บ้านดินถู่โหลวสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีการรักษาและสืบทอดจนถึงยุคปัจจุบันรวมอายุกว่า 800 ปี ลักษณะทั่วไปของบ้านดินมีรูปทรงเลขาคณิตที่แปลกตาทั้ง ทรงกลมและสี่เหลี่ยม บริเวณตรงกลางเปิดโล่ง มีโครงสร้างอาคารที่สลับซับซ้อน มีจำนวนห้องราว 100-200 ห้อง ห้องครัวและห้องอาหารอยู่ชั้นแรก ชั้นต่อมาได้แก่ห้องเก็บพืชผลทางการเกษตร ชั้นที่สามและสี่คือห้องนอน สำหรับบ้านในชั้นที่สองส่วนใหญ่จะเป็นห้องรับแขกซึ่งมีทั้งหมด 35 ห้อง นอกจากนั้นยังมีห้องสำหรับจัดพิธีคัญๆของบ้านเช่น งานแต่งงาน งานมงคลรื่นเริงต่างๆ | |||||
| |||||
| |||||
| |||||
| |||||
|
วันศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
บ้านดิน"ถู่โหลว"มรดกจีนมรดกโลก
วันอังคารที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ทำ linux Boot จาก USB Drive
Fedora 9 ก็ออกมาแล้วนะครับ แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ Fedora Live USB Creator ที่จะช่วยให้เราได้เล่น Fedora จากพวก อุปกรณ์ thumb drive ได้ง่ายขึ้น
โหลดโปรแกรมที่นี่ครับ liveusb-creator-2.3.zip
liveusb-creator
The liveusb-creator is a cross-platform tool for easily installing live operating systems on to USB flash drives.
Features
- Supports downloading various Fedora releases, including Fedora 9!
- Persistent overlay creation (only works with Fedora 9 right now). This lets you to allocate extra space on your USB stick, allowing you to save files and make modifications to your live operating system that will persist after you reboot. This essentially lets you carry your own personalized Fedora with you at all times
- SHA1 checksum verification of known releases, to ensure that you've downloaded the correct bits
Download
- Windows executable: liveusb-creator-2.3.zip (8.9M)
Using Fedora
- See the Fedora LiveCD USB HowTo for details on using the livecd-tools. Linux support for the liveusb-creator will exist in future versions.
Development
- See the liveusb-creator Developers Guide for more information.
Past releases
- If for some reason you wish to use an older release, you can find details here
Authors
แหล่งข้อมูล https://fedorahosted.org/liveusb-creator
ความแตกต่างระหว่าง UTF-8 กับ TIS-620
หลายคนคงสงสัยว่ามันจะมีชุดตัวหนังสือ UTF-8 (Unicode Transformation Format) ไปทำไม เราก็ยังใช้ TIS-620 ดีอยู่แล้วไม่เน่าไม่เสีย แต่เนื่องจากตอนนี้CMS หลายๆค่ายหันมาใช้(บังคับใช้) UTF-8 ของ Unicode (ผมเองก็ใช้ UTF-8) แล้วจะถ้าคิดใช้โปรแกรมใหม่ๆ CMS ตัวใหม่ๆ ในอนาคตทั้งหมดจะสนับสนุน UTF-8 อย่างเดียว เช่น AppServ เวอร์ชั่นออกมาใหม่จะเป็น UTF-8 MAMBO 4.6 , Joomla! 1.5 ก็จะใช้ชุด(บังคับ) UTF-8 เท่านั้น
UTF-8 เป็นที่มิยมมากเพียงแต่เราไม่ค่อยได้เห็นมันจะๆ จริงๆแล้ว UTF-8 มันอยู่รอบๆเรวเนี้ยครับ อย่างเช่น ชื่อไฟล์ภาษาไทยที่อยู่บน Windows XP นั้นก็เป็น UTF-8 แต่เรายังไม่รู้ตัว, Google (search engine) ก็ทำงานแบบ UTF-8 โดยที่เราไม่รู้ตัว อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมือถือที่เป็น OS Symbian, Pocket PC เค้าก็ใช้ UTF-8 กันแทบทั้งสิ้น เมื่อเห็นว่าอนาคตคงจะได้ใช้โปรแกรม ที่มันสนับสนุน ต่อไปนี้ถึงคราวสิ้นยุคทองของชุดตัวหนังสือ TIS-620 แล้ว
ความแตกต่างของ UTF-8 กับ TIS-620 มันอยู่ตรงใหน? ชุดตัวหนังสือ UTF-8 เนี้ยสามารถใช้กับภาษาอะไรก็ได้ โดยเราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน encoding เลย ถ้า website ของคุณมี 2 ภาษา มันก็โชว์ทั้ง 2 ภาษา (Multi language) ระบบ UTF-8 จะเก็บข้อมูล 1 - 4 ไบต์ต่อ 1 ตัวอักษร รายละเอียดอื่นๆ
อ่านเพื่มเติมที่นี่ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/UTF-8
แต่ว่าถ้ามองในแง่ลบ UTF-8 ก็ยังไม่ค่อยมีความจำเป็นเท่าไหร่นัก และยังเปลืองน้อยที่เก็บข้อมูลกว่าของเดิมถึง 3-4เท่า เพราะ แต่ละตัวจะประกอบไปด้วยชุด ” นะ ” แบบนี้ซึ่ง TIS-620 จะเขียนได้ว่า ” นะ ” จะเห็นได้ว่าพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ต้องเยอะขึ้นตามไปด้วย แต่ก็มีข้อดีอยู่บ้างในเรื่องการรองรับหลายภาษา (muli-language) และเราสามารถแปลงตัวอักษรจากแบบ UTF-8 มาเป็นแบบ TIS-620 โดยสามารถใช้ฟังก์ชัน iconv ครับ ใครอยากรู้ลองเข้าไปดูคำสั่งนี้แบบเต็มๆได้ที่นี่ครับ http://www.php.net/manual/en/function.iconv.php ส่วนถ้าต้องการ convert จาก UTF-8 มาเป็น TIS-620 ก็ใช้ประมาณนี้ครับ
echo iconv(’UTF-8, ‘TIS-620′, “helloสวัสดีครับ”); หรือถ้าจาก TIS-620 มาเป็น UTF-8 ก็ประมาณนี้ครับ
echo iconv( ‘TIS-620′, ‘UTF-8′, “helloสวัสดีครับ”); ซึ่งคำสั่งนี้ถูกหยิบยืมมาจาก library บน unix ที่มีชื่อว่า GNU libiconv ครับ ไปดูรายละเอียดได้ที่นี่ http://www.gnu.org/software/libiconv/ แต่ก่อนที่จะใช้คำสั่งนี้ได้ ต้องไป config ในไฟล์ php.ini โดยให้เอา comment บรรทัดนี้ออกครับ extension=php_iconv.dll และให้เอาไฟล์ php_iconv.dll ไปใส่ไว้ที่ c:\windows\system32 ด้วยครับ แล้ว restart apache ใหม่ ก็จะสามารถใช้ได้ครับ
ฟังก์ชัน iconv ใช้ด้กับ PHP5 เท่านั้นนะครับ
