วันอังคารที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

Linux Server กับ Windows Server อะไรดีกว่ากัน ?

Linux Server กับ Windows Server อะไรดีกว่ากัน ?





Linux Server กับ Windows Server อะไรดีกว่ากัน ?
ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องแม่ข่าย ( Server) ที่ทำงานบน PC นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ค่ายใหญ่ๆ
ซึ่งก็คือ Microsoft มี Microsoft Windows Server 2003 เป็นหัวหอกหลัก และค่าย Linux ซึ่งมี Red Hat Enterprise
Linux เป็นทัพหน้า ระบบปฏิบัติการทั้งสองพยายามที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดซึ่งกันและกัน โดยขับเคี่ยวอย่างหนัก
ตลอดมา แต่ไม่ว่าไมโครซอฟต์จะพยายามอย่างไรก็ตาม Linux ก็ยังจะเป็นตัวเลือกแรกสำหรับ Network Admin เสมอ
เราลองมาดูกันบ้างดีกว่าว่า Linux เหนือกว่า Windows ตรงไหน

ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายเลือก Linux ก็คือฟรี !! และยังคงมีความเชื่อกันว่า Linux ปลอดภัย
กว่า Windows ถึงแม้ว่าในการประชุม RSA Conference เมื่อวันที่ 14-18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาจะแสดงให้เห็นว่าระบบ
ปฏิบัติการ Microsoft Windows Server มีชัยเหนือ Linux ในด้านระบบรักษาความปลอดภัยก็ตาม แม้ว่าระบบปฏิบัติการ
Windows จะมีไวรัสและโทรจันหลายตัวมุ่งทำลาย แต่เมื่อมีการค้นพบช่องโหว่ใหม่ๆในระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟต์จะออก
แพตช์ตามมาโดยเฉลี่ยภายใน 30 วันทันที ซึ่งแตกต่างจากในกรณีของ Red Hat Linux ซึ่งกว่าจะมีการออกแพตช์ออกมา
จะใช้เวลาโดยเฉลี่ยถึง 71 วัน

ปัจจัยถัดมาที่ทำให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายเลือก Linux ก็คือมันสามารถใช้คำสั่ง UNIX ในการจัดการกับตัวระบบ
ปฏิบัติการได้ทันที ซึ่งแตกต่างจากในกรณีของ Windows Server ซึ่งหากผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้นเคยชินกับระบบ
UNIX มาก่อน ก็ย่อมจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การใช้งานบน Windows Server ใหม่ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม Linux ยังสามารถ
คงความเร็วในการใช้งานไว้ได้อย่างดี ยกเว้นในสภาพของการใช้งานบน X-Window ซึ่งทำให้ระบบช้าลงอย่างเห็นได้ชัด

Linux เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายเดียวในปัจจุบันที่ไม่มีระบบ Directory Service ซึ่งไม่ว่าจะเป็น Solaris
หรือ Netware รวมทั้ง Microsoft Active Directory ด้วย การที่ Linux ไม่มีบริการ Directory Service นั้นความจริง
ทำให้ Linux ด้อยลงกว่าผู้ผลิตระบบปฏิบัติการเครือข่ายรายอื่นอย่างเห็นได้ชัด เพราะว่า Directory Service จะทำให้เกิด
การบริการแบบรวมศูนย์ (Centralized Management) และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการพิสูจน์ตัวตน
( Authentication) กับเซิร์ฟเวอร์อีกด้วย ระบบ Directory Service ยังให้ข้อดีอย่างอื่นอีกเช่น Application ต่างๆ
สามารถนำข้อมูลมาจัดเก็บไว้ใน Directory หรือผสานกับ Directory เพื่อเพิ่มความสะดวกในการบริหารจัดการระบบเครือข่าย
และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Application นั้นๆ อีกด้วย ตัวอย่างของ Application ที่ทำงานบน Directory
ก็คือ Microsoft DNS Server ที่สามารถสร้าง Zone File ที่เป็นแบบ Active Directory Integrated ซึ่งให้ข้อดีสำหรับ
DNS Server ก็คือมันจะเป็น Multi-Master ตามธรรมชาติของ Active Directory ไม่ว่าผู้ดูแลระบบจะไปแก้ไข Zone File
ที่ DNS Server ใดก็ตาม ข้อมูลใน Zone File จะถูก Replicate ไปยังทุกๆ DNS Server ที่อยู่ใน Domain นั้นๆ

การจัดการระบบ Linux จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากการติดตั้งระบบเครือข่ายบน Linux ให้มีประสิทธิภาพนั้น
จะต้องทำงานบน Text Mode ซึ่งแตกต่างจากบน Windows Server ซึ่งสามารถจัดการระบบเครือข่ายได้จาก
Graphic Enabled Console ได้ทันที โดยบางครั้งผู้ดูแลระบบสามารถที่จะ Query ข้อมูลต่างๆของระบบ Network ได้จาก
Console เดียว โดยการใช้ Microsoft Management Console (MMC) ซึ่งสามารถเพิ่ม Snap-in ได้มากมาย ทำให้ผู้ดูแลระบบ
สามารถดูแลได้ทั้ง DNS Server, DHCP Server, Active Directory รวมไปถึง SQL Server และ Exchange Server ได้ใน
หน้าจอเดียวเลยทีเดียว !!!

ระบบ Domain ของ Windows Server ในปัจจุบันพัฒนาไปมาก ไม่ว่าจะในเรื่องของความปลอดภัย ความง่ายดาย
ในการดูแลรักษา และความยืดหยุ่นและการขยายระบบก็เป็นไปได้ง่ายกว่าระบบเครือข่ายที่ใช้ Linux เป็นระบบปฏิบัติการ

แต่จุดอ่อนที่ทำให้ Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ได้รับความนิยมน้อยกว่า Linux ก็คือเป็นระบบ
ปฏิบัติการราคาแพง และยึดติดกับแพลตฟอร์ม PC เท่านั้น แตกต่างจาก Linux ซึ่งสามารถรันได้บน CPU หลากหลายประเภท
และข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งของ Linux ก็คือมันเป็น Open Source ซึ่งมี Application ให้ใช้มากมายทั่วทุกมุมโลก
โดยผู้ดูแลระบบก็ยังสามารถที่จะ Compile Kernel ของ Linux ให้มีความสามารถตามที่เราต้องการได้อีกด้วย

แต่ในเมื่อ Windows ยังครองตลาด Desktop และ Mobile Computing อยู่ ทำให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ สนใจที่จะ
พัฒนา Driver ของอุปกรณ์ของคนให้สามารถทำงานบน Microsoft Windows ได้ ซึ่ง Microsoft เองก็ได้มีการออกมาตรฐาน
WDM (Windows Driver Model) ซึ่งทำให้ Driver เพียงตัวเดียวสามารถใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows ทุกรุ่นที่รองรับ
WDM ซึ่งได้แก่ Microsoft Windows 98 เป็นต้นมา Linux จึงเกิดอาการ Lack of Device Driver ซึ่งทำให้บางครั้งบน
Server มีการอัพเกรดเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ๆ แต่ Linux ไม่รู้จัก ต้องรออีกสักระยะหนึ่งจึงจะมี Driver สำหรับ Linux ออกมา
การเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยๆก็จะทำให้เกิดการหยุดทำงานของ Server หรือ Server ทำงานได้ด้อยประสิทธิภาพลงเนื่องจากขาด
Hardware Driver หรือใช้ Hardware Driver ที่ไม่เหมาะสม

Windows System ยังมีระบบ Group Policy ที่สามารถกำหนดความสามารถของ User หรือ Computer ได้ ไม่ว่า
าจะเป็นการจำกัดการเข้าถึงโฮสต์ในระบบเครือข่ายหรือการเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ และที่ขาดไม่ได้ก็คือการติดตั้ง
โปรแกรมอัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยี Windows Installer ซึ่งไม่มีบน Linux การกำหนด Policy ยังสามารถทำได้ในหลายระดับ
ไม่ว่าจะเป็นระดับ Domain หรือ Organizational Unit (OU) และ Site ซึ่งหากคุณกำหนด Policy อย่างเหมาะสมแล้วก็จะเป็นการ
ป้องกันระบบเครือข่ายของคุณจากการโจมตีของ Virus หรือ Trojan ต่างๆได้เป็นอย่างดีครับ

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายใดก็ตาม ก็ขอให้มันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และคุ้มค้าที่สุดสำหรับองค์กร
ของคุณ

บทความโดย LittleGates
http://www.overclockzone.com/LittleGates/03-05/win_linux/