมผ่าครึ่งนี้สะดุดตา
และ ภายในพระอุโบสถของวัดวิชุน ด้านหลังของพระประธานมีโบราณวัตถุที่เก็บรวบรวมมาจากวัดร้างต่างๆ
ในหลวงพระบาง เช่น พระพุทธรูปสำริด ไม้จำหลัดลวดลายต่างๆ พระพุทธรูปไม้แกะสลักลงรัก
ปิดทองเท่าคนจริงจำนวนมาก
พระธาตุจอมษีบนยอดเขาสูงสุดของภูษี
สถานที่ท่องเที่ยที่นิยมมากที่สุดที่ไม่ควรพลาด เป็นสเมือน "ถ้ามาถึงหลวงพระบาง ไม่ได้ขึ้นยอดเขาภูษีถือว่าไม่ถึง
หลวงพระบาง หรือ เที่ยวเชียงใหม่ แล้วไม่ขึ้นไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ก็มาไม่ถึงเชียงใหม่เช่นเดียวกัน"
ยอดเขาภูษี เพื่อจะชมความงามของพระอาทิตย์ตกดิน ยอดเขา ภูษี เป็นยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร
ตั้งอยู่ใจกลางเมือง หลวงพระบาง การได้เดินขึ้นไปบนยอดเขาภูษี 328 ขั้น ทำให้เห็นเมืองหลวงพระบาง
และ เห็นสายลำแม่น้ำโขงและ แม่น้ำคานอย่างชัดเจน และ ใกล้นี้เองก็ชมพระธาตุจอมสี ตั้งอยู่บนยอดสูงของภูษี
พระธาตุสามารถมองเห็นได้แต่ไกลรอบๆเมือง หลวงพระบาง ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริด 7 ชั้น สูงประมาณ 21 เมตร ช่วงที่งดงามมากที่สุด
คือช่วงบ่าย แสงแดดจะสาดส่องมายังที่พระธาตุให้เห็นเป็นสีทองเหลืองอร่ามตา มีทางเดินรอบๆพระธาตุ
นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินกันที่นี่ สเมือนที่นี่เป็นจุดนัดพบของเหล่านักท่องเที่ยวนานาชาติ
ที่กระหายหาความงดงามของพระอาทิตย์ยามอัสดงอย่างแน่นหนาทีเดียว
ตลาดม้ง
ตลาดม้ง
เป็นตลาดของชาวม้งที่อาศัยอยู่บริเวณรอบหลวงพระบาง เป็นชนกลุ่มน้อย
กลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และ มีบทบาทในประเทศลาวมาก ตลาดม้งเป็นตลาดที่
เป็นสินค้าจากชาวเขาเผ่าม้งของลาว เช่น ผ้าทอปักลวดลายต่างๆ เช่น
ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าห่ม เสื้อผ้า และ เครื่องเงิน ที่มีราคาถูกและ ย่อมเยาว์
ถ้ำติ่ง
"ถ้ำติ่ง"
ซึ่งเป็นสถานที่นักท่องเที่ยวนิยมจะมาแวะเยี่ยมชม ค่าเข้าชมถ้ำ
ก็คนละ 8000 กีบ หรือ 20 บาท ก็ได้ ถ้ำติ่งประกอบด้วย 2 ถ้ำแยกด้านขวาไปถ้ำติ่งลุ่ม (ล่าง)
แยกซ้ายไปถ้ำติ่งเทิง (บน) ถ้ำติ่งลุ่ม หรือ ถ้ำติ่งล่างนั้น สูง 60 เมตรจากพื้นน้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำตื้นเล็กๆ
มีหินงอกหินย้อย แต่ไม่ค่อยสวยเท่าไรนัก เป็นถ้ำที่มีพระพุทธรูปจำนวนมากมายหลายขนาด
ส่วนมากเป็นพระยืนซะส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ได้เล่าให้เราฟังว่า
"สมัยโบราณเป็นที่สักการะบวงสรวงวิญญาณ ผีฟ้า ผี แถน และ เทวดาผาติ่ง ถ้ำติ่งแสดงถึงยุคแห่ง
การปฏิวัติทางความเชื่อของชาวลาวในอดีตที่เคยนับถือผีพระเจ้าโพธิสารราชทรงเลื่อมใสพุทธศาสนา