ข้อดีของ UTF-8
- รองรับได้หลายภาษา แน่นอนที่สุดสำหรับผมเลือกใช้เพราะสาเหตุนี้
- ภาษาโปรแกรมมิ่งทั้งหลายรองรับ UTF-8
- เข้ากันได้ดีกับรหัส ASCII
- การแปลงเป็น Charset ชนิดอื่นไม่ยุ่งยากโดยใช้ ICONV
- สามารถเรียงลำดับอักษรภาษาไทยได้ 100% ไม่มีผิดเพี้ยน
ข้อเสียของ UTF-8
- มีปัญหาการทำงานกับฟังก์ชั่นในบางภาษา
- ภาษาไทยไม่ได้มีเพียงแค่ TIS-620 (มีทั้ง CP874, MacThai)
- อ้างอิงจาก http://www.gnu.org/software/libiconv/
- เสียเวลาในการเขียนโปรแกรมแปลงฐานข้อมูล และไฟล์ให้เป็น UTF-8
- การออกแบบฐานข้อมูล (Field) ต้องไม่ยึดติดกับความกว้างตัวอักษรแบบเดิม เพราะ UTF-8 จะเก็บเป็น Byteสรุปคือต้องขยายความกว้าง Field เกือบทุก Field ที่เป็น Varchar เพื่อรองรับ UTF-8
แหล่งข้อมูล: http://iaee.wordpress.com
|
Remote ด้วย VNC
ก่อนอื่นจะต้องมี 2 ตัวนี้ก่อนนะครับ
sack@utopia sack]$ rpm -q vnc vnc-server
vnc-4.0-8.1
vnc-server-4.0-8.1
หากมีแล้วก็ลงมือได้เลยครับ
sudo vi /etc/sysconfig/vncservers
แล้วเพิ่มคำสั่งนี้ตรงท้ายไฟล์
VNCSERVERS="1:sack" ## ใช้ชื่อตาม user นะครับผมเองใช้ชื่อ sack
จากนั้น cd ~ ก่อนครับ เพื่อสร้างรหัสผ่านและไฟล์ที่จำเป็นต่างๆ ของ vnc
[sack@utopia sack]$ vncpasswd
Password:
Verify:
[sack@utopia sack]$ ls -d .vnc
.vnc
[sack@utopia sack]$ ls .vnc
passwd
[sack@utopia sack]$
[sack@utopia sack]$ cd .vnc
[sack@utopia .vnc]$ ls
passwd utopia:1.log utopia:1.pid xstartup
[sack@utopia .vnc]$
แล้ไปแก้ไขไฟล์ xstartup ครับ
vi startup
เอา # หน้า 2 บรรทัดนี้ออก
unset SESSION_MANAGER
exec /etc/X11/xinit/xinitrc
เซฟไฟล์แล้ว start service vnc ครับ
[sack@utopia sack]$ sudo /sbin/service vncserver restart
Shutting down VNC server: 1:sack [ OK ]
Starting VNC server: 1:sack [ OK ]
[sack@utopia sack]$
จากนั้นก็ใช้งานได้เลยครับ
[sack@utopia sack]$ vncviewer localhost:1
หรือจะ remote จาก xp ก็ต้องหา vncviewer มาลงก่อนครับ โหลดได้จาก http://www.realvnc.com/ ครับ ฟรี..... ลงเสร็จเรียบร้อยก็เปิดโปรแกรมเลยครับ
http://www1.tumserver.com/tumserver/content-tumserver/1-article/53-remote-vnc.html
crontab โปรแกรมตั้งเวลาบน Linux
crontab บน Linux
คำสั่ง crontab เป็นคำสั่งในการทำ schedule ในการสั่งโปรแกรม หรือ script ต่างๆ ทำงานตามเวลาที่กำหนด บนระบบ UNIX/LINUX
ซึ่งอำนวยความสะดวกได้มากเลยที่เดียว งานบางอย่างที่จำเป็นต้องทำซ้ำๆในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือ ทุกเดือน
การใช้งาน crontab
คำสั่งและ option ของ crontab มีดังนี้
Code:
crontab filename การนำเอาคำสั่ง crontab เข้ามาจาก ไฟล์อื่น
crontab -e แก้ไข crontab ปัจจุบัน
crontab -l ดูคำสั่ง crontab ทั้งหมดที่มีอยู่
crontab -r ลบคำสั่ง crontab ที่มีทั้งหมด
crontab -u user เป็นคำสั่งของผู้ดูแลระบบเท่านั้น(administrators) เพื่อใช้ดู แก้ไข ลบ crontab ของ user แต่ล่ะคน
เมื่อเรียกคำสั่งตามข้างบนแล้ว crontab จะเข้าสู่ระบบการ กำหนด หรือ แก้ไข ซึ่งการ กำหนด หรือแก้ไขนี้ จะเหมือนกับการใช้งาน vi ครับ
ถ้าใครเคยใช้งาน vi แล้วก็จะไม่มีปัญหาอะไร ถ้าไม่เคยใช้ ก็ดูคำสั่งพื้นฐานของ vi ด้านล่างนะครับ
เมื่อเรียกโปรแกรม crontab ให้ทำงานและขณะอยู่ในโปรแกรม เราสามารถกดคีย์ ดังต่อไปนี้เพื่อ
Code:
Esc เพื่อออกมาสู่โหมดปกติ
i เพื่อการเพิ่ม คำสั่ง ข้อความ เข้าไปใหม่
x ลบ ตัวอักษรที่ cursor วางอยู่ ทีละอักษร ในโหมดปกติ
dd ลบบรรทัด ทั้งบรรทัด ที่ cursor วางอยู่ทีละแถว ในโหมดปกติ
:q! ออกโดยไม่ต้องแก้ไขอะไร
:wq! เก็บบันทึกข้อความที่แก้ไขแล้วออกจากโปรแกรม
คำสั่งเหล่านี้เป็นแค่บางส่วนเท่านั้น แต่ก็พอใช้งานคำสั่ง crontab แล้วล่ะครับ ถ้าใครอยากได้มากกว่านี้ต้องศึกษาเพิ่มเอาอีกที
การกำหนดให้ crontab ทำงาน
------------------------------------
format ของคำสั่ง crontab มีทั้งหมด 6 fields เป็นดังบรรทัดข้างล่าง
Code:
minute(s) hour(s) day(s) month(s) weekday(s) command(s)
fields 1-5 เป็นการกำหนดเวลา และ field ที่ 6 เป็นการกำหนดคำสั่ง ดังความหมายของแต่ละ fields ดังต่อไปนี้
Code:
...................................................................................................................................
Field มีค่า รายละเอียด
.....................................................................................................................................
minute 0-59 เวลาเป็นนาที จะสั่งให้คำสั่งที่กำหนดทำงานทันทีเมื่อถึง
hour 0-23 เวลาเป็นชั่วโมง จะสั่งให้คำสั่งที่กำหนดทำงานทันทีเมื่อถึง
day 1-31 เวลาเป็นวัน จะสั่งให้คำสั่งที่กำหนดทำงานทันทีเมื่อถึง
month 1-12 เวลาเป็นเดือน จะสั่งให้คำสั่งที่กำหนดทำงานทันทีเมื่อถึง
weekday 0-6 วันของแต่ละสัปดาห์ มีค่าดังนี้ (อาทิตย์ = 0, จันทร์ = 1, อังคาร = 2, พุธ = 3, พฤหัส = 4, ศุกร์ = 5 และ เสาร์ = 6)
command คำสั่ง เราสามารถกำหนดคำสั่งได้มากมาย รวมทั้ง script ต่างๆ ตามที่เราต้องการ
ตัวอย่างการกำหนด crontab
การเพิ่ม crontab โดยเรียกใช้คำสั่ง crontab -e เมื่อเข้าสู่โปรแกรมแล้ว กด i เพื่อเพิ่ม คำสั่งดังตัวอย่างด้านล่างนี้เข้าไป แล้วทำการบันทึก
แล้วออกมาโดยกด Esc แล้วกด :wq!
Code:
0 8 * * * /usr/bin/mplayer /home/tuxzilla/music/คุณครูครับ.mp3
จากคำสั่งด้านบนจะเป็นการสั่งให้โปรแกรม mplayer เล่นเพลง คุณครูครับ.mp3 ตอน 08:00 น. ของทุกๆวัน (เวลาตื่นนอนของผมเอง)
Code:
0 0 * * 1 /home/tuxzilla/getlogs.pl
จากคำสั่งด้านบน จะทำการ Run script getlogs.pl ที่ path /home/tuxzilla ทุกวันจันทร์ ทุกๆเดือน ตอนเที่ยงคืน
Code:
0 0 * * 1,5 /home/tuxzilla/getlogs.pl
คำสั่งนี้เหมือนคำสั่งด้านบนครับ แต่จะเพิ่มการทำงานในวันศุกร์ด้วย ซึ่งเราสามารถใช้ "," คั่นไปเรื่อยๆได้
เพื่อที่จะกำหนดเพิ่มให้แต่ล่ะ fields หรือใช้ "*"
เพื่อการกำหนดเป็นทั้งหมด(หมายความว่า หากที่ field ชั่วโมง เป็น * ก็หมายความว่าต้องทำงานทุกชั่วโมง)
ถึงจะมีหลาย user ในเครื่องเดียวกันแต่ยังไง crontab ก้ยังเป็นของใครของมันไม่กวนกันครับ และไม่สามารถดูของกันและกันได้ นอกจากเป็น
ผู้ดูแลระบบครับ ถึงตรงนี้แล้วก็คงไม่มีอะไรยากเกินกว่าแล้ว หากแต่ความสะดวกเท่านั้นที่จะมาแทนที หรือใครจะเอามาเป็นนาฬิกา อย่างผมก็ไม่ว่าครับ
คำสั่งเพิ่มเติมที่ควรรู้
------------------------
man crontab
man cron
man at
man batch[/u]
แหล่งข้อมูล
http://itweb.lib.ru.ac.th/webboard/00255.html
Linux Server กับ Windows Server อะไรดีกว่ากัน ?
Linux Server กับ Windows Server อะไรดีกว่ากัน ? |
Linux Server กับ Windows Server อะไรดีกว่ากัน ? ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องแม่ข่าย ( Server) ที่ทำงานบน PC นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ค่ายใหญ่ๆ ซึ่งก็คือ Microsoft มี Microsoft Windows Server 2003 เป็นหัวหอกหลัก และค่าย Linux ซึ่งมี Red Hat Enterprise Linux เป็นทัพหน้า ระบบปฏิบัติการทั้งสองพยายามที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดซึ่งกันและกัน โดยขับเคี่ยวอย่างหนัก ตลอดมา แต่ไม่ว่าไมโครซอฟต์จะพยายามอย่างไรก็ตาม Linux ก็ยังจะเป็นตัวเลือกแรกสำหรับ Network Admin เสมอ เราลองมาดูกันบ้างดีกว่าว่า Linux เหนือกว่า Windows ตรงไหน ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายเลือก Linux ก็คือฟรี !! และยังคงมีความเชื่อกันว่า Linux ปลอดภัย กว่า Windows ถึงแม้ว่าในการประชุม RSA Conference เมื่อวันที่ 14-18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาจะแสดงให้เห็นว่าระบบ ปฏิบัติการ Microsoft Windows Server มีชัยเหนือ Linux ในด้านระบบรักษาความปลอดภัยก็ตาม แม้ว่าระบบปฏิบัติการ Windows จะมีไวรัสและโทรจันหลายตัวมุ่งทำลาย แต่เมื่อมีการค้นพบช่องโหว่ใหม่ๆในระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟต์จะออก แพตช์ตามมาโดยเฉลี่ยภายใน 30 วันทันที ซึ่งแตกต่างจากในกรณีของ Red Hat Linux ซึ่งกว่าจะมีการออกแพตช์ออกมา จะใช้เวลาโดยเฉลี่ยถึง 71 วัน ปัจจัยถัดมาที่ทำให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายเลือก Linux ก็คือมันสามารถใช้คำสั่ง UNIX ในการจัดการกับตัวระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายเดียวในปัจจุบันที่ไม่มีระบบ Directory Service ซึ่งไม่ว่าจะเป็น Solaris การจัดการระบบ Linux จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากการติดตั้งระบบเครือข่ายบน Linux ให้มีประสิทธิภาพนั้น แต่จุดอ่อนที่ทำให้ Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ได้รับความนิยมน้อยกว่า Linux ก็คือเป็นระบบ แต่ในเมื่อ Windows ยังครองตลาด Desktop และ Mobile Computing อยู่ ทำให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ สนใจที่จะ Windows System ยังมีระบบ Group Policy ที่สามารถกำหนดความสามารถของ User หรือ Computer ได้ ไม่ว่า สุดท้ายนี้ ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายใดก็ตาม ก็ขอให้มันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และคุ้มค้าที่สุดสำหรับองค์กร บทความโดย LittleGates |
ติดตั้ง Update dyndns.org และ ปัญหา Dynamic DNS True ทรู
ปัญหา Dynamic DNS True ทรู Update ไม่ได้
วิธีแก้ให้ไปแก้ http://checkip.dyndns.org ให้เป็น http://checkip.dyndns.org:8245 ในโปรแกรม DynDNS Updater
หรือไปแก้ที่ config addns.pl ที่ Webcheck เป็น checkip.dyndns.org:8245
เพราะให้ทำงานผ่าน port 8245 ให้ใช้งานได้
ตัวอย่างการใช้งาน Dynamic DNS
เริ่มต้นที่ระบบเครือข่ายภายในบ้าน/สำนักงานของเราก่อน แน่นอนว่าจะต้องมีระบบแลนพร้อมทั้งเร้าเตอร์เพื่อการเข้าสู่อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ดังรูปที่ 2 สำหรับท่านที่ใช้ลีนุกซ์เป็นเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ ควรเซ็ตโปรแกรมในส่วน Apache ให้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้เรียบร้อย ในตัวอย่างนี้ผู้เขียนกำหนดให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์นี้มีหมายเลขไอพีเป็น 192.168.0.20จากนั้นให้เปิดเว็บบราวเซอร์เข้าไปตั้งค่าการทำงานของเร้าเตอร์ วิธีการอาจจะแตกต่างกันไปดังที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว กรณีของผู้เขียนใช้ 3Com OfficeConnect ADSL Router จึงเซ็ตค่า ทดสอบการทำงานได้ง่ายๆ โดยอาจจะลองเปิดดูเว็บไซต์โดยใช้หมายเลขไอพีของเร้าเตอร์ขณะนั้น ( ใช้เมนูแสดงสถานะของเร้าเตอร์ แล้วอาจจะโทรไปวานเพื่อนให้ช่วยทดลองเข้าเว็บด้วยไอพีนี้ก็ได้ ) ถ้าเข้าเว็บเซิร์ฟเวอร์ของเราได้แสดงว่าระบบ NAT หรือ Virtual Servers ของเราทำงานได้แล้วต่อไปให้เข้าสู่เว็บไซต์ผู้ให้บริการ Dynamic DNS ซึ่งในตัวอย่างนี้เลือกใช้บริการของ http://www.dyndns.org
ในขั้นตอนการลงทะเบียนจะต้องกำหนด ชื่อสมาชิก รหัสผ่าน ชื่อโฮสต์และโดเมนที่เลือกใช้งาน ( ผู้เขียนเลือก mycom.homelinux.com ) เมื่อมีการตอบกลับผ่านทางอีเมล์แล้วดาวน์โหลดโปรแกรม Addns.pl จาก http://www.funtaff.com/software/addns.pl/ ซึ่งเป็น Freeware ขนาดเพียง 17.3 KB เท่านั้น ให้แตกไฟล์ addns-1.2.tar.gz ลงที่ /root แล้วเข้าสู่ไดเร็คทอรี่ /root/addns-1.2 จะเห็นไฟล์ที่ addns.pl เป็นตัวโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Perl ไฟล์ addns.conf.sample เป็นไฟล์คอนฟิกตัวอย่างที่เราจะสำเนาไปใช้งานในชื่อ /etc/addns.conf และไฟล์ README ที่เป็นเอกสารคู่มือเพียงชิ้นเดียวที่มีอยู่แต่ก็เพียงพอต่อการศึกษาเพื่อใช้งานแล้ว ในการติดตั้งให้สำเนาไฟล์ addns.pl ไปไว้ที่ /usr/local/sbin การคอนฟิกโปรแกรมควรเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับบริการ DynDNS.org ไว้ให้พร้อม ได้แก่
คั่นระหว่างแต่ละชื่อ
การสั่งให้โปรแกรมทำงานทำได้โดยสั่งโดยตรงจากบรรทัดคำสั่ง โดยพิมพ์ในฐานะ root จะปรากฏผลการทำงานทั้งบนจอภาพและเก็บไว้ที่ Log ด้วย ซึ่งในการใช้งานจริงควรกระตุ้นการทำงานด้วยโปรแกรม Cron โดยตั้งเวลาให้ทำงานทุกๆ 1-3 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้วสำหรับอินเตอร์เน็ตแบบ ADSL ที่มีลักษณะเป็น Always Online ในกรณีที่เราทำการปรับปรุงหมายเลขไอพีไปยัง DynDNS.org ถี่เกิดไปนั้น จะได้รับการปฏิเสธจากเซิร์ฟเวอร์โดยเป็นนโยบายของผู้ให้บริการอยู่แล้ว ดังนั้นการปรับปรุงหมายเลขไอพีซ้ำจึงไม่เกิดผลเสียแต่อย่างใด นอกจากทำให้ไฟล์ Log ของเราเพิ่มขนาดโดยไม่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งในส่วนการดูแล Log ควรบริหารไฟล์ Log นี้ด้วยระบบ Log Rotate ด้วยจะลดภาระผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์ลงไปได้ |
แหล่งข้อมูล
http://www1.tumserver.com/tumserver/content-tumserver/1-article/73-update-dydnsorg.html
Command MySQL ผู้ดูแลระบบ
วันนี้ขอเขียนเกี่ยวกับ MySQL บ้างครับ เพราะวันนี้ได้ติดตั้ง MySQL Version ใหม่บน RedHat Enterprise 3 เลยได้โอกาสในการทบทวนความรู้ของ mysql ด้วย เพราะนานมากแล้วครับที่ไม่ค่อยได้ยุ่งเกี่ยวกับ mysql เลย วันนี้ผมขอรวบรวม command line ที่ควรทราบเบื้องต้นครับ เล็กๆน้อยๆก่อนครับ วันหลังมีเวลาหรือได้ศึกษาเพิ่มเติมจะเข้ามาเขียนเพิ่มเรื่อยๆครับ อย่างน้อยผมคิดว่าสามารถเปิดมาดูได้ เวลาปฏิบัติงาน
commandline ที่ควรทราบสำหรับ mysql
===============================
คำสั่งในการเปลี่ยน password ของ root สำหรับ mysql
mysqladmin -u root password new-password
หรืออาจจะใช้อีกวิธี คือเมื่อทำการติดตั้ง mysql เสร็จใหม่ๆ password สำหรับ root จะไม่มี ดังนั้นเราสามารถเข้าสู่ command line ของ mysql ได้ดังนี้
#mysql -u root -p
mysql>
เราสามารถเปลี่ยน password ได้จาก command นี้
mysql>set password = password("enterpassword")
mysql>
คำสั่ง Create Database
mysql> create database databasename;
คำสั่งแสดง database
mysql> show databases;
คำสั่งเข้าใช้ database
mysql> use databasename;
คำสั่งแสดง table ใน database
mysql> show tables;
คำสั่งดูข้อมูลของ table
mysql> describe tablename;
ต่อไปเป็นคำสั่งในการสร้าง database
คำสั่งสร้าง database
mysql> create database databasename;
คำสั่งลบ database
mysql> drop database databasename;
การ backup mysql
===================
ตัวอย่างการใช้ mysqldump ในการ backup mysql
mysqldump -u username -p database_name > /path/backup.sql
เป็นการ backup ทุก table ใน database ที่ชื่อ database_name ไปไว้ที่ไฟล์ backup.sql สามารถ Restart กลับคืนได้ด้วยคำสั่ง
mysql -u username -p database_name < /path/backup.sql
แต่ถ้าต้องการบีบอัดไฟล์ที่ backup ก็สามารถทำได้โดยใช้ command
mysqldump -u username -p db_name | gzip > backup.sql.gz
ซึ่งเวลาคล้ายการบีบอัดไฟล์ก็ใช้คำสั่ง
gunzip backup.sql.gz
เราสามารถเขียน shell script ให้ทำการ backup ทุกๆวันได้ ซึ่ง shell script อาจจะเขียนได้ดังนี้
#!/bin/sh
date=`date -I`
mysqldump --opt --all-databases | gzip
> /var/backup/databasebackup-$date.sql.gz
จาก shell script เป็นการ backup ทั้ง database ที่มีอยู่
เปิด /etc/my.cnf
ในส่วนของ [mysqld] ใส่คำนี้เพิ่ม
skip-grant-tables
ทำการ save แล้ว restart mysqld ด้วยคำสั่ง
service mysqld restart
เข้าไปแก้ password ดังนี้
mysql -uroot mysql>use mysql; mysql> update user set Password = PASSWORD('pass') where User ='root'; mysql> FLUSH PRIVILEGES; mysql> exit |
เสร็จแล้วเอาค่า skip-grant-tables ออกใน /etc/my.cnf
แล้ว restart mysqld ใหม่ คำสั่ง
service mysqld restart
การ Backup Database MySql ผมว่าทำได้ค่อนข้างง่ายและสะดวกดี นอกจากนี้ยังสามารถดูผลการ backup ได้ง่ายๆ ด้วยเนื่องจากจะถูกสร้างออกมาเป็น SQL statement ที่สามารถอ่านได้ไม่ยากครับ จริงๆการทำการ backup อาจจะใช้ phpMyAdmin ทำก็ได้ แต่หลังจากผมลองใช้ mysqldump ดูแล้ว พบว่าการใช้ mysqldump เร็วกว่ากันแบบเทียบไม่ติด และยังสามารถทำให้เป็น auto ก็ได้โดยใช้ร่วมกัน cron บน unix ครับ ก่อนอื่นมาดู format ของ command ดูก่อนครับ
mysqldump --user [username] --password=[password] [databasename] > [dump file]
โดย --user [username] ก็ใช้ใส่ username ของ database เข้าไปครับ หรือ password ก็ให้ใส่ password ที่ใช้กับ username ที่ระบุเข้าไปครับ หากไม่มี username และ password ก็ไม่ต้องใส่เข้าไปครับ ส่วน databasename ก็คือชื่อ database ที่เราจะทำการ backup ครับ dump file ก็เป็น file backup ที่เราจะเก็บเอาไว้ครับ ลองดูตัวอย่าง เช่น database ชื่อ abc , username เป็น user1 และ password เป็น pass1 ให้เก็บไว้ใน dump file ชื่อ back.sql ก็ใช้ command ได้ดังนี้ครับ
mysqldump --user user1 --password=pass1 abc > back.sql
จะเห็นว่าไม่ยากเลยนะครับ หรือหากเป็น database ชื่อ abc แต่ไม่ได้สร้าง username กับ password ไว้ และให้เก็บไว้ใน file back.sql ก็สามารถระบุได้ดังนี้ครับ
mysqldump abc > back.sql
ครับเมื่อเรา backup database กันได้แล้วคราวนี้มาดูวิธีการ restore กันบ้างครับ วิธีการก็ไม่ยากครับ ใช้คำสั่ง mysql ได้เลยครับ โดยมี format ประมาณนี้ครับ
mysql [database name] < [backup file name]
เช่นเราจะเอาคืนจาก file ที่เรา backup ไว้เมื่อกี้ ก็
mysql abc2 <>
หรือหากเรามี username กับ password ด้วยก็เหมือนกันครับคือ
mysql --user user1 --password=pass1 abc2 <>
ซึ่งจะเห็นว่าผม restore กลับมาที่ database อีกตัวชื่อ abc2 ครับ ซึ่งก่อนจะ restore ได้ก็ต้องสร้าง database ตัวนี้ขึ้นมาก่อนนะครับ
เอาเป็นว่าผมจบแค่นี้ก่อนครับ จริงๆยังมี option ของ mysqldump อีกนิดหน่อย แต่คิดว่าคงน่าจะไม่ได้ใช้เท่าไหร่ ทำ backup
ข้อมูลจาก :: http://www1.tumserver.com/tumserver/content/74-command-mysql--.html
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วิธีเปิดไฟล์ DjVu
วิธีเปิดไฟล์ DjVu
DjVu (pronounced "déjà vu") is a new image compression technology developed since 1996 at AT&T Labs to solve precisely that problem. DjVu allows the distribution on the Internet of very high resolution images of scanned documents, digital documents, and photographs. DjVu allows content developers to scan high-resolution color pages of books, magazines, catalogs, manuals, newspapers,historical or ancient documents, and make them available on the Web.
หลายคนนะครับที่ไปดาวน์โหลดไฟล์เอกสารต่างๆ มาอ่าน เมื่อคลาย zip ออกมาแล้ว ปรากฏว่าต้องงงกันอีกรอบ นั้นเป็นเพราะ พบกับนามสกุลไฟล์ที่ไม่คุ้นเคย นามสกุลไฟล์ที่พบกับเป็นนามสกุล .djvu เปิดอย่างไรก็เปิดไม่ได้ ครั้นจะลบทิ้งก็เสียดาย เพราะใช้เวลาดาวน์โหลดมานานพอสมควร งานนี้ เรียกว่ากลืนไม่เข้า คายไม่ออกเลยหละครับ
แต่ไม่ต้องเป็นห่วงครับ ผมมีวิธีเปิดอ่านง่ายๆ คล้ายกับไฟล์จำพวก PDF ทั่วๆ ไป ครับ เราสามารถเปิดอ่านโดยใช้ Web Browser อย่าง IE หรือ จะเป็นหมาย่างอย่าง FireFox ก็ได้ แต่จำเป็นต้องมีตัวช่วยนิดหน่อยครับ ตัวช่วยที่ว่านี้เป็น Plug in ตัวเล็กๆ ที่ดาวน์โหลดมาติดตั้งได้ไม่เกิดหนึ่งนาทีก็สามารถเปิดอ่านเอกสารออนไลน์ได้แล้ว วิธีการมีดังนี้ครับ
เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.lizardtech.com/download/dl_download.php?detail=doc_djvu_plugin&platform=win ไฟล์มีขนาดเพียง 900 Kb. สามารถทำเป็น Auto Install ได้เลยครับ คล้ายกับติดตั้ง Plug in อย่าง Flash Player ครับ
หรือจะไปที่
http://www.lizardtech.com/download/d...CNTL_61_EN.EXE
บอกอีกนิดครับ Plug in ตัวนี้ สามารถใช้งานได้ทั้ง MS Windows, Linux และ Mac OS ครับ
วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เปิดโลกมืดด้วยหนังสือเสียง
เปิดโลกมืดด้วยหนังสือเสียง โยธิน อยู่จงดี สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ คำคำนี้สามารถใช้ได้กับทุกคน เว้นแต่ผู้พิการทางสายตาจำนวนกว่า 2 ล้านคนในประเทศไทย ที่ขาดโอกาสทางการมองเห็นโลกกว้างและรับรู้เรื่องราวต่างๆ ด้วยตาของเขาเอง ข้อมูลข่าวสารเดียวที่เขาสามารถรับรู้ได้ก็คือข้อมูลทางการฟังและการสัมผัส โดยมี 2 สื่อ สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ยังประสบปัญหาขาดแคลนก็คือ หนังสือเบรลล์ และหนังสือเสียง สำหรับหนังสือเบรลล์นั้นค่อนข้างไปได้ด้วยดี มีโปรแกรมและเครื่องพิมพ์ที่จะเปลี่ยนจากตัวอักษรปกติไปเป็นอักษรเบรลล์ได้อย่างรวดเร็ว แต่หนังสือเสียงนั้นอย่างไรเสียก็ต้องใช้ “คน” ในการอ่านหนังสือแต่ละเล่มจนจบ เพราะใช่ว่าผู้พิการทางสายตาทุกคนจะสามารถอ่านอักษรเบรลล์ได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงได้เกิดโครงการสร้างหนังสือเสียงเพื่อคนตาบอด เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการผลิตหนังสือเสียงเพื่อผู้พิการทางสายตาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น โครงการหนังสือเสียง “พรจากฟ้า” ของบริษัท การบินไทย หรือ โครงการ “อ่านหนังสือ เพื่อคนตาบอดไทย” ของร้านบีทูเอส หรือจะเป็นโครงการผลิตหนังสือเสียงของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยเอง ก็ล้วนแต่เปิดมาเพื่อรอนักอ่านคนดี มาร่วมแบ่งปันความสุขให้ผู้พิการทางสายตาด้วยกันทั้งสิ้น คำแนะนำจากนักอ่านใจดี เป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมงที่หญิงสาว 2 คนได้เข้าไปนั่งอ่านหนังสือเรื่องดอกแก้ว ซึ่งเป็นหนังสือนวนิยายที่ห้องอัดเสียงจัดเตรียมไว้ให้ ปิ่นปัญญา เรียงรุ่งโรจน์ ผู้ช่วยนักวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เข้ามาอ่านหนังสือเสียงเป็นครั้งแรก หลังจากถูกหว่านล้อมอยู่นานจากรุ่นน้องผู้แสนน่ารักคนหนึ่ง “การเข้ามาอ่านหนังสือเสียงที่นี่เป็นครั้งแรก หลังจากที่รุ่นน้องในที่ทำงานชวนให้มาอ่านอยู่หลายเดือน เพราะน้องเขาก็เข้ามาอ่านหลายครั้ง วันนี้พอเราได้เข้ามาอัดเสียงแล้วเรารู้สึกว่า เราภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม แต่ก่อนเราอ่านหนังสือคนเดียวก็อ่านในใจไปได้เรื่อยๆ แต่พอมาอ่านหนังสือเสียงเราต้องอ่านให้ดี ให้ชัดเจน ไม่ขาดตกบกพร่อง ต้องนึกถึงคนฟังตลอดเวลา “การอ่านหนังสือเสียงนั้นจะต่างกับการอ่านหนังสือทั่วไปที่เราอ่านในใจ ซึ่งเราจะอ่านได้เร็วกว่าและไม่ต้องสนใจเรื่องการออกเสียงมากนัก แต่พอเรามาออกเสียงจะกลายเป็นคนละเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกเสียง ร.เรือ ต้องชัดเจน คำควบกล้ำ ล.ลิง ต้องไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป จึงกลายเป็นว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้ามาอ่านได้ทั้งหมด บางคนที่มีปัญหาเรื่องสำเนียงการอ่านไม่ชัดเจนจะกลายเป็นปัญหาสำหรับการฟังของคนตาบอดได้ “ทางที่ดีก็คือ ควรจะซ้อมก่อนการอ่านทุกครั้งถ้าเป็นไปได้ เพื่อความรวดเร็วในการอ่าน แรกๆ คงจะมีติดขัดบ้าง คิดว่าถ้ามาอัดเสียงครั้งต่อๆ ไปเราจะอ่านได้คล่องขึ้น” ปิ่นปัญญา เล่าอย่างมีความสุข หลังออกมาจากห้องผลิตหนังสือเสียงบีทูเอส เพื่อคนตาบอด ชั้น 3 สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ การผลิตหนังสือเสียงที่บีทูเอส เจ้าหน้าที่ประจำห้องผลิตหนังสือเสียงบีทูเอส บอกว่า คิวอัดเสียงของเดือน พ.ย. ได้ถูกจองจนเต็มตั้งแต่เดือนที่แล้ว มีทั้งคนเก่าคนใหม่ผลัดกันเข้ามาอ่านไม่ขาดสาย โดยเราจะเปิดให้อาสาสมัครลงชื่อเพื่อจองห้องอัดเสียงไว้ล่วงหน้า 1 เดือน เพราะมีคนให้ความสนใจสมัครอ่านหนังสือเสียงเป็นจำนวนมาก สำหรับเครื่องไม้เครื่องมือในการอ่านมีเพียงคอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน และซอฟต์แวร์สำหรับอัดเสียง ผู้ที่เข้ามาใช้งานครั้งแรกเราจะแนะนำการใช้งานซอฟต์แวร์ในเบื้องต้น ซึ่งการใช้งานนั้นไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เพราะตัวซอฟต์แวร์ในห้องอัดเสียงอย่างโปรแกรม Plextalk เองก็จัดว่าง่ายต่อการใช้งาน มีลูกเล่นในการตัดต่อเสียงสำหรับการอ่านหนังสือเสียงเพื่อคนตาบอดโดยเฉพาะ สิ่งสำคัญก็คือ การอ่านออกเสียงต้องชัดเจน ไม่ดัง ไม่ค่อยจนเกินไป ร.เรือ คำควบกล้ำ การเว้นวรรค ต้องชัดเจน การอ่านเว้นวรรคที่ผิดจะทำให้ความหมายนั้นผิดเพี้ยนไป เช่น ห้ามสุภาพสตรีใส่กางเกง (วรรค) ในสถานที่ราชการ ความหมายก็ชัดเจน แต่ถ้าเราอ่านเว้นวรรคเป็น ห้ามสุภาพสตรีใส่กางเกงใน (วรรค) สถานที่ราชการ ความหมายจะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากทีเดียว พรจากฟ้า ห้องอัดหนังสือเสียงทั่วประเทศ เราเชื่อว่าการอ่านหนังสือเสียงคงมีนักอ่านหลายคนสนใจอยากจะเป็นอาสาสมัครบ้าง แต่ติดที่ว่าไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือ และยังมีห้องบันทึกเสียงแต่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น โครงการอ่านหนังสือเสียง “พรจากฟ้า” ของการบินไทย จึงได้สร้างห้องสำหรับอ่านบันทึกเสียงเคลื่อนที่ไว้ถึง 2 ห้อง เพื่อตระเวนไปตั้งไว้ตามจังหวัดใหญ่ๆ ทั่วประเทศ ให้นักอ่านต่างจังหวัดได้มีโอกาสทำความดีถวายในหลวงบ้าง เพราะโครงการนี้ได้นำหนังสือพระราชนิพนธ์ และหนังสือรวมพระราชดำริ มาเป็นหัวข้อหลักในการอ่านเพื่อส่งมอบกับหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป ธีระสิน แสงรังษี ผู้จัดการกองบริหารงานข่าว การบินไทย บอกกับเราว่า โครงการอ่านหนังสือเสียง พรจากฟ้า นั้นเป็นโครงการเพื่อให้ผู้พิการทางทางสายตาได้ฟังหนังสือพระราชนิพนธ์ และพระบรมราโชวาทที่สำคัญๆ จากเสียงของอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ซึ่งนอกจากอาสาสมัครจะได้อ่านหนังสือพระราชนิพนธ์ให้ผู้พิการทางสายตาได้ฟังแล้ว ตัวเขาเองก็ยังได้อ่านเรื่องราวดีๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมอบให้แก่ปวงชนชาวไทยอีกด้วย “นอกจากนี้ เรายังหวังด้วยว่าเมื่ออาสาสมัครได้อ่านหนังสือแล้ว วันหนึ่งเมื่อเขาเกิดปัญหาชีวิตขึ้นมา เขาอาจจะนำแนวทางพระราชดำรัสไปช่วยแก้ปัญหาชีวิตในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งเป็นเป้าหมายลึกที่เราได้ตั้งใจทำโครงการนี้ขึ้นมา” ในการอ่านหนังสือเสียงเพื่อคนตาบอดในโครงการพรจากฟ้านั้น จะมีเจ้าหน้าที่ของโครงการให้คำแนะนำและเทรนเรื่องการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องในระดับหนึ่งก่อน จากนั้นเวลาอัดเสียงเจ้าหน้าที่จะเป็นคนคอยกำกับการอ่าน ให้ชัดเจนถูกต้องอีกครั้ง เพื่อจะได้นำเสียงที่อาสาสมัครอัดไว้นำไปใช้ได้จริง หรือจะขอสำเนาเสียงใส่แผ่นซีดีกลับบ้านเป็นความทรงจำที่ดีๆ ครั้งหนึ่งในชีวิตก็ได้ แต่ถ้าไม่สะดวกในการเข้าร่วมโครงการอ่านหนังสือเพื่อคนตาบอดดีๆ ทั้ง 2 โครงการ ชนิดาภา เพ็ชรรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด บอกว่า ยินดีรับอาสามาสมัครทุกคนเข้าโครงการห้องสมุดเสียง ซึ่งที่ผ่านมานั้นมีอาสาสมัครจำนวนมากที่เสนอตัวเข้ามาช่วย ซึ่งเราก็ยินดีเปิดรับทุกคน ไม่ว่าจะเข้ามาอ่านในห้องอัดเสียงของทางสมาคม ส่งมาเป็นเทป หรือว่าจะส่งมาเป็นไฟล์ดิจิตอล เรารับได้หมด เพียงแค่โทรศัพท์มาลงชื่อ เราจะมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำเรื่องการอ่าน หรือต้องการอ่านหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อของทางสมาคมก็เสนอชื่อเข้ามาก่อน เพราะว่าสมาคมเองจะมีการคัดเลือกหนังสือที่ดีที่สุดเท่านั้น เพื่อเก็บไว้ในห้องสมุดเสียงของทางสมาคม อย่างหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ หนังสือที่มีชื่อเสียงระดับโลก และหนังสือที่ให้ความรู้ข่าวสารต่างๆ เป็นต้น ปัจจุบันโครงการห้องสมุดเสียงของเรามีกำลังผลิตหนังสือเดือนละ 5-10 เล่ม จนถึงปัจจุบันเรามีหนังสือเสียงมากกว่า 5,000 เล่มในห้องสมุดของเราแล้ว การอ่านหนังสือเสียงนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเริ่มลงมือทำเมื่อไหร่ อย่ามัวแต่รอเพราะโอกาสในการทำความดีนั้นไม่ได้หายากและลำบากเลย แต่ต้องรีบหน่อย เพราะคนที่รออยู่คือผู้พิการทางสายตา ที่รอโอกาสอ่านหนังสือเสียงดีๆ จากทุกๆ คน โชคดีที่ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีด้านเสียงมากมายเข้ามาช่วยในการทำงานง่ายมากขึ้น แต่ก่อนนั้นการหาซื้อวอล์กแมนแต่ละเครื่องราคาสูงหลายพันบาท แต่เดี๋ยวนี้เครื่องเล่นเอ็มพี 3 ราคาไม่ถึง 1.5 พันบาทก็สามารถใช้งานได้ดีเท่ากัน สิ่งที่เรากำลังจะบอกก็คือ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีเครื่องเล่นที่มีความสามารถในการอัดเสียง และเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว คุณก็เป็นอีกคนหนึ่งที่สามารถช่วยผู้พิการทางสายตานับล้านคน ให้เขาได้ฟังหนังสือเสียงดีๆ สักเล่มด้วยตัวของคุณเอง และต่อไปนี้คือเทคนิคในการทำหนังสือเสียงด้วยตัวคุณเองอย่างง่ายๆ กันครับ ขั้นตอนการบันทึกหนังสือเสียงด้วยตัวเอง 1.อ่านก่อนสัก 1 รอบ การซ้อมอ่านหนังสือเล่มที่เราจะทำเป็นหนังสือเสียงก่อนสัก 1 รอบจะช่วยให้การอัดเสียงเป็นไปด้วยความง่ายดายมากขึ้น โดยการอ่านในรอบแรกนั้นเราจะทำเครื่องหมายเว้นวรรคการอ่าน รวมทั้งการมาร์กตำแหน่งสุดท้ายที่เราจะหยุดบันทึกไฟล์เป็นช่วงๆ ในขั้นตอนแรกนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะนอกจากทำให้เรารู้จังหวะตอนอ่านอัดเสียงว่าควรจะหยุดช่วงไหนแล้ว ยังสามารถสร้างอารมณ์ในการอ่านได้ตรงกับเนื้อหาได้ดีขึ้น เช่นประโยคที่สื่อถึงความเศร้า เราจะอ่านเสียงเรียบก็ฟังดูแปลกๆ อยู่ และที่สำคัญก็คือการอัดเสียงจะทำให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วมากขึ้น 2.ห้องอัดเสียงอย่างง่ายๆ คราวนี้ก็มาถึงการหาห้องอัดเสียงกัน ห้องอัดเสียงสำหรับผู้พิการทางสายตาสำหรับอาสาสมัครนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นห้องที่เลิศหรูบุด้วยฉนวนกันเสียงอย่างดี เพียงแต่เป็นห้องในบ้าน หรือที่ทำงานที่มีความเงียบในระดับหนึ่งไม่ต้องถึงกับวังเวง ก็สามารถใช้เป็นห้องอัดเสียงได้แล้ว หรือจะใช้รถยนต์ส่วนตัวไปจอดในที่เงียบสงบอัดเสียงก็ได้เช่นกัน 3.อ่านย่อหน้าละ 1 ไฟล์ หลายท่านสงสัยว่าทำไมต้องอ่านย่อหน้าละ 1 ไฟล์ ความชอบตรงนี้คงต้องยกให้แนวคิดของโปรแกรม Plextalk ของห้องผลิตหนังสือเสียงบีทูเอสเพื่อคนตาบอด โปรแกรมนี้จะใช้การจับเสียงและเซฟของมูลเป็นวรรคๆ และนำมารวมกันเป็นไฟล์เสียงเดียวในขั้นตอนสุดท้าย ข้อดีของมันก็คือ ถ้าเราอ่านพลาดในวรรคไหนเราก็ไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปตั้งต้นใหม่ เพียงแค่ลบไฟล์เสียงที่เราอ่านพลาดออกไปแล้วอ่านประโยคที่ถูกต้องซ้ำอีกครั้ง คราวนี้ในขั้นตอนการอัดของเราก็เพียงแต่อ่านตามสเต็ปที่เราทำเครื่องหมายในขั้นตอนแรกเอาไว้ พอจบหนึ่งย่อหน้า เราก็บันทึกไฟล์ลงในเครื่องอัดเสียงดิจิตอลแล้วเริ่มขั้นตอนการอัดย่อหน้าต่อไปในไฟล์ใหม่ อาจดูยุ่งยากไปสักหน่อย แต่สำหรับมือใหม่หัดอ่านจะช่วยให้เราไม่ต้องเริ่มต้นอ่านไกลจากจุดที่อ่านพลาดมากนัก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราคิดว่าอ่านได้คล่อง จะเพิ่มเป็น 2 ย่อหน้าต่อ 1 ไฟล์ก็ไม่ว่ากัน 4.ปรับความดังอย่างน้อย 10-20 เดซิเบล ในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยการอัดเสียงที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น โดยอาศัยการฟังระดับความดังเป็นพักๆ ก็ได้ แต่ทั้งนี้คำแนะนำจากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยก็คือ อ่านให้ดังและชัดเจนเข้าไว้ ที่เหลือเรายังสามารถนำมาปรับได้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 5.ใช้โปรแกรมรวมเสียง มาถึงขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการรวมเสียง โปรแกรมที่ใช้ในการรวมเสียงนั้นก็มีอยู่หลายโปรแกรม แต่โปรแกรมที่เราขอแนะนำก็คือ โปรแกรมนีโร เวฟ เอดิเตอร์ (Nero wave editor) โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมตัดต่อเสียงธรรมดาตัวหนึ่งที่ไม่ได้มีลูกเล่นอะไรมากมายนัก แต่สิ่งสำคัญที่คิดว่าทุกคนน่าจะชอบก็คือ เป็นฟรีโปรแกรมที่มักจะแถมมาตอนซื้อเครื่องเขียนแผ่นซีดีหรือดีวีดี โดยเวอร์ชันที่เราแนะนำเป็นเวอร์ชันที่ 6 (ปัจจุบันโปรแกรมนีโรจะอยู่เวอร์ชันที่ เริ่มต้นการรวมไฟล์เสียงเข้าด้วยกันก็เพียงแค่เปิดโปรแกรมนีโร เวฟ เอดิเตอร์ ขึ้นมา... 5.1 ไปที่ File > Open เปิดไฟล์แรกของหนังสือเสียงที่เราอัดไว้ รอสักพักโปรแกรมจะทำการสแกนข้อมูลเสียง 5.2 จากนั้นให้เลือกที่ Edit > Insert File เพื่อเลือกไฟล์เสียงอันต่อไป เอามาต่อกับไฟล์แรก รอโปรแกรมสแกนไฟล์สักพักจะเห็นว่าความยาวของไฟล์เสียงนั้นเพิ่มมากขึ้น ให้เลือกคำสั่ง Edit > Insert File เปิดไฟล์เสียงต่อไปเรื่อยๆ จนจบบท 5.3 จากนั้นให้ทำการเซฟไฟล์ File > Save เลือกนามสกุลไฟล์เป็น Mp3 หรือ Mpeg4 ตั้งชื่อเป็นบทที่อ่าน ปิดไฟล์ จากนั้นให้ทำซ้ำตามขั้นตอนที่ 5.1-5.3 ในบทต่อๆ ไปจนจบเล่ม สุดท้ายในขั้นตอนการเขียนแผ่นซีดีเพื่อส่งไปยังสมาคมคนตาบอดฯ ให้เลือกเป็นโหมดการเขียนข้อมูล แทนการบันทึกเป็นแผ่นเสียง เพราะเมื่อถึงมือสมาคมผู้เชี่ยวชาญในห้องอัดเสียงจะนำไปปรับแต่งอีกครั้งตามความเหมาะสมครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมละครับสำหรับการอ่านหนังสือเพื่อผู้พิการทางสายตาที่คุณเองก็ทำได้ เหตุผลที่ผมให้เลือกใช้เครื่องอัดเสียงดิจิตอลอย่างเครื่องเล่นเอ็มพี 3 ก็เพราะราคาไม่แพงมาก บวกกับความคล่องตัวใช้งานสูง สำหรับผู้ที่สนใจเป็นอาสาสมัครแต่ไม่มีความรู้เรื่องการใช้โปรแกรมมากนัก อาจจะอัดเสียงตามขั้นตอนที่ 1-3 จากนั้นเซฟใส่คอมพิวเตอร์ ตั้งชื่อไฟล์เรียงลำดับให้ชัดเจนแล้วส่งให้สมาคมคนตาบอดฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยดำเนินการต่อให้ก็ได้ เท่านี้เราก็อิ่มบุญ สุขใจ ได้ความรู้ แถมยังได้หัดพูดภาษาไทยที่ถูกต้องกันอีกด้วย ถ้าเราสนใจอ่านหนังสือเสียงที่บีทูเอส โทร.สอบถามไปได้ที่ 02-646-1270-3 ต่อ 365 โครงการอ่านหนังสือเสียง “พรจากฟ้า” ในช่วงนี้จะตั้งอยู่ที่เซ็นทรัลแอร์พอร์ต เชียงใหม่ ถึงวันที่ 2 ธ.ค. 2550 เซ็นทรัลเฟสติวัล ภูเก็ต ถึงวันที่ 2 ธ.ค. 2550 และที่บริษัท การบินไทย สำนักงานใหญ่ ในวันที่ 4-11 ธ.ค. ติดต่อร่วมเป็นอาสาสมัครอ่านหนังสือเสียงได้ที่ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด โทร. 02-583-6518 หรือ 02-962-5818 ต่อ 12, 13, 14 28-11-50 http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=magazine&id=206140 |
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
Norah Jones::นอราห์ โจนส์ เจ้าหญิงเพลงแจซซ์
| หากจะกล่าวถึงศิลปินหญิงที่มากด้วยความสามารถและมีน้ำเสียงที่ไพเราะจับใจแล้วละก็ นอราห์ โจนส์ คือชื่ออันดับต้น ๆ ในใจของนักฟังเพลงทั่วโลก และในอนาคตข้างหน้าเธออาจก้าวเข้ามาเป็นนักแสดงชั้นนำของใครต่อใครอีกหลายคน เนื่องจาก ว่าเธอกำลังมีผลงานภาพยนตร์รักหวาน ฉ่ำครั้งแรกเรื่อง My Blueberry Nights หรือชื่อไทยว่า “มาย บลูเบอร์รี ไนท์ 300 วัน 5,000 ไมล์ ห่างไกลไม่ห่างกัน” และมีโปรแกรมเข้าฉายบ้านเรา 20 มีนาคมนี้ ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (2008-03-16) ข้อมูลเพิ่ม : http://www.norahjones.com |
วันเสาร์ที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 "สมัคร สุนทรเวช"
"นายสมัคร สุนทรเวช" เป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร ( เสมียน สุนทรเวช ) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร ( อำพัน จิตรกร ) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี ( สุ่น สุนทรเวช ) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร ( จันทร์ จิตรกร ) จิตรกรประจำสำนัก
นายสมัครเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คนดังนี้
- พ.อ.(พิเศษ) พ.ญ.มยุรี พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎ
- นางเยาวมาลย์ ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว
- พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษา ทอ. (ถึงแก่กรรมแล้ว)
- นายสมัคร สุนทรเวช
- นายมโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- นายสุมิตร สุนทรเวช - นักการเมือง
นายสมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ที่ปรึกษาด้านการเงิน ของบริษัทใน เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีบุตรสาวฝาแฝด คือ กานดาภา และกาญจนากร ปัจจุบันสมรสแล้วทั้งคู่ จากการที่ภรรยาทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินของภรรยา มั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ นายสมัคร จึงมิได้ทำงานประจำกับหน่วยงานใด โดยได้ทำงานด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516
ประวัติการศึกษา
- ก่อนประถม โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม
- ประถม โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา
- มัธยม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- อาชีวะ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
- อุดมศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศึกษาเพิ่มเติม
- ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- Dip. in Accounting and Business Administration จาก Bryant & Stratton College สหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
- พ.ศ. 2496 : เจ้าหน้าที่สอนเครื่องลงบัญชีไฟฟ้า National Cash Registered Co.,Ltd. (พ.ศ. 2496-2497)
- พ.ศ. 2497 : เสมียนแผนกรถยนต์ และภายหลังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Barrow Brown Co.,Ltd. (พ.ศ. 2497-2502)
- พ.ศ. 2502 : ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Loxley Bangkok Co.,Ltd. (พ.ศ. 2502-2504)
- พ.ศ. 2504 : Free Lance Guide, World Travel Service Co.,Ltd. (พ.ศ. 2504-2506)
- พ.ศ. 2507 : ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2507-2509)
- พ.ศ. 2510 : Dietary Aid, Fox Rever Rehabilitation Hospital, Chicago U.S.A. (พ.ศ. 2510-2511)
- พ.ศ. 2512 : ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัท เอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2512-2513)
- พ.ศ. 2513 : ผู้บริหารฝ่ายขาย John Deere Thailand Co.,Ltd. (พ.ศ. 2513-2514)
- พ.ศ. 2514 : เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2514-2516)
- พ.ศ. 2516 : ลาออกจากงานประจำและทำงานการเมืองอย่างเดียวเรื่อยมา เนื่องจากภรรยามีรายได้มั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวแล้ว
ประวัติทางการเมือง
นายสมัครเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง
ตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายสมัครได้รับการแต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในหลายกระทรวง ได้แก่
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 3 (20 เมษายน พ.ศ.2519 - 23 กันยายน พ.ศ. 2519)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2 (30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร (7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
สรุปประวัติทางการเมืองได้ดังนี้
- พ.ศ. 2511 : เข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511 - 2519)
- พ.ศ. 2514 : สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้ง เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514)
- พ.ศ. 2516 : สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค.16) และ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.16)
- พ.ศ. 2518 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ม.ค. 2518)
- พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ.ศ. 2519 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2519)
- พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519 - 2520)
- พ.ศ. 2522 : ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2522)
- ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523 - 2526)
- พ.ศ. 2526 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2526)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2526 - 2529)
- พ.ศ. 2529 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2529)
- ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529 - 2531)
- พ.ศ. 2531 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2531)
- ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531 - 2533)
- พ.ศ. 2533 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2533 - 2534)
- พ.ศ. 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มี.ค. 2535)(ก.ย. 2535)
- ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535 - 2538)
- พ.ศ. 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2538)
- พ.ศ. 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พ.ย. 2539)
- พ.ศ. 2543 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543 - 2547)
- พ.ศ. 2550 : รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
- พ.ศ. 2551 : นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2518 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2519 ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2520 รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ ๒ )
พ.ศ. 2522 ประถมภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2524 ประถมภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2526 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2527 ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2527 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2539 ประถมดิเรกคุณาภรณ์
พ.ศ. 2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
งานอื่นๆ
- เขียนบทความ และความคิดเห็นทางการบ้านการเมืองแบบไม่ประจำใน สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง 2516
- เขียนบทความการเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย (พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2520)
- เขียนบทความในคอลัมน์ประจำ (มุมน้ำเงิน) หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง พ.ศ. 2537
- ผู้ดำเนินรายการ ชิมไปบ่นไป
- ผู้ดำเนินรายการ เช้าวันนี้..ที่เมืองไทย ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง5
อินเดีย : มองอินเดียมุมใหม่
| 1 ใน 2 ชาติจากเอเชีย ที่เหล่าประเทศตะวันตกกำลังกลัวเกรงที่สุดว่าจะกลาย เป็นชาติผู้ทรงอิทธิพลของโลกในอนาคตอันใกล้นี้ก็คือประเทศจีนและอินเดีย ไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่าทั้งสองประเทศมีวัฒนธรรมอันเก่าแก่สืบย้อนไปได้ไกลกว่าหลายประเทศในตะวันตกหลายเท่าเท่านั้น แต่ทั้งจีนและอินเดียในเจเนอเรชั่นปัจจุบัน นับได้ว่ากระจายอิทธิพลและมีบทบาทอยู่ในแวดวงต่างๆ...โลกเคยจารึกชื่ออินเดียไว้ มีทั้งนางงามโลกและนางงามจักรวาล มีผู้กำกับที่ยืนอยู่ |
จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคสินค้าหรูหราของชาวอินเดียโดยนิตยสาร Time พบว่าที่ผ่านมาไม่มีแบรนด์หรูต่างชาติยี่ห้อไหนที่จะโค่นแบรนด์หรูที่ผลิตโดยคนอินเดียเองได้เลย แบรนด์หรูซึ่งเป็นที่นิยม 6 อันดับ ตกเป็นแบรนด์อินเดียเอง 3 อันดับด้วยกัน...