ปัญหา Dynamic DNS True ทรู Update ไม่ได้
วิธีแก้ให้ไปแก้ http://checkip.dyndns.org ให้เป็น http://checkip.dyndns.org:8245 ในโปรแกรม DynDNS Updater
หรือไปแก้ที่ config addns.pl ที่ Webcheck เป็น checkip.dyndns.org:8245
เพราะให้ทำงานผ่าน port 8245 ให้ใช้งานได้
ตัวอย่างการใช้งาน Dynamic DNS
เริ่มต้นที่ระบบเครือข่ายภายในบ้าน/สำนักงานของเราก่อน แน่นอนว่าจะต้องมีระบบแลนพร้อมทั้งเร้าเตอร์เพื่อการเข้าสู่อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ดังรูปที่ 2 สำหรับท่านที่ใช้ลีนุกซ์เป็นเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ ควรเซ็ตโปรแกรมในส่วน Apache ให้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้เรียบร้อย ในตัวอย่างนี้ผู้เขียนกำหนดให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์นี้มีหมายเลขไอพีเป็น 192.168.0.20จากนั้นให้เปิดเว็บบราวเซอร์เข้าไปตั้งค่าการทำงานของเร้าเตอร์ วิธีการอาจจะแตกต่างกันไปดังที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว กรณีของผู้เขียนใช้ 3Com OfficeConnect ADSL Router จึงเซ็ตค่า ทดสอบการทำงานได้ง่ายๆ โดยอาจจะลองเปิดดูเว็บไซต์โดยใช้หมายเลขไอพีของเร้าเตอร์ขณะนั้น ( ใช้เมนูแสดงสถานะของเร้าเตอร์ แล้วอาจจะโทรไปวานเพื่อนให้ช่วยทดลองเข้าเว็บด้วยไอพีนี้ก็ได้ ) ถ้าเข้าเว็บเซิร์ฟเวอร์ของเราได้แสดงว่าระบบ NAT หรือ Virtual Servers ของเราทำงานได้แล้วต่อไปให้เข้าสู่เว็บไซต์ผู้ให้บริการ Dynamic DNS ซึ่งในตัวอย่างนี้เลือกใช้บริการของ http://www.dyndns.org
ในขั้นตอนการลงทะเบียนจะต้องกำหนด ชื่อสมาชิก รหัสผ่าน ชื่อโฮสต์และโดเมนที่เลือกใช้งาน ( ผู้เขียนเลือก mycom.homelinux.com ) เมื่อมีการตอบกลับผ่านทางอีเมล์แล้วดาวน์โหลดโปรแกรม Addns.pl จาก http://www.funtaff.com/software/addns.pl/ ซึ่งเป็น Freeware ขนาดเพียง 17.3 KB เท่านั้น ให้แตกไฟล์ addns-1.2.tar.gz ลงที่ /root แล้วเข้าสู่ไดเร็คทอรี่ /root/addns-1.2 จะเห็นไฟล์ที่ addns.pl เป็นตัวโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Perl ไฟล์ addns.conf.sample เป็นไฟล์คอนฟิกตัวอย่างที่เราจะสำเนาไปใช้งานในชื่อ /etc/addns.conf และไฟล์ README ที่เป็นเอกสารคู่มือเพียงชิ้นเดียวที่มีอยู่แต่ก็เพียงพอต่อการศึกษาเพื่อใช้งานแล้ว ในการติดตั้งให้สำเนาไฟล์ addns.pl ไปไว้ที่ /usr/local/sbin การคอนฟิกโปรแกรมควรเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับบริการ DynDNS.org ไว้ให้พร้อม ได้แก่
คั่นระหว่างแต่ละชื่อ
การสั่งให้โปรแกรมทำงานทำได้โดยสั่งโดยตรงจากบรรทัดคำสั่ง โดยพิมพ์ในฐานะ root จะปรากฏผลการทำงานทั้งบนจอภาพและเก็บไว้ที่ Log ด้วย ซึ่งในการใช้งานจริงควรกระตุ้นการทำงานด้วยโปรแกรม Cron โดยตั้งเวลาให้ทำงานทุกๆ 1-3 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้วสำหรับอินเตอร์เน็ตแบบ ADSL ที่มีลักษณะเป็น Always Online ในกรณีที่เราทำการปรับปรุงหมายเลขไอพีไปยัง DynDNS.org ถี่เกิดไปนั้น จะได้รับการปฏิเสธจากเซิร์ฟเวอร์โดยเป็นนโยบายของผู้ให้บริการอยู่แล้ว ดังนั้นการปรับปรุงหมายเลขไอพีซ้ำจึงไม่เกิดผลเสียแต่อย่างใด นอกจากทำให้ไฟล์ Log ของเราเพิ่มขนาดโดยไม่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งในส่วนการดูแล Log ควรบริหารไฟล์ Log นี้ด้วยระบบ Log Rotate ด้วยจะลดภาระผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์ลงไปได้ |
แหล่งข้อมูล
http://www1.tumserver.com/tumserver/content-tumserver/1-article/73-update-dydnsorg.html