เป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้ามา และ ทรงใช้ถ้ำติ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ทางพุทธศาสนา
มีการค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคริสตวรรษที่ 18-19 กว่า 2500 องค์ ส่วนใหญ่ทำจากไม้
เมื่อตอนค้นพบใหม่ๆมีพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งที่ทำด้วยเงิน และ ทองคำ แต่ถูกลอกออกไปหมด"
ส่วนถ้ำติ่งบนนั้นต้องเดินขึ้นไปบนเขาขึ้นบันไดประมาณ 200 ขั้น สองข้างทางร่มรื่นไปด้วยเงาไม้
มีห้องสุขาให้ไว้ คอยบริการสำหรับนักท่องเที่ยว สะดวกสบายมาก ถ้ำติ่งบนเป็นถ้ำไม่ค่อยลึกเท่าไร
มีพระพุทธรูปอยู่มนถ้ำแต่ไม่มากเท่ากับถ้ำติ่งล่าง
ลาว:การเดินทาง
การเดินทางไปยังประเทศลาว
โดยเครื่องบิน
ปัจจุบันมีเครื่องบินโดยสาร จาก ประเทศไทย สู่ ประเทศลาว มีดังต่อไปนี้
เส้นทาง กรุงเทพ-เวียงจันทร์ โดยสายการบิน
สายการบินไทย โทร 02-545-1000
สายการบินลาว โทร 02-236-9822-3
เส้นทาง กรุงเทพ-หลวงพระบาง โดยสายการบิน
สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ โทร 02-265-5555
สายการบิน ลาว โทร 02-236-9822-3
เส้นทาง เชียงใหม่-หลวงพระบาง โดยสายการบิน
สายการบินไทย โทร 02-545-1000
โดยรถโดยสารปรับอากาศ
เส้นทางเดินทางจาก กรุงเทพ สู่ เวียงจันทร์ ประเทศ ลาว
เดินทางจากรุงเทพ สู่ จังหวัด หนองคาย โดยรถโดยสารปรับอากาศ จาก สถานนีขนส่งหมอชิต ทุกวัน
บริษัท ขนส่งจำกัด
บริษัท เชิดชัย ทัวร์
บริษัท บารมี ทัวร์
บริษัท 407 พัฒนา
บริษัท รุ่งประเสิรฐทัวร์ 24 ที่นั่ง
โดยรถไฟ
มีรถไฟจาก กรุงเทพ สู่ หนองคายทุกวัน ติดต่อได้ที่ สถานนีรถไฟหัวลำโพง หรือ สำรองที่นั่งได้ที่ โทร
จากหนองคาย มีรถโดยสารประจำทาง ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทุกวัน ออกทุก 10 นาท คนละ 10 บาท
คุณสามารถเรียกรถสามล้อ จากสถานนีรถไฟ หรือ สถานนีรถขนส่ง คนละ 30 บาท เพียงแต่บอกว่าไปที่ท่ารถข้ามสะพาน
อย่าลืมต้องมีใบผ่านแดน หรือ วีซ่าให้เรียบร้อย
เส้นทาง กรุงเทพ-เชียงของ-ท่าทราย-หลวงพระบาง ขอบอกว่าเส้นทางนี้หฤโหดมาก
เดินทางจากรุงเทพ สู่ จังหวัด เชียงราย อำเภอเชียงของ โดย รถโดยสารปรับอากาศ จาก สถานนีหมอชิต ทุกวัน
บริษัท สยามเฟริสท์ ทัวร์ โทร 02-936-2953 หรือ 02-954-3601-7
ห้วยทราย-หลวงพระบาง
ด่านอำเภอเชียงของ จังหวัด เชียงราย อยู่ฝั่งตรงข้ามคือ ด่านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว อยู่ท่าเรือบั๊ค ด่านตรวจ
คนเข้าเมืองลาวที่ห้วยทรายสามารถขอวีซ่าแบบเร่งด่วน เดินทางเข้าประเทศลาวได่ โดยเสียค่าธรรมเนียมคนละ 30 US$
ในกรณีที่ไม่ได้ขอวีซ่ามาจากกรุงเทพ หรือ ทำใบผ่านแดนชั่วคราวก็ได้โดยเสียค่าธรรมเนียมทางฝั่งด่านตรวจ
คนเข้าเมืองไทยคนละ 35 บาท และ ด่านตรวจคนเข้าเมืองลาว ที่เมืองห้วยทราย อีกคนละ 90 บาท
สามารถอยู่ ห้วยทรายได้ 3 วัน 2 คืน จากเมืองห้วยทรายสามารถเดินทางไปยังเมืองหลวงพระบางได้โดยทางรถยนต์
แต่สภาพถนนไม่ค่อยดี ระยะทางประมาณ 473 กิโลเมตร อาจต้องใช้เวลาในการเดินทางหลายวัน เหมาะสำหรับ
นักท่องเที่ยวแบบ ประเภทแบกเป้ ไม่คำนึงถึงเรืองเวลา ซึ่งเหมาะที่จะแวะเที่ยวตามเมืองต่างๆที่เดินทางผ่านอย่าง
เช่นเมืองภูคา อุดมไชย ปากมอง หลังจากนั้นก็สิ้นสุดที่หลวงพระบาง หรือ หลวงน้ำทา และ
เดินทางต่อไปยังเมือง เชียงรุ้ง ประเทศจีนได้เช่นเดียวกัน
เมื่อถึงอำเภอเชียงของ สามารถติดต่อได้ที่ พี เจ ทัวร์ เพื่อติดต่อ เรือเดินทางจากห้วยทราย ไปยัง หลวงพระบาง
โดยทางเรือเร็ว ซึ่งทราบว่าเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนอนค้างคืนราคาคนละ 1,100 บาท (เส้นทางหฤโหดมาก )ลักษณะเป็นเรือหางยาวท้องแบน บรรทุกได้ 7-8 คน สำหรับการเดินทางด้วยเรือเร็วอาจจะเป็น
อันตรายต่อแก้วหู ดวรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง และ อุปกรณ์การช่วยหายใจ และ เบาะรองที่นั่ง
โดย เรือช้า ต้องนอนค้างคืนที่ ปากเบ็ง ราคาคนละ 800 บาท (เหมาะสำหรับคนไทย และ นักท่องเที่ยวแบบ แบกเป้มากที่สุด)มีที่พักราคาถูกที่ปากเม็งคอยบริการนักท่องเที่ยวใข้เวลาเดินทาง 2 วัน 1 คืน
เส้นทาง กรุงเทพ-นครพนม-ท่าแขก แขวง คำม่วนต่อไป เมือง วินห์ ประเทศ เวียดนาม
เส้นทาง กรุงเทพ-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต
เส้นทาง กรุงเทพ-อุบลราชธานี-ช่องเม็ก-ปากเซ
โดยเครื่องบิน
ปัจจุบันมีเครื่องบินโดยสาร จาก ประเทศไทย สู่ ประเทศลาว มีดังต่อไปนี้
เส้นทาง กรุงเทพ-เวียงจันทร์ โดยสายการบิน
สายการบินไทย โทร 02-545-1000
สายการบินลาว โทร 02-236-9822-3
เส้นทาง กรุงเทพ-หลวงพระบาง โดยสายการบิน
สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ โทร 02-265-5555
สายการบิน ลาว โทร 02-236-9822-3
เส้นทาง เชียงใหม่-หลวงพระบาง โดยสายการบิน
สายการบินไทย โทร 02-545-1000
โดยรถโดยสารปรับอากาศ
เส้นทางเดินทางจาก กรุงเทพ สู่ เวียงจันทร์ ประเทศ ลาว
เดินทางจากรุงเทพ สู่ จังหวัด หนองคาย โดยรถโดยสารปรับอากาศ จาก สถานนีขนส่งหมอชิต ทุกวัน
บริษัท ขนส่งจำกัด
บริษัท เชิดชัย ทัวร์
บริษัท บารมี ทัวร์
บริษัท 407 พัฒนา
บริษัท รุ่งประเสิรฐทัวร์ 24 ที่นั่ง
โดยรถไฟ
มีรถไฟจาก กรุงเทพ สู่ หนองคายทุกวัน ติดต่อได้ที่ สถานนีรถไฟหัวลำโพง หรือ สำรองที่นั่งได้ที่ โทร
จากหนองคาย มีรถโดยสารประจำทาง ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทุกวัน ออกทุก 10 นาท คนละ 10 บาท
คุณสามารถเรียกรถสามล้อ จากสถานนีรถไฟ หรือ สถานนีรถขนส่ง คนละ 30 บาท เพียงแต่บอกว่าไปที่ท่ารถข้ามสะพาน
อย่าลืมต้องมีใบผ่านแดน หรือ วีซ่าให้เรียบร้อย
เส้นทาง กรุงเทพ-เชียงของ-ท่าทราย-หลวงพระบาง ขอบอกว่าเส้นทางนี้หฤโหดมาก
เดินทางจากรุงเทพ สู่ จังหวัด เชียงราย อำเภอเชียงของ โดย รถโดยสารปรับอากาศ จาก สถานนีหมอชิต ทุกวัน
บริษัท สยามเฟริสท์ ทัวร์ โทร 02-936-2953 หรือ 02-954-3601-7
ห้วยทราย-หลวงพระบาง
ด่านอำเภอเชียงของ จังหวัด เชียงราย อยู่ฝั่งตรงข้ามคือ ด่านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว อยู่ท่าเรือบั๊ค ด่านตรวจ
คนเข้าเมืองลาวที่ห้วยทรายสามารถขอวีซ่าแบบเร่งด่วน เดินทางเข้าประเทศลาวได่ โดยเสียค่าธรรมเนียมคนละ 30 US$
ในกรณีที่ไม่ได้ขอวีซ่ามาจากกรุงเทพ หรือ ทำใบผ่านแดนชั่วคราวก็ได้โดยเสียค่าธรรมเนียมทางฝั่งด่านตรวจ
คนเข้าเมืองไทยคนละ 35 บาท และ ด่านตรวจคนเข้าเมืองลาว ที่เมืองห้วยทราย อีกคนละ 90 บาท
สามารถอยู่ ห้วยทรายได้ 3 วัน 2 คืน จากเมืองห้วยทรายสามารถเดินทางไปยังเมืองหลวงพระบางได้โดยทางรถยนต์
แต่สภาพถนนไม่ค่อยดี ระยะทางประมาณ 473 กิโลเมตร อาจต้องใช้เวลาในการเดินทางหลายวัน เหมาะสำหรับ
นักท่องเที่ยวแบบ ประเภทแบกเป้ ไม่คำนึงถึงเรืองเวลา ซึ่งเหมาะที่จะแวะเที่ยวตามเมืองต่างๆที่เดินทางผ่านอย่าง
เช่นเมืองภูคา อุดมไชย ปากมอง หลังจากนั้นก็สิ้นสุดที่หลวงพระบาง หรือ หลวงน้ำทา และ
เดินทางต่อไปยังเมือง เชียงรุ้ง ประเทศจีนได้เช่นเดียวกัน
เมื่อถึงอำเภอเชียงของ สามารถติดต่อได้ที่ พี เจ ทัวร์ เพื่อติดต่อ เรือเดินทางจากห้วยทราย ไปยัง หลวงพระบาง
โดยทางเรือเร็ว ซึ่งทราบว่าเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนอนค้างคืนราคาคนละ 1,100 บาท (เส้นทางหฤโหดมาก )ลักษณะเป็นเรือหางยาวท้องแบน บรรทุกได้ 7-8 คน สำหรับการเดินทางด้วยเรือเร็วอาจจะเป็น
อันตรายต่อแก้วหู ดวรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง และ อุปกรณ์การช่วยหายใจ และ เบาะรองที่นั่ง
โดย เรือช้า ต้องนอนค้างคืนที่ ปากเบ็ง ราคาคนละ 800 บาท (เหมาะสำหรับคนไทย และ นักท่องเที่ยวแบบ แบกเป้มากที่สุด)มีที่พักราคาถูกที่ปากเม็งคอยบริการนักท่องเที่ยวใข้เวลาเดินทาง 2 วัน 1 คืน
เส้นทาง กรุงเทพ-นครพนม-ท่าแขก แขวง คำม่วนต่อไป เมือง วินห์ ประเทศ เวียดนาม
เส้นทาง กรุงเทพ-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต
เส้นทาง กรุงเทพ-อุบลราชธานี-ช่องเม็ก-ปากเซ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)