วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

Norah Jones::นอราห์ โจนส์ เจ้าหญิงเพลงแจซซ์

นอราห์ โจนส์ เจ้าหญิงเพลงแจซซ์






หากจะกล่าวถึงศิลปินหญิงที่มากด้วยความสามารถและมีน้ำเสียงที่ไพเราะจับใจแล้วละก็ นอราห์ โจนส์ คือชื่ออันดับต้น ๆ ในใจของนักฟังเพลงทั่วโลก และในอนาคตข้างหน้าเธออาจก้าวเข้ามาเป็นนักแสดงชั้นนำของใครต่อใครอีกหลายคน เนื่องจาก ว่าเธอกำลังมีผลงานภาพยนตร์รักหวาน ฉ่ำครั้งแรกเรื่อง My Blueberry Nights หรือชื่อไทยว่า “มาย บลูเบอร์รี ไนท์ 300 วัน 5,000 ไมล์ ห่างไกลไม่ห่างกัน” และมีโปรแกรมเข้าฉายบ้านเรา 20 มีนาคมนี้

สำหรับ นอราห์ โจนส์ เป็นศิลปินชาวอเมริกันที่ร้อนแรง เพราะคว้ารางวัล แกรมมี่ อวอร์ด ได้ถึง 11 รางวัล ที่แสดงให้เห็นว่าเธอเป็นศิลปินที่ไม่ธรรมดาคนหนึ่ง และยังเป็นศิลปินแจซซ์รุ่นใหม่ที่กำลังโด่งดัง จนทำให้นิตยสารโรลลิง สโตน จัดให้เธอเป็น 1 ใน 10 ศิลปินที่น่าจับตามอง โดยเปรียบเทียบว่า เธอมีลักษณะบางประการคล้ายคลึงกับ โจนี มิทเชลล์ กอปรกับเสียงร้องของเธอนั้นมีส่วนผสมของบลูส์กับคันทรี คล้ายคลึงกับการผสมผสานระหว่าง นินา ซิโมน กับ พาสตี ไคลน์

นอราห์ โจนส์ ลืมตาดูโลกเมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2522 ในเมืองนิวยอร์ก และเติบโตอย่างเรียบง่ายในรัฐเทกซัสกับแม่เพียงลำพัง โดยไร้เงาของนักดนตรีชื่อดังชาวอินเดีย ราวี ชานการ์ ผู้เป็นพ่อ นอราห์ โจนส์ โปรดปรานงานดนตรีที่เรียบง่ายและฟังสบายของ บิลลี ฮอลิเดย์ และบิล อีแวนส์

ในช่วงสมัยมัธยมฯปลาย นอราห์ โจนส์ ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขานักร้องแจซซ์ และเพลงประพันธ์ดีเด่นจากการประกวด Down Beat Student Music Awards ในปี 2539 และได้รับรางวัลรองชนะเลิศสาขานักร้องแจซซ์ดีเด่นจากการประกวดเดียวกัน

ในเดือนตุลาคมปี 2540 เธอได้บันทึกเทปเดโมจำนวนมากให้แก่บริษัทบลูโน้ตเรคคอร์ด ด้วยเหตุนี้ทำให้ นอราห์ โจนส์ ได้มีส่วนร่วมในงานดนตรีกับ ชาร์ลี ฮันเตอร์ ผลงานชุด Come Away With Me ได้รับการบันทึกเสียงโดย เครก สตรีท กับโปรดิวเซอร์ผู้เป็นตำนานอย่าง อริฟ มาร์ติน อัลบั้มดังกล่าวได้รับความสนใจ จากนักฟังเพลงอย่างกว้างขวางเมื่อวางตลาดในปี 2545

โดยชุด Come Away With Me ได้รับรางวัลแพลตินัมจากการขายแผ่นได้สูงถึง 18 ล้านชุด ทำให้เธอคว้ารางวัล แกรมมี่มาครองถึง 8 สาขา และในปี 2547 นอราห์ โจนส์ ทำอัลบั้ม Feels Like Home ส่งผลให้เธอคว้าแกรมมี่ อวอร์ด มาครองได้อีก และยังได้รับเกียรติให้เป็นศิลปินหญิงยอดเยี่ยมกับศิลปินหญิงยอดเยี่ยมสาขาเพลงป๊อป

ส่วนอัลบั้มที่สาม Not Too Late ยังประสบความสำเร็จอย่างมากมายท่วมท้น ติดอันดับ 1 อัลบั้มขายดีในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก สำหรับ ผลงานการแสดงใน My Blueberry Nights นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัว ละครที่ชื่อ อลิซาเบธ รับบทโดย นอราห์ โจนส์ หญิงสาวผู้ผิดหวังจากความรัก ได้เริ่มต้นการเดินทางเพื่อค้นหาตัวเอง โดยมุ่งหวังที่จะให้ตัวเธอไกลจากการอกหัก แต่ประสบการณ์ที่ได้รับจากคนแปลกหน้าหล่อหลอม ให้อลิซาเบธสดใสขึ้น และค่อย ๆ ที่จะเริ่มปล่อยให้อดีตผ่านไป เมื่อเธอได้ค้นพบเส้นทางใหม่สำหรับตัวเธอคือเส้นทางไปสู่รักแท้

ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับการแสดงโดย หว่อง กาไว ซึ่ง นอราห์ โจนส์ กล่าวว่า ในการพูดครั้งแรกเธอคิดว่าหว่องต้องการดนตรี แต่สุดท้ายเขาอยากให้เธอรับบทนำของเรื่อง ซึ่งเป็นครั้งแรกของ นอราห์ โจนส์ ในการแสดงภาพยนตร์ และยังเป็นครั้งแรกของ หว่อง กาไว ที่กำกับภาพยนตร์ ที่พูดภาษาอังกฤษอีกด้วย.



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (2008-03-16)

ข้อมูลเพิ่ม : http://www.norahjones.com


วันเสาร์ที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 "สมัคร สุนทรเวช"

นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 "สมัคร สุนทรเวช"

ประวัติ

"นายสมัคร สุนทรเวช" เป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร ( เสมียน สุนทรเวช ) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร ( อำพัน จิตรกร ) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี ( สุ่น สุนทรเวช ) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร ( จันทร์ จิตรกร ) จิตรกรประจำสำนัก

นายสมัครเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คนดังนี้

  • พ.อ.(พิเศษ) พ.ญ.มยุรี พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎ
  • นางเยาวมาลย์ ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว
  • พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษา ทอ. (ถึงแก่กรรมแล้ว)
  • นายสมัคร สุนทรเวช
  • นายมโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • นายสุมิตร สุนทรเวช - นักการเมือง

นายสมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ที่ปรึกษาด้านการเงิน ของบริษัทใน เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีบุตรสาวฝาแฝด คือ กานดาภา และกาญจนากร ปัจจุบันสมรสแล้วทั้งคู่ จากการที่ภรรยาทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินของภรรยา มั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ นายสมัคร จึงมิได้ทำงานประจำกับหน่วยงานใด โดยได้ทำงานด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516

ประวัติการศึกษา

  • ก่อนประถม โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม
  • ประถม โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา
  • มัธยม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
  • อาชีวะ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
  • อุดมศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศึกษาเพิ่มเติม

  • ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • Dip. in Accounting and Business Administration จาก Bryant & Stratton College สหรัฐอเมริกา

ประวัติการทำงาน

  • พ.ศ. 2496 : เจ้าหน้าที่สอนเครื่องลงบัญชีไฟฟ้า National Cash Registered Co.,Ltd. (พ.ศ. 2496-2497)
  • พ.ศ. 2497 : เสมียนแผนกรถยนต์ และภายหลังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Barrow Brown Co.,Ltd. (พ.ศ. 2497-2502)
  • พ.ศ. 2502 : ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Loxley Bangkok Co.,Ltd. (พ.ศ. 2502-2504)
  • พ.ศ. 2504 : Free Lance Guide, World Travel Service Co.,Ltd. (พ.ศ. 2504-2506)
  • พ.ศ. 2507 : ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2507-2509)
  • พ.ศ. 2510 : Dietary Aid, Fox Rever Rehabilitation Hospital, Chicago U.S.A. (พ.ศ. 2510-2511)
  • พ.ศ. 2512 : ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัท เอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2512-2513)
  • พ.ศ. 2513 : ผู้บริหารฝ่ายขาย John Deere Thailand Co.,Ltd. (พ.ศ. 2513-2514)
  • พ.ศ. 2514 : เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2514-2516)
  • พ.ศ. 2516 : ลาออกจากงานประจำและทำงานการเมืองอย่างเดียวเรื่อยมา เนื่องจากภรรยามีรายได้มั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวแล้ว

ประวัติทางการเมือง

นายสมัครเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง


ตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายสมัครได้รับการแต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในหลายกระทรวง ได้แก่

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 2 (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 3 (20 เมษายน พ.ศ.2519 - 23 กันยายน พ.ศ. 2519)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2 (30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร (7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)


สรุปประวัติทางการเมืองได้ดังนี้

  • พ.ศ. 2511 : เข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511 - 2519)
  • พ.ศ. 2514 : สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้ง เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514)
  • พ.ศ. 2516 : สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค.16) และ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.16)
  • พ.ศ. 2518 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ม.ค. 2518)
    • พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • พ.ศ. 2519 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2519)
    • พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
    • พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519 - 2520)
  • พ.ศ. 2522 : ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2522)
    • ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523 - 2526)
  • พ.ศ. 2526 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2526)
    • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2526 - 2529)
  • พ.ศ. 2529 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2529)
    • ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529 - 2531)
  • พ.ศ. 2531 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2531)
    • ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531 - 2533)
  • พ.ศ. 2533 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2533 - 2534)
  • พ.ศ. 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มี.ค. 2535)(ก.ย. 2535)
    • ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535 - 2538)
  • พ.ศ. 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2538)
  • พ.ศ. 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พ.ย. 2539)
  • พ.ศ. 2543 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543 - 2547)
  • พ.ศ. 2550 : รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
  • พ.ศ. 2551 : นายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
พ.ศ. 2517 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2518 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2519 ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2520 รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ ๒ )
พ.ศ. 2522 ประถมภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2524 ประถมภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2526 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2527 ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2527 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2539 ประถมดิเรกคุณาภรณ์
พ.ศ. 2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

งานอื่นๆ

  • เขียนบทความ และความคิดเห็นทางการบ้านการเมืองแบบไม่ประจำใน สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง 2516
  • เขียนบทความการเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย (พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2520)
  • เขียนบทความในคอลัมน์ประจำ (มุมน้ำเงิน) หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง พ.ศ. 2537
  • ผู้ดำเนินรายการ ชิมไปบ่นไป
  • ผู้ดำเนินรายการ เช้าวันนี้..ที่เมืองไทย ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง5
ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อินเดีย : มองอินเดียมุมใหม่

มองอินเดียมุมใหม่
อินเดียกำลังฮ็อต! ในแวดวงต่างๆ ของเวทีโลก ทั้งธุรกิจ การเมือง การท่อง เที่ยว ภาพยนตร์ ดนตรี ศิลปะและแฟชั่น ส่วนในเมืองไทยเองก็ไม่น้อยหน้า ภาพของ "อินเดีย" ในเวลานี้ มีความน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม อย่างไม่น่าเชื่อ...
1 ใน 2 ชาติจากเอเชีย ที่เหล่าประเทศตะวันตกกำลังกลัวเกรงที่สุดว่าจะกลาย เป็นชาติผู้ทรงอิทธิพลของโลกในอนาคตอันใกล้นี้ก็คือประเทศจีนและอินเดีย ไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่าทั้งสองประเทศมีวัฒนธรรมอันเก่าแก่สืบย้อนไปได้ไกลกว่าหลายประเทศในตะวันตกหลายเท่าเท่านั้น แต่ทั้งจีนและอินเดียในเจเนอเรชั่นปัจจุบัน นับได้ว่ากระจายอิทธิพลและมีบทบาทอยู่ในแวดวงต่างๆ...โลกเคยจารึกชื่ออินเดียไว้ มีทั้งนางงามโลกและนางงามจักรวาล มีผู้กำกับที่ยืนอยู่
แถวหน้าของฮอลลีวู้ด มีโรงแรมระดับห้าดาวที่ได้ชื่อว่าบริการมาตรฐาน "อินเตอร์ฯ" ... และการท่องเที่ยวอินเดียกำลังบูม ในขณะที่ภาคธุรกิจ อินเดียก็มีนักธุรกิจ
รุ่นใหม่กับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่กำลังมีบทบาทในระดับโลกเป็นอย่างมากด้วย Strong Identity
Indra Nooyi ซีอีโอหญิงชาวอินเดียแห่งบริษัท PepsiCo ยังคงสวมชุด 'ส่าหรี' ไปออกงานธุรกิจอยู่บ่อยๆ ใน ขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยอมศิโรราบให้กับภาพยนตร์ Hollywood แต่อินเดียกลับสร้างอุตสาหกรรมหนังขนาดใหญ่ 'Bollywood' เป็นของตนเอง แถมยังขายตั๋วได้มากกว่ากว่าหนังฮอลลีวู้ดนำเข้าเสียอีก นี่ยังไม่นับรวมพฤติกรรม และวัฒนธรรมของคนอินเดียที่เขายังปฎิบัติกันอย่างเข้มงวดไม่ต่างจากประเพณีดั้งเดิมทำให้ 'ความเป็นอินเดีย' ยังคงมีกลิ่นอายอยู่อย่างแข็งแกร่ง แม้ว่าประเทศและบุคคลากรจะพัฒนาจนโมเดิร์นไปไหนต่อไหนแล้วก็ตาม

จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคสินค้าหรูหราของชาวอินเดียโดยนิตยสาร Time พบว่าที่ผ่านมาไม่มีแบรนด์หรูต่างชาติยี่ห้อไหนที่จะโค่นแบรนด์หรูที่ผลิตโดยคนอินเดียเองได้เลย แบรนด์หรูซึ่งเป็นที่นิยม 6 อันดับ ตกเป็นแบรนด์อินเดียเอง 3 อันดับด้วยกัน